: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

'แคสเทสต์' ควรมีได้แล้ว (ยนตรกรรม / ยุทธพงษ์ ภาษี)

'แคสเทสต์' ควรมีได้แล้ว (ยนตรกรรม / ยุทธพงษ์ ภาษี)

เลยปีใหม่มาแล้ว ภาพเหตุการณ์น่าเศร้าที่เกิดเพราะภัยธรรมชาติที่ภาคใต้ ยังติดตามาจนถึงวันนี้ เมื่อรวมตัวเลขคนที่เสียชีวิตในช่วงรอยต่อเทศกาลปีใหม่ ปีเก่า โดยเฉพาะอุบัติเหตุทางรถยนต์ ก็จัดว่า เป็นข่าวร้ายของบ้านเราเช่นเคย แม้จะลดลงกว่าปีก่อนๆ ก็ตาม

ชีวิตราคาแพง เราเอาคืนไม่ได้ คงทราบกันดี การประมาท แม้เล็กน้อย เราจะสูญเสียยิ่งใหญ่ สำหรับทางการ คงต้องพยายามรณรงค์เรื่องการลดจำนวนอุบัติเหตุลง ซึ่งสภาพแวดล้อมที่มีพื้นฐานแบบไทยๆ นิสัย ทัศนคติของคนขับรถแบบเรา อาจจะต้องใช้เวลาอีกนาน

แม้ว่าหลายฝ่ายจะช่วยรณรงค์เพิ่มความรู้ให้แก่คนขับรถ แต่บางครั้งผมกำลังสังเกตว่า 'ความรู้ที่ผิดๆ เป็นอันตรายกว่าความไม่รู้' ใครที่พูดเรื่อง เทคนิค ความรู้ ความเชื่อเรื่องการขับรถ ก็ขอให้รู้จริง และมีที่มาที่ไป จะได้ไม่ใส่ยาพิษลงไปบนท้องถนน เจตนานะดี ที่จะปรับทัศนคติของผู้ใช้รถให้มีความปลอดภัยขึ้น องค์ความรู้ก็ต้องมีเป็นพื้นฐาน และถูกต้องเป็นอย่างดี

ผมอยากจะเปิดเรื่องในช่วงต้นปี 2548 ด้วยข่าวดีมากกว่าข่าวร้าย ดังนั้น จึงขออนุญาตเล่าแต่เรื่องอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น แม้ผมมองว่ามันต้องใช้เวลาอีกนาน แต่เป็นเรื่องที่ได้มีคนริเริ่มคิดที่จะทำ และน่าจะสนับสนุนให้เกิดขึ้นในบ้านเรา

นั่นคือการสร้างมาตรฐานการทดสอบการชนขึ้น เพื่อให้เป็นมาตรฐานสำหรับรถยนต์ที่จะขายกันในบ้านเรา ว่าก่อนจะขายนั้น จะต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยของการชนที่เราเรียกว่า 'แคสเทสต์' เสียก่อน

ทุกวันนี้รถที่ขายกันในบ้านเรานั้น ไม่มีมาตรฐานบังคับเรื่องแคสเทสต์ แต่ที่เราเห็นโฆษณา เพราะว่าเป็นเรื่องของผู้ผลิตทำกันเอง ต้องการนำมาเสนอและโฆษณาให้ตลาดสนใจ

มาตรฐานการชน มีไว้เพื่ออะไร โดยหลักของวิศวกรรมแล้ว มาตรฐานการชนมีไว้สำหรับการ บังคับหรือการยอมรับได้ของรถเมื่อถูกชนในกรณีต่างๆ ซึ่งห้องโดยสารและชิ้นส่วนประกอบ จะไม่เสียหายจนไปทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อผู้ขับขี่และผู้โดยสาร

ในต่างประเทศนั้น เจ้าใหญ่ที่ทำมาตรฐานการชนไว้สูง คือ ยูโนเอ็นแคป หน่วยงานด้าน มาตรฐานของยุโรป ทางอเมริกา คือสถาบันการประกันภัยเพื่อความปลอดภัยบนทางหลวง อเมริกาจะจัดการทดสอบการชนของรถประเภทต่างๆ ทุกๆ ปี

ในบ้านเราก็ยังไม่มีใครจะมาบังคับ เพียงแต่มีปัจจัยให้คิดว่า ในอนาคตที่ตลาดรถยนต์เปิดกว้างขึ้น จากเขตการค้าเสรี สุดท้ายรถยนต์จะไม่มีภาษีน้ำเข้า และคิดๆ ดูจะเห็นว่ารถยนต์จากแหล่งผลิตที่ไหนๆ ก็สามารถส่งเข้ามาขายในบ้านเราได้ ซึ่งมีคำถามว่า ทำอย่างไรเราจะทราบว่ามาตรฐานของรถเหล่านั้น ปลอดภัยต่อการใช้งาน ในระดับที่เพียงพอ ซึ่งลึกๆ แล้วเราจะมีมาตรฐานนี้ไว้ด้วยเหตุผล ทางด้านการค้าระหว่างประเทศ หรือเป็นกำแพงกั้นสำหรับไม่ให้รถทะลักเข้ามามากนัก แต่ผมว่าด้านความปลอดภัย ก็น่าจะเป็นเหตุเป็นผลที่จะให้มีเงื่อนไขเหล่านี้ไว้ด้วย เพราะคนที่ได้ประโยชน์ คือคนใช้รถ

ทางการไทย เริ่มคิดเรื่องนี้ ก็มองว่าหากภาษีลดลง รถยนต์ราคาถูกจากจีน อินเดีย หรือบางแหล่ง ที่ต้องการดัมพ์ราคา จะส่งรถแบบคุณภาพต่ำๆ ของเขาเข้ามาขาย ก็จะทำได้ยากหน่อย เพราะ ต้องได้มาตรฐานการชน ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานที่ต้องใช้เทคนิคสูง หากจะผลิตรถยนต์ให้ผ่านกติกา ทั้งนี้ ต้องดูว่ากติกาจะอิงจากแหล่งไหน แต่ส่วนตัวผมแล้ว คาดเดาเอาเองว่า บ้านเราใช้มาตรฐานยานยนต์ ส่วนใหญ่นั้นเป็นของยุโรป โดยเฉพาะมาตรฐานด้านไอเสีย ซึ่งค่ายยุโรปก็แข็งแกร่ง ทางด้านมาตรฐานการชน คิดว่าไม่น่าจะผิดไปจากนี้

สำหรับงานมาตรฐานรถยนต์นั้น ผมให้ความรู้เป็นพื้นฐานว่า มาตรฐานนี้เขาแบ่งกลุ่มกันออกเป็นส่วนๆ เช่น มาตรฐานที่ใครจะทำก็ได้, มาตรฐานที่ต้องทำ, มาตรฐานสำหรับรถใหม่ เป็นต้น และก็ในแต่ละประเทศก็ใช้กฎไม่เหมือนกัน ประเทศไหนเข้มงวดก็อาจตั้งกฎของเขาขึ้นมาเอง หรือบางประเทศในบางแห่งก็ใช้มาตรฐานรวมกัน เป็นบางหัวข้อ

สำหรับในบ้านเรา เรื่องมาตรฐานยานยนต์ แบบบังคับต้องทำ ถือว่าสูงพอสมควร เพราะกฎเราก้าวหน้ากว่าสมาชิกในอาเซียนด้วยกัน อาจจะเป็นเพราะว่าบ้านเราเป็นฐานของการผลิตรถยนต์ในย่านนี้ด้วยส่วนหนึ่ง ความเข้มงวดของมาตรฐาน เช่น มาตรฐานไอเสีย มีผลมากต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีรถยนต์ ซึ่งจะเห็นได้จากไทยเป็นประเทศที่บังคับเรื่องไอเสียเครื่องยนต์ดีเซล ขนาดเล็กไปใช้ยูโร 3 แล้ว

ครับ มาตรฐานการชน คงเป็นเรื่องของภาครัฐเตรียมศึกษา ส่วนภาคผลิตก็คงต้องรองรับรถที่มีมาตรฐานการชนผ่านเกณฑ์ยุโรปมาแล้ว ก็คงเบาใจ ส่วนค่ายใดที่ขายอยู่แล้วไม่เคย หรือไม่สามารถผ่านมาตรฐานมาก่อน คงจะต้องเป็นการบ้านที่คิดหนัก ผมเชื่อว่ามาตรฐานการชนจะถูกผลักดันออกมาใช้แน่ เว้นเสียแต่ว่า มีเหตุให้สะดุด จนมาตรฐานกระโดดหายตัวไปจากแผนเท่านั้นแหละ