: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปิดฉากชีวิต 'ราฟิก ฮาริริ' อดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอน(บุคคลโลก / นฤมล คนึงสุขเกษม)

ปิดฉากชีวิต 'ราฟิก ฮาริริ' อดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอน(บุคคลโลก / นฤมล คนึงสุขเกษม)

ราฟิก ฮาริริ อดีตนายกรัฐมนตรีเลบานอน เสียชีวิตจากการถูกลอบสังหารด้วยระเบิด ใจกลางกรุงเบรุต เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สร้างความเศร้าเสียใจให้กับชาวเลบานอนจำนวนมาก ที่มองว่าเขาเป็นมากกว่านักการเมืองชั้นนำ

บางคนขนานนามฮาริริ ว่า Mr.Lebanon จากความนิยมท่วมท้นที่เขาได้รับ โดยในช่วง 14 ปีที่ผ่านมา เขานั่งเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 10 ปี และมีแนวโน้มจะชนะการเลือกตั้งอีกครั้งในเดือนพฤษภาคมนี้

นอกจากบทบาทการเมือง ฮาริริยังโดดเด่นในโลกธุรกิจ โดยเขาก่อร่างสร้างตัวจนกลายเป็นมหาเศรษฐีพันล้าน ครอบครองธุรกิจสื่อ อาทิ สถานีโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์จำนวนมาก อีกทั้งเข้าไปมีส่วนร่วมกับโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ในกรุงเบรุต

ฮาริริไม่เคยประมาทเรื่องความปลอดภัย เล่ากันว่า เมื่อขบวนรถของเขาแล่นเข้าเขตใด สัญญาณโทรศัพท์มือถือในเขตนั้นจะใช้งานไม่ได้ เพื่อป้องกันการจุดระเบิดด้วยสัญญาณมือถือ

แต่ไม่ว่าจะป้องกันดีเพียงใด ฮาริริก็ถูกปลิดชีพเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ เชื่อกันว่า ผู้บงการต้องมีอิทธิพลระดับสูง และมีการทำงานอย่างเป็นระบบ จึงสามารถก่อเหตุระเบิดครั้งใหญ่จนบรรลุผล

ฮาริริเป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในนักการเมืองอาหรับที่ฉลาดเป็นกรด สามารถปรับกลยุทธ์ ทั้งเล่นตามน้ำสลับกับต่อต้านรัฐบาลซีเรียที่ครอบงำเลบานอน โดยได้เป็นนายกรัฐมนตรีระหว่างปี 2535-2541 และอีกสมัยในปี 2543-2547

เขามีความสัมพันธ์ทั้งทางธุรกิจและการเมืองกับซาอุดีอาระเบีย ที่เขาเคยพำนักนาน 20 ปี ภูมิหลังนี้เองทำให้ฮาริริมีอิทธิพลพอตัวในการต้านทานอำนาจรัฐบาลซีเรีย

ซีเรียเริ่มเข้าไปมีอิทธิพลในเลบานอน หลังจากเลบานอนเผชิญสงครามการเมืองปี 2518-2533 โดยส่งทหารเข้าไปช่วยสร้างเสถียรภาพ แต่จนถึงปัจจุบัน ซีเรียยังไม่ยอมถอนทหารราว 15,000 นาย ออกจากเลบานอน

การเข้ามาของซีเรีย ทำให้เกิดความแตกแยกในการเมืองเลบานอน มีการแบ่งกลุ่มชัดเจน ได้แก่กลุ่มฝักใฝ่ซีเรีย ซึ่งเป็นฝ่ายรัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ ประธานาธิบดีเอมิเล เลฮุด และกลุ่มต่อต้านซีเรีย ซึ่งมีพรรคการเมืองฝ่ายค้านเป็นแกนนำ ส่วนฮาริริหนุนอยู่เบื้องหลัง

เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ขณะฮาริริเป็นนายกรัฐมนตรี ซีเรียได้กดดันให้รัฐสภาเลบานอนรับรองการขยายเวลาบริหารประเทศให้กับเลฮุดอีก 3 ปี เนื่องจากหากไม่มีการต่อเวลาให้เลฮุด ฝ่ายบริหารชุดปัจจุบันจะต้องพ้นตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน

การลงมติรับรองดังกล่าว ซึ่งฮาริริปฏิบัติตามอย่างไม่เต็มใจ สร้างความไม่พอใจกับชาวเลบานอน ในอีก 1 เดือนต่อมา ฮาริริตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง เปิดทางให้ นายโอมาร์ คารามิ ซึ่งสนับสนุนซีเรียขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน

ในเวลาไล่เลี่ยกัน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ภายใต้การผลักดันของสหรัฐและฝรั่งเศส มีมติเรียกร้องให้ซีเรียเคารพในอธิปไตยของเลบานอน

มีผู้ให้ความเห็นว่า นายฮาริริที่มีความสัมพันธ์ฉันมิตรกับ ประธานาธิบดีฌากส์ ชีรัก ของฝรั่งเศส อาจแก้แค้นซีเรียด้วยการขอให้ฝรั่งเศสออกหน้าผลักดันมติดังกล่าว

สัญญาณความรุนแรงเริ่มปรากฏในเดือนตุลาคม เมื่อรถของ นายมาร์วัน ฮามาดี นักการเมืองซึ่งต่อต้านประธานาธิบดีเลฮุด ถูกลอบวางระเบิด ส่งผลให้เขาได้รับบาดเจ็บสาหัส

หลังพ้นตำแหน่ง นายฮาริริไม่แสดงบทบาทมากนัก แต่ก็ต่อต้านรัฐบาลชุดใหม่ด้วยการส่ง ส.ส.ของเขาร่วมการประชุมพรรคฝ่ายค้าน เพื่อเรียกร้องให้ซีเรียถอนทหารออกจากเลบานอน

การเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม ถูกมองว่าอาจซ้ำรอยเหตุการณ์ปี 2543 ที่นายฮาริริขัดแย้งกับเลฮุดอย่างเปิดเผยและลาออกจากตำแหน่ง ก่อนกลับมาชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลายจนได้บริหารประเทศอีกครั้ง ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวกำลังสร้างความหวาดหวั่นให้กับกลุ่มฝักใฝ่ซีเรีย

แม้สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ซีเรียตกเป็นเป้าต้องสงสัยว่าอยู่เบื้องหลังการสังหารนายฮาริริ แต่นักวิเคราะห์ส่วนหนึ่งเตือนว่า เรื่องอาจไม่ง่ายเช่นนั้น

ริเม อัลลัฟ นักวิเคราะห์แห่งสถาบันกิจการระหว่างประเทศในกรุงลอนดอน เผยว่า ซีเรียอาจไม่ต้องการให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น

"มันเหมือนกับการยิงโดนเท้าตัวเอง แม้เห็นได้ชัดว่าน่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มหนุนและต่อต้านซีเรีย แต่หากไตร่ตรองโดยใช้เหตุผล เรื่องนี้น่าจะสร้างปัญหาให้ซีเรียมากกว่า" นายอัลลัฟกล่าว

แนวคิดนี้สอดคล้องกับความคิดเห็นของนักวิเคราะห์อีกกลุ่มที่มองว่า การสูญเสียนายฮาริริ อาจนำไปสู่การปิดฉากอิทธิพลของซีเรียในเลบานอนในท้ายที่สุด