ปิดฉากผู้นำยึดเก้าอี้นานสุดในแอฟริกา(บุคคลโลก / นฤมล คนึงสุขเกษม)
กีนาสซิงเบ อียาเดมา ประธานาธิบดีแห่งโตโก วัย 69 ปี ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศยาวนานที่สุดในทวีปแอฟริกา และเป็นผู้นำที่ปกครองประเทศยาวนานที่สุดในโลกอันดับสอง รองจากประธานาธิบดีฟิเดล คาสโตร ของคิวบา เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลวเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากครองอำนาจนาน 38 ปี
ตามหลักรัฐธรรมนูญโตโกแล้ว ฟามบาเร อวตตารา นัทชาบา ประธานสภา ควรดำรงตำแหน่งรักษาการประธานาธิบดี และจัดให้มีการเลือกตั้งภายในเวลา 60 วัน แต่กองทัพโตโกกลับเสนอชื่อ ฟาอูเร กีนาสซิงเบ รัฐมนตรีเหมืองแร่และการสื่อสาร บุตรชายของอียาเดมา สืบทอดตำแหน่งแทน โดยให้เหตุผลว่าไม่ต้องการให้ประเทศอยู่ในภาวะไร้ผู้นำ
โอลูเซกุน โอบาซันโจ ประธานาธิบดีไนจีเรีย ซึ่งเป็นประธานองค์การเอกภาพแอฟริกา ตำหนิว่า การตัดสินใจของกองทัพโตโก เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ เทียบเท่าการก่อรัฐประหาร
สหภาพยุโรป (อียู) ผู้สนับสนุนการเงินรายใหญ่ของโตโก เตือนว่า การกระทำดังกล่าวอาจส่งผลถึงความช่วยเหลือที่อียูจะมอบให้โตโก ขณะที่สหรัฐก็กระตุ้นให้โตโกเคารพกฎหมายรัฐธรรมนูญ และจัดการเลือกตั้งหาผู้นำคนใหม่
กระนั้นก็ตาม รัฐสภาโตโกยังคงเดินหน้าแต่งตั้งฟาอูเรเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งเท่ากับเป็นการปูทางให้เขาได้ปกครองประเทศโดยไม่มีคู่แข่ง ไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2551
ฟาอูเรวัย 39 ปี แถลงต่อรัฐสภาในวันรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ว่า เขาจะสานต่อกระบวนการปฏิรูปทางการเมืองต่อไป ขณะที่ยังมีปัญหาที่รอการแก้ไขอยู่อีกมาก และขอให้ทุกคนร่วมมือกัน
การครองตำแหน่งผู้นำโตโก ถือเป็นการก้าวอย่างรวดเร็วสำหรับฟาอูเร ที่เพิ่งเข้าสู่แวดวงการเมืองเมื่อ 3 ปีก่อน
ฟาอูเรมักเดินทางไปต่างประเทศกับบิดาอยู่เสมอๆ และได้เข้าร่วมในการเจรจากับสหภาพยุโรปหลายครั้ง เพื่อยุติการคว่ำบาตรที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2536 สืบเนื่องจากข้อกล่าวหาว่ากองกำลังรักษาความมั่นคงโตโก ยิงปืนใส่กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 20 ราย
ก่อนลงเล่นการเมือง ฟาอูเรมีงานหลักเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของบิดา เขาจบการศึกษาปริญญาตรีด้านการบริหาร เศรษฐศาสตร์ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยซอร์บอร์น และเดินทางไปศึกษาต่อปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจ ที่มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน
สำหรับอียาเดมาผู้ล่วงลับ เขาเกิดเมื่อปี 2478 เคยเป็นนักมวยมาก่อน แต่มาสร้างชื่อระดับประเทศจากการเป็นผู้นำก่อรัฐประหารในปี 2506 อันเป็นเหตุให้ซิลวานัส โอลิมปิโอ ประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งคนแรกของโตโกต้องเสียชีวิต และครอบครัวที่เหลือต้องลี้ภัยไปอยู่ในฝรั่งเศส
การปกครองแบบไม่เป็นประชาธิปไตยภายใต้การนำของอียาเดมา ได้รับการโจมตีอย่างหนักในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2546 กิลคริสต์ โอลิมปิโอ ผู้สมัครจากพรรคฝ่ายค้าน ไม่ได้รับอนุญาตให้ลงคะแนน
อียาเดมา ซึ่งมักสวมแว่นกันแดดเมื่อปรากฏตัวในที่สาธารณะ สามารถรอดพ้นจากการลอบสังหารมาหลายครั้ง รวมถึงอุบัติเหตุทางเครื่องบิน และการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยนองเลือดช่วงทศวรรษ 2533 เขาล้มป่วยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และเดินทางไปรักษาตัวยังต่างประเทศบ่อยครั้ง ขณะเสียชีวิต เขาอยู่ระหว่างเตรียมตัวเดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อรับการรักษาฉุกเฉิน
การเสียชีวิตของอียาเดมา ทำให้ประธานาธิบดีโอมาร์ บองโก แห่งกาบอง กลายเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในแอฟริกาที่ยังมีชีวิตอยู่
ทั้งนี้ โตโกมีพื้นที่ประมาณ 56,785 ตร.กม. มีประชากรประมาณ 5.5 ล้านคน ผลิตฟอสเฟตได้เป็นอันดับ 4 ของโลก ส่งออกฝ้ายเป็นสินค้าหลัก และถือเป็นแหล่งอาหารฝรั่งเศสที่ดีที่สุดในแอฟริกาตะวันตก
รัฐบาลโตโกมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และมีการจัดตั้งเขตการค้าเสรี
แม้โตโกเคยเป็นอาณานิคมเยอรมนีในช่วงศตวรรษที่ 19 แต่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ
: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง
วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ปิดฉากผู้นำยึดเก้าอี้นานสุดในแอฟริกา(บุคคลโลก / นฤมล คนึงสุขเกษม)
เขียนโดย
Thai Writer
ที่
10:32
ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปยัง Xแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest
เรื่องน่าสนใจเกี่ยวเนื่องกัน:
ป้ายกำกับ:
บุคคลโลก