: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

'เฉิง ยี่จง' ผู้คว้ารางวัลเสรีภาพสื่อโลก(บุคคลโลก / นฤมล คนึงสุขเกษม)

'เฉิง ยี่จง' ผู้คว้ารางวัลเสรีภาพสื่อโลก(บุคคลโลก / นฤมล คนึงสุขเกษม)
เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม เป็นวันเสรีภาพสื่อโลก องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้จัดพิธีมอบรางวัล 'เสรีภาพสื่อโลก ยูเนสโก/กิลเลอร์โม คาโน 2005' ให้กับ เฉิง ยี่จง นักหนังสือพิมพ์ชาวจีน ในฐานะผู้สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับวงการหนังสือพิมพ์จีน การแจกรางวัลมีขึ้นที่กรุงดาการ์ ประเทศเซเนกัล แต่น่าเสียดายที่เฉิงไม่สามารถไปร่วมงาน โดยสื่อฮ่องกงระบุว่าเขาถูกห้ามเดินทาง

รางวัลดังกล่าวได้รับการก่อตั้งโดยยูเนสโกเมื่อ พ.ศ.2540 เพื่อสดุดีการทำงานของปัจเจกชนและองค์กรที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพสื่อ โดยตั้งชื่อตาม กิลเลอร์โม คาโน ผู้สื่อข่าวชาวโคลัมเบียที่ถูกสังหารเมื่อ พ.ศ.2530 จากการรายงานข่าวเกี่ยวกับเจ้าพ่อยาเสพติด

เฉิง ยี่จง สร้างผลงานขณะเป็นบรรณาธิการ นสพ.หนานฟาง ตู้ชิ เป้า (เซาเทิร์น เมโทรโปลิสแทน เดลี) ในเมืองกวางเจา มณฑลกวางตุ้งของจีน ด้วยการนำเสนอข่าวเปิดโปงปัญหาสังคม, การปฏิบัติหน้าที่มิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ และการฉ้อฉล

ข่าวที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักมากที่สุด คือข่าวการแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์ส) ในจีนเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2546 ก่อนที่รัฐบาลปักกิ่งจะแจ้งต่อองค์การอนามัยโลก

ความกล้าหาญและความเป็นมืออาชีพ ทำให้ เซาเทิร์น เมโทรโปลิสแทน เดลี ติดกลุ่มหนังสือพิมพ์ยอดนิยมในประเทศ แต่แล้วในเดือนเมษายน พ.ศ.2547 เฉิง และบก.อาวุโสอีก 2 คน ได้แก่ หยู หัวเฟิง และ หลี่ หมิงหยิง ถูกเจ้าหน้าที่รัฐสอบสวนฐานนำเงินค่าโฆษณาซึ่งควรส่งให้พรรคคอมมิวนิสต์จ่ายเป็นโบนัสพนักงาน

เฉิงได้รับการปล่อยตัวเมื่อเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน โดยไม่มีการตั้งข้อหา แต่เพื่อนร่วมงานถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานฉ้อฉลและต้องโทษจำคุก 8 ปี

ทนายของเฉิงเผยว่า แม้ไม่มีการตั้งข้อหากับเฉิง แต่เขาก็ถูกห้ามกลับไปทำงานข่าวแบบเดิม

กลุ่มผู้สนับสนุนเฉิงเชื่อว่า การดำเนินการเอาผิดบุคคลทั้ง 3 เป็นเพราะรัฐต้องการคุมสื่อให้อยู่ในอาณัติ และเจ้าหน้าที่รัฐต้องการแก้แค้นหลังได้รับความเสียหายจากข่าวเปิดโปงการฉ้อฉลและการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ

ภายใต้การนำของเฉิง นสพ.เซาเทิร์น เมโทรโปลิสแทน เดลี ได้สร้างบรรยากาศด้านการแสดงออกอย่างเสรีในจีน แม้ว่า นสพ.ฉบับนี้จะอยู่ในความดูแลของพรรคคอมมิวนิสต์ท้องถิ่น

ความนิยมของสาธารณชน ทำให้สกู๊ปข่าวหลายชิ้นของเซาเทิร์น เมโทรโปลิสแทน เดลี มีผลให้รัฐบาลกลางต้องปรับนโยบาย ส่วนเจ้าหน้าที่หลายคนถูกปลดจากงาน

ในช่วงเริ่มวิกฤติซาร์สปลายปี 2545 เซาเทิร์น เมโทรโปลิสแทน เดลี รายงานข่าวอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับโรคซาร์ส และความพยายามปิดข่าวของเจ้าหน้าที่รัฐ ยอดขายของ นสพ.พุ่งสูงเป็น 1.2 ล้านฉบับ ทำให้สื่ออื่นเริ่มรายงานข่าวตาม ต่อมา รมว.สาธารณสุขและนายกเทศมนตรีปักกิ่งถูกบีบให้ลาออก

ปรากฏการณ์เช่นนี้แทบไม่เคยมีให้เห็นในจีนเมื่อ 4-5 ปีก่อน ทำให้เกิดความหวังว่า รัฐบาลใหม่ของประธานาธิบดีหู จิ่นเทา อาจผ่อนคลายการควบคุมสื่อในประเทศมากขึ้น

ข่าวที่นำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงในสังคม ยังรวมถึงการรายงานข่าวการเสียชีวิตของ ซัน ซิกัง นักเรียนที่ถูกจับฐานไม่มีบัตรประชาชน โดยระหว่างถูกคุมขัง ซันถูกตำรวจซ้อมจนเสียชีวิต

'เหตุซัน ซิกัง' ทำให้รัฐบาลกลางต้องแก้ไขกฎด้านการควบคุมผู้ต้องขังของกรมตำรวจ และให้คำมั่นที่จะปฏิบัติต่อแรงงานต่างถิ่นอย่างเป็นธรรม

สื่อท้องถิ่นรายงานว่า ผู้บัญชาการกรมตำรวจกวางเจาเคยขอร้อง นสพ.เซาเทิร์น เมโทรโปลิสแทน เดลี ไม่ให้รายงานข่าวซัน ซิกัง แต่ไม่สำเร็จ เขาประกาศจะแก้แค้นหลังข่าวทำให้เขาหมดโอกาสเลื่อนตำแหน่ง

การคุมตัวเฉิง, หยู และหลี่ เกิดขึ้นไม่กี่เดือน หลัง นสพ.เซาเทิร์น เมโทรโปลิสแทน เดลี เสนอข่าวการกลับมาของโรคซาร์สเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2546 และเฉิงได้รับการปล่อยตัวในอีก 5 เดือนต่อมา

ปัจจุบันเฉิงทำงานกับ นสพ.เซาเทิร์น สปอร์ตส์ ในกวางตุ้ง เขารับว่าแม้รู้สึกดีใจกับการได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ แต่ก็เศร้าใจในเวลาเดียวกัน

"ทั้งหมดที่เราทำคือ เสนอข่าวตามสำนึกรู้ผิดชอบ แต่โชคร้ายที่เราต้องจ่ายให้กับการทำเช่นนั้น"