เมื่อรถมีปัญหาสุขภาพ..ถึงขั้นทุบเลยหรือ? (ยนตรกรรม / ยุทธพงษ์ ภาษี)
ผมว่าเป็นไปกันใหญ่แล้ว หาขื่อหาแปกันไม่ได้ในบ้านเมืองเรา การประท้วงปัญหาสุขภาพของรถ ไม่เป็นที่ถูกใจ ด้วยการใช้รูปแบบใหม่ๆ ทั้งเผาทั้งทุบ ภาพออกมาดูรุนแรงจนทำให้คิดไปว่า สินค้ารถนั้น มากด้วยปัญหา บริษัทรถยนต์ทำอะไรขนาดนั้น ดูถูกดูแคลนลูกค้าตัวเอง จนลูกค้าเจ็บใจขนาดจะทำให้เขายอมแลกด้วยการทุบรถคันแสนแพงจริงหรือ หรือว่าความไม่ปกติบางอย่าง
ความเสียหาย ความผิดพลาดของสินค้าอุตสาหกรรมที่มีการผลิตในครั้งละมากๆ นั้น มีเกิดได้ทุกชนิดสินค้า ไม่แค่เฉพาะรถยนต์เท่านั้น ตรงนี้ต้องแยกให้ออกว่ามันเป็นปัญหาแบบแก้ไม่ได้เป็นส่วนใหญ่ หรือว่าแก้ได้
สุขภาพของรถนั้น หากสึกหรอปกติ สิ้นอายุการใช้งานก็ว่ากันไป แต่หากว่ายังไม่ทันใช้งานแล้วสิ้นใจเสียแบบนั้น ก็หาเหตุหาที่มาที่ไปของมัน แนวทางแก้ไขก็จะต้องให้สมเหตุสมผล
ผมเองเป็นคนหนึ่งที่เข้าข้างคนใช้รถเต็มประตู เพราะผมก็เคยเป็นลูกค้า ลองเอาใจเขามาใส่ใจเรา ซื้อรถมาก็ต้องใช้งานได้ ได้รับการบริการที่ดี หากว่ารถไม่สามารถตอบสนองสิ่งเหล่านี้แล้ว จะเอาเงินมหาศาลไปแลกมาทำไม
ในบทบาทของสื่อ ผมเชื่อว่าหลายท่านเห็นว่า สื่อมวลชน มีส่วนไปไกล่เกลี่ยให้ปัญหาของผู้ใช้รถจนสรุปได้หลายๆ คัน หลายกรณี
ผมอยากจะเล่าแนวทางการทำงานของคนที่เกี่ยวข้องให้ฟัง เพื่อให้ได้ภาพกว้างๆ หากคิดว่าจะทำพฤติกรรมรุนแรง จะได้มีทางออก
เคยมองย้อนไปไหมว่า ทำไมรถจะต้องมีการรับประกันคุณภาพ เพราะมันสะท้อนภาพว่า โอกาสที่มันจะเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาจากกระบวนการผลิต มีความเป็นไปได้ อีกแง่มุมคือ คุณภาพของเขาดีเขาจึงกล้ารับรองไว้ระยะเวลาหนึ่ง
เงื่อนไขการรับประกันนั้น คุ้มครองการผลิต ความผิดพลาดจากการผลิต มีขอบข่ายชัดเจน เรียกว่าชิ้นส่วนใดหลุดมาตรฐานออกมา ไม่ต้องเถียงกัน เปลี่ยนได้ แก้ได้ ลองอ่านในคู่มือรถยนต์ของท่านดูว่าชิ้นส่วนใดเข้าเงื่อนไข ไม่เข้าเงื่อนไขบ้าง
อย่างไรก็ตาม หากมีอะไรที่คิดว่ามันไม่ถูกใจ หรือมันผิดปกติ จะทำอย่างไรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อาจเริ่มจากไปแจ้งแก่ผู้ผลิตว่ามันคุณภาพห่วย ใช้งานไม่ได้ หลอกขาย หรือขายแพง ก็ว่ากันไป ตรงนี้ฝ่ายที่เรียกว่า ลูกค้าสัมพันธ์ของค่ายรถ จะเข้ามารับเรื่อง ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นระดับ ดีลเลอร์รับเรื่อง แล้วไปแก้ไขเอง หากแก้ไขไม่ได้ ก็ขยับไปที่บริษัทแม่
จากนี้หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ หรือตกลงกันไม่ได้ ก็จะไปที่สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค หรือว่า สคบ. ซึ่งจะต้องทำเรื่องไป บางท่านก็ไม่ทำเอง ไปร้องผ่านองค์กรเอกชน เช่น เอ็นจีโอ ให้เป็นตัวกลางประสานให้
สำหรับเรื่องที่ไปที่ สคบ. เจ้าหน้าที่ก็จะนัดไกล่เกลี่ย ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็ไม่สามารถบังคับอะไรมากกว่านี้ ส่วนใหญ่แล้ว ก็ไปที่ศาล เพราะว่าบทบาทและหน้าที่เขามีเท่านี้ กฎหมายบ้านเมืองเรายังไม่ได้มีไว้บังคับชัดเจนในเรื่องของรถยนต์ ซึ่งรถที่มีปัญหาบางคัน เจ้าของบางคนก็เลือกที่จะร้องเรียนกับสื่อ ขณะที่สื่อมวลชนมักใช้การประสานให้เกิดการพูดคุยกัน การไกล่เกลี่ย เป็นหน้าที่ของคู่กรณีที่จะหันหน้าเข้าหากันเอง
สื่อมีบทบาทได้ เพราะรู้จักและเกรงใจกัน ทำได้อย่างมากก็แค่ เอาข่าวมาเล่า เอาข้อมูลมาเขียน
บอกกล่าวกันเท่านั้น
ส่วนใหญ่ตามหลักของสื่อสารมวลชน การนำเรื่องมาลงมาเล่าเอาข่าวมาเขียนก็ให้โอกาสทั้ง สองฝ่าย ที่เป็นคู่กรณี ว่ากันที่เนื้อหา พูดพร้อมกัน ตามหลักของสื่อมวลชน ไม่ใช่ลงเรื่องแต่ฝ่ายเดียว เหมือนฝ่ายเจ้าของรถ พอเล่าเรื่องเสร็จจะให้นักข่าวลงข่าวไปทันที หากยังไม่ลงก็ว่าไปรับโน่นรับนี่
จริงๆ นักข่าวที่ดีนั้น ต้องตรวจสอบก่อนว่าแล้วมันเป็นอย่างไร ขืนลงสุ่มสี่สุ่มห้าไป พอไปตามอีกฝ่ายหนึ่ง กลายเป็นเรื่องของคนหยุดไม่ได้ ก็เสียหายกันไปหมด แถมบางทีอาจจะถูกมองว่าจะเอาอะไรจากค่ายรถขึ้นมาอีก
เรื่องรถยนต์ยิ่งอ่อนไหวในสังคมบ้านเรา คนเชื่อสื่อ หนังสือใครก็อยากจะขาย แต่ก็ต้องดูความถูกต้องด้วย
ส่วนใหญ่แล้วร้องกับสื่อมวลชน นักข่าวสายรถยนต์จะเข้าใจประเด็นต่างๆ จะจบไม่ยาก แต่ผมเตือนว่า การร้องสื่อนั้น แม้สื่อมีอำนาจต่อรอง มากด้วยลูกเกรงใจก็จริง แต่ต้องวางอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องและยุติธรรม เพราะว่าบางคนร้องว่ามีวาระซ่อนเร้น ซึ่งหากเป็นแบบนี้ อำนาจต่อรองของสื่อนั้น มันจะกลับมาทำร้ายตัวคนร้องเองได้
เชื่อไม่เชื่อดูเรื่องทุบโตโยต้า ไทเกอร์ เป็นต้น ผมไม่ต้องบอกว่าเกิดอะไรขึ้นกับเจ้าของรถคันนั้น
เพราะว่าความจริงที่ไปปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ หรือวิทยุ โทรทัศน์ เมื่อมันเดินหน้าแล้ว สื่อทำหน้าที่แล้ว มีการตรวจสอบตามหลักการแล้ว ความจริงปรากฏออกมาสาธารณชนเท่านั้นจะตัดสินเองว่า ความชอบธรรมจะตกไปอยู่กับใคร
กรณี ฮอนด้า กับกระบะไทเกอร์ เป็นตัวอย่างครับ คันแรก ความชอบธรรมอยู่ทางลูกค้า แต่ทุบเหมือนกัน คันหลัง ไทเกอร์ หางเสียงกลับไปทางโตโยต้า เห็นไหมว่าอิทธิพลของสื่อทำให้การร้องรูปแบบเหมือนกัน เนื้อหามันออกมาต่างกัน
ผมไม่อยากเห็นใครใช้จังหวะนี้มาขยายวิธีการรุนแรง อย่าคิดว่าการเล่นกับข่าวแล้วจะได้เปรียบเสมอไป จังหวะและการเล่นกับข่าว ต้องเล่นให้เป็นจึงจะชนะ แต่หากเล่นไม่เป็น เวลาแพ้ ฟื้นไม่ได้เลยครับ หวังว่าประวัติศาสตร์ที่ด่างพร้อยของวงการนี้ คงจะหยุดแค่นี้
ส่วนผมจะติดตามงานคุ้มครองผู้บริโภครถยนต์ที่รัฐบาลจะทำ มันเพิ่งเริ่มต้น เล่นบนดินแบบผู้เจริญๆ ดีกว่าเล่นใต้ดินตีบทนักเลงหัวไม้ครับ
: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง
วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553
เมื่อรถมีปัญหาสุขภาพ..ถึงขั้นทุบเลยหรือ? (ยนตรกรรม / ยุทธพงษ์ ภาษี)
เขียนโดย
Thai Writer
ที่
00:07
ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปยัง Xแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest
เรื่องน่าสนใจเกี่ยวเนื่องกัน:
ป้ายกำกับ:
ข่าวยานยนต์