เรียนรู้มากขึ้น คุ้มครองถาวร (ยนตรกรรม / ยุทธพงษ์ ภาษี)
ผมจำได้ว่า เมื่อหลายสิบปีก่อน คนบ้านนอกต่างจังหวัดแถวบ้านผม ไปออกรถทีใช้เวลาเป็นวัน และก็เป็นเรื่องตื่นเต้นยิ่งใหญ่ของพวกพี่น้อง หรือญาติๆ เพราะต่างจังหวัด ใครจะได้เป็นเจ้าของรถยนต์สักคันนั้น มันยาก ไม่หอบเอาเงินสดๆ ไปวางประกงประกันไม่ได้ มันไม่สะดวกเหมือนตอนนี้ ที่แทบจะเรียกได้ว่าไม่มีประกันภัยอะไรทั้งนั้น...
เพราะเขาคิดว่าขับระวังเอาไว้ ไม่ได้ขับเร็ว จะเอาเงินไปให้พวกประกันมันกินทำไม ตอนนั้นมีรถอยู่ในความคิดคำนึงไม่กี่ยี่ห้อ อย่าง กระบะ ก็มี โตโยต้า กับ อีซูซุ และนิสสัน เป็นส่วนใหญ่ รถให้เลือกดูจะมีแค่นี้ ข้อดี-ข้อเสียก็ไม่เห็นเขาคิดอะไรกันหนักหนา พอพวกบอกว่า "อีซุใช้ดี ไอ้ต้าใช้ได้" ก็ซื้อตามกันไป
คนมีเงินบ้านผม ไม่เคยไปถามว่ามันตกรุ่นไหม หรือมันมีอะไรใหม่ เอาเป็นว่า ถ้ายี่ห้อที่ตั้งใจซื้อแล้วละก็ วางเงินเลย ใช้ไปแล้วจะเป็นอย่างไร ก็ไม่ค่อยมีใครมาโวยวาย... พอมายุคนี้ เปลี่ยนไปมาก เราสามารถซื้อรถได้จากห้างสรรพสินค้า ซื้อรถโดยไม่เห็นรถยังได้เลย แถมยังจะต้องมีประกันภัย มีไฟแนนซ์ ไม่มีเงินก้อน มีคนเสนอให้ยืมเงินดาวน์รถยนต์ หาได้ง่าย อยากจะเป็นเจ้าของยี่ห้อไหนก็เลือกซื้อมาขับ
ซื้อไปแล้วแป๊บเดียวจะต้องนำกลับเข้ามาทำรายการ เช็คระยะยาวเหยียด ตามที่โรงงานกำหนดหรือไม่? เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ผมบอกว่าจะตามข่าวเรื่องของการพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภค เห็นว่าวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมานั้น คุณพินิจ จารุสมบัติ รองนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค นัดประชุมเรื่อง 'การใช้ความคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคเกี่ยวกับสินค้าประเภทรถยนต์' ซึ่งได้เชิญผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายมาระดมสมองกัน
ท่านพินิจ ในฐานะประธานในพิธีเปิดงานสัมมนา จะแสดงความไม่พอใจอยู่บ้างที่มีบริษัทรถยนต์ให้ความสำคัญน้อย ส่งแค่ระดับผู้จัดการ ผู้ช่วย มาสังเกตการณ์เท่านั้น จนท่านหัวเสียที่ค่ายรถไม่เอาด้วย แถมวันนั้นก็ยังมีนายทหาร (คนเดิม) ที่เคยเป็นคนทุบโตโยต้า ไทเกอร์ สปอร์ต ครุยเซอร์ เดินเข้ามาส่งเสียงดัง เอะอะโวยวาย แม้ท่านจะเอ่ยปากขอร้องแล้ว ก็ยังไม่เลิกป่วน งานวันนั้นก็เลยกร่อยไปใหญ่...
นี่ แค่เริ่มต้นเท่านั้น งานใหญ่ของการคุ้มครองรถที่บอกว่าจะจัดครั้งต่อไป คงลำบากแล้วละ สงสัยเป็นทางตันของ สคบ.แล้ว ลูกค้าอย่างคนที่ทุบไทเกอร์เอง ก็สะท้อนให้เห็นวุฒิภาวะลูกค้า แม้จะไม่ใช่ส่วนใหญ่ก็ตาม แต่เราก็จะต้องเจอปัญหาในรถ และจะต้องทุบกันอีกเรื่อยไป... เชื่อไหมครับ
วันที่สัมมนาก็มีการพูดถึงเนื้อหาบ้าง พอจับเค้าได้ความว่า ปัญหารถทุกวันนี้ไม่ใช่มาจากกระบวนการผลิตและคุณภาพ แต่มาจากการสื่อสารกันทางด้านข่าวสาร ข้อมูลไม่ถูกต้อง และการให้ 'ข้อมูล-ข่าวสาร' แก่ผู้บริโภคไม่ชัดเจน เพราะว่าค่ายรถเล่นบอกแต่ด้านดีด้านเดียว แต่ด้านอื่นๆ ไม่บอก
สำหรับตัวผมเองนั้น กลับมองว่ามันใช่สาระเลย บ้านเราผลิตรถดี แต่ว่าโฆษณากันเกินจริงไป คือ บอกคนซื้ออย่างเข้มข้นว่าอะไรมันทำงานอย่างไร ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ไหน ทำแล้วเกิดเสียงดังหรือไม่มีไฟโชว์ ซึ่งผมเชื่อว่าบริษัทต้องย้อนกลับมาดูด้วยว่า มันมีอยู่ในคู่มือแล้ว ทำไมไม่อ่าน
นั่นแหละปัญหาบ้านเรา อ่านน้อย ศึกษาน้อย คนขับรถเก๋งให้นายคันละ 10 ล้าน แถมพ่วงชีวิตนายและครอบครัวกันไปอีกสี่ซ้าห้าคน ยังไม่เคยผ่านโรงเรียนสอนขับรถที่ถูกวิธีเลย นับประสาอะไรกับชาวบ้านทั่วไปใช่มั้ยครับ
ตอนนี้ไม่มีอะไร ต่างคนต่างคิด บริษัทรถก็คิดว่าผลิตของออกมาดี คนที่คุมกฎก็บอกว่าหากพบว่าไม่พอใจ หรือว่าเสีย ก็ต้องมาหาทางออก แต่ก็ต้องอยู่ในข้อกฎหมาย ซึ่งผมก็ว่าทุกฝ่ายจะต้องทำร่วมกัน ทำอย่างไรก็แล้วแต่ ไม่ใช่ว่าจะมาโยนให้เป็นความผิดคนทำผลิตภัณฑ์ออกมาขาย หรือวิธีการเปลี่ยนชื่ออุปกรณ์ให้เป็นแค่ถุงลม จากถุงลมนิรภัย แล้วงานคุ้มครองมันจะดีขึ้น
เห็นไหม แค่เรื่องหลักการ กติกา เช่น หัวข้อรับผิดชอบ เมื่อรถมีปัญหา แล้วลูกค้าจะเปลี่ยนรถหรือให้ซื้อคืน ก็มีแต่คนพูด แต่ไม่มีข้อสรุป หรือฟันธงกันไปเลย งานคุ้มครองผู้บริโภครถยนต์อย่างที่เคยกำหนดกรอบไว้นั้น ไม่ได้เกิดหรอกครับ
ตอนนี้ผมเชื่อว่า บริษัทผู้ผลิตมองแผนงานระยะยาวไว้แล้ว ไม่ต้องให้ใครมาทำกรอบบังคับ เพราะเขาก็กลัวเหมือนกัน แต่อยากเห็นโครงการหนึ่งที่จะทำให้เรื่องไม่พอใจในคุณภาพรถยนต์ลดลง นั่นคือ การให้ผู้บริโภคได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เอารถยนต์ไฮ-เทคที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น ไปสร้างประสบการณ์กับคนใช้ แสดงให้คนใช้รถเห็น และต้องเชิญชวนให้เรียนรู้มากขึ้น โดยเฉพาะระบบต่างๆ ที่มองไม่ออกว่ามันทำงานอยู่หรือไม่อย่างไร อุปกรณ์หลายอย่าง เช่น ระบบรักษาเสถียรภาพตัวรถ ระบบเอบีเอส ระบบช่วยเบรก ที่จะทำหน้าที่ให้น้ำหนักเบรกไปที่แป้นเบรกมากขึ้นเมื่อเราต้องการเบรกฉุกเฉิน ระบบทำงานแบบนี้ ถ้าต้องการใช้ จะใช้อย่างไร...
แม้ว่าจะเป็นออโตเมติก แต่คนใช้ควรก็จะรู้ด้วยว่า เมื่อเราไม่ต้องการหรือต้องการ ต้องสั่งมันอย่างไร หลังสั่งการไปแล้วเป็นอย่างไร ไม่ใช่ว่ามีถุงลมนิรภัย แต่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยเป็นต้น หรือว่าเบรกแล้วทำไมมันหัวทิ่ม ไม่นิ่ง และนุ่มเลย
สิทธิผู้บริโภค คงต้องว่ากันในแง่ของกฎหมาย ถ้ายังไม่เสร็จก็ไม่เป็นไร เดินหน้าไป แต่ภาคปฏิบัติวันนี้ ต้องเริ่มให้การศึกษา นั่นแหละ จึงจะเป็นงานคุ้มครองอย่างถาวร
ทีนี้ใครจะเป็นคนเริ่ม ภาครัฐ เอกชน หรือว่าตัวแทนของหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค รถยนต์นั้นมีมูลค่ามหาศาล แถมยังมีเรื่องชีวิตและทรัพย์สินควบคู่ไปด้วย
ค่อยๆ พัฒนาไปเถิดนะครับ อย่างน้อยเราก็ได้เริ่มต้น แม้มันจะเริ่มไม่สวยนักก็ตาม
: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง
วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553
เรียนรู้มากขึ้น คุ้มครองถาวร (ยนตรกรรม / ยุทธพงษ์ ภาษี)
เขียนโดย
Thai Writer
ที่
00:08
ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปยัง Xแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest
เรื่องน่าสนใจเกี่ยวเนื่องกัน:
ป้ายกำกับ:
ข่าวยานยนต์