: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ว่าที่ประธานเฟดคนใหม่(บุคคลโลก / นฤมล คนึงสุขเกษม)

ว่าที่ประธานเฟดคนใหม่(บุคคลโลก / นฤมล คนึงสุขเกษม)
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2548 ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ผู้นำสหรัฐ ได้เสนอชื่อ 'เบน เบอร์นันเก้' ให้ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สืบต่อจาก 'อลัน กรีนสแปน' ที่จะครบวาระดำรงตำแหน่งในวันที่ 31 มกราคม 2549
บุชให้เหตุผลถึงการแต่งตั้งเบอร์นันเก้ ว่าเป็นบุคคลที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งนี้ เพราะเป็นผู้ที่วงการการเงินการธนาคาร ให้ความเชื่อถือในด้านฝีไม้ลายมือ ทั้งยังกล่าวชมเชยว่าเป็นคนที่ใช้ภาษาง่ายและชัดเจน

ผู้เชี่ยวชาญมองคำกล่าวข้างต้นว่า ต้องการส่งสัญญาณให้ว่าที่ประธานเฟดคนใหม่ ใช้ภาษาในแถลงการณ์ของเฟด ที่สร้างความสับสนให้ตลาดการเงิน น้อยกว่านายกรีนสแปน เพราะกรีนสแปนมักถูกวิจารณ์บ่อยครั้งว่าใช้ภาษาที่คลุมเครือ ทำให้นักลงทุนมองภาพรวมดอกเบี้ยได้ไม่ชัดเจน

ในฐานะนักวิชาการด้านการเงินที่ได้รับความนับถือในวงกว้าง เบอร์นันเก้ วัย 51 ปี หัวหน้าคณะที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดีบุช เรียกร้องมาเป็นเวลานานแล้วให้เฟดเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น

ก่อนหน้าที่จะมาร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับผู้นำประเทศ เบอร์นันเก้เคยดำรงตำแหน่งกรรมการเฟดนานเกือบ 3 ปี และการทำงานในตำแหน่งนี้ช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ในการกำหนดนโยบายในทางปฏิบัติ หลังจากเคยทำงานด้านทฤษฎีในฐานะนักวิชาการในช่วงก่อนหน้านั้น

ว่าที่ประธานเฟดคนใหม่ เกิดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2496 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และปริญญาเอกจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) และเคยเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดก่อนจะมาทำงานที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน โดยปัจจุบันสมรสแล้วและมีบุตร 2 คน

เบอร์นันเก้ เคยดำรงตำแหน่งประธานคณะเศรษฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน และได้รับความสนใจจากตลาดการเงินเมื่อเขาแสดงความกังวลเรื่องความเสี่ยงจากภาวะเงินฝืดในช่วงปลายปี 2545 และมุ่งเป้าหมายไปที่การสร้างความโปร่งใสให้กับการดำเนินงานของเฟด เพราะมองว่าความโปร่งใสเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นโยบายการเงินมีประสิทธิภาพ

หัวหน้าที่ปรึกษาเศรษฐกิจทำเนียบขาวรายนี้ ระบุว่า สิ่งที่เขาให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในฐานะประธานเฟด คือการรับประกันถึงความต่อเนื่องด้านนโยบาย และกลยุทธ์นโยบายที่จัดทำขึ้นในช่วงการดำรงตำแหน่งของกรีนสแปน

"ความเข้าใจของเราถึงแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุดในด้านนโยบายการเงิน ได้รับการพัฒนาขึ้นในช่วงการดำรงตำแหน่งของคุณกรีนสแปนที่เฟด และสิ่งนี้จะยังคงพัฒนาต่อไปในอนาคต" เบอร์นันเก้ กล่าว

ในอดีต เบอร์นันเก้ยังเคยสนับสนุนให้เฟดกำหนดเป้าเงินเฟ้ออย่างเป็นทางการ ซึ่งต่างไปจากกรีนสแปน โดยในช่วงต้นปี เขาเคยระบุว่า การที่นักลงทุนต่างชาติออมเงิน 'มากเกินไป' คือปัจจัยที่ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอยู่ที่ระดับต่ำผิดปกติ และทำให้ยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุด

ความคิดเห็นนี้ กลายเป็นประเด็นที่นักเศรษฐศาสตร์หลายคนนำมาใช้ในการถกเถียงอภิปรายเรื่องภาวะไม่สมดุลในเศรษฐกิจโลก

เบอร์นันเก้ ยังเชื่อว่า เฟดควรที่จะมุ่งเป้าหมายในการทำงานไปที่เศรษฐกิจโดยรวม แทนที่จะมุ่งไปที่การควบคุมทิศทางของราคาสินทรัพย์ ถึงแม้ว่าเกิดภาวะฟองสบู่ในธุรกิจก่อสร้างก็ตาม

อดีตกรรมการเฟดผู้นี้เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสหรัฐในช่วงทศวรรษ 2473 และเขาเคยร่วมเขียนตำราเรียนเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ทั้งยังเคยทำงานในสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจแห่งชาติ โดยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการที่มีหน้าที่ระบุช่วงเวลาที่เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัวและหดตัว