: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

หรือว่าปัญหามาจากรถไฮเทค? (ยนตรกรรม / ยุทธพงษ์ ภาษี)

หรือว่าปัญหามาจากรถไฮเทค? (ยนตรกรรม / ยุทธพงษ์ ภาษี)
หลังจากที่รัฐบาลได้เปิดดำเนินการศูนย์รับข้อร้องเรียน โดยมี สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นหน่วยงานกลางในการรับร้องเรียนเรื่องคุณภาพรถยนต์ ซึ่งเปิดดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548 เป็นเวลาเดือนกว่าแล้วนั้น

ศูนย์ได้รับข้อร้องเรียนทั้งหมด 192 ราย ถือว่ามากหรือไม่ ผมไม่แน่ใจเพราะหากเทียบกับประชากรรถยนต์ปีที่แล้ว 6 แสนคัน ถือว่าเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ไม่สูงเลย

ลองไล่เรียงตามข้อมูล รายยี่ห้อ จะเห็นรถเกือบทุกค่ายมีกรณีขัดแย้ง เริ่มจาก อัลฟ่า โรมิโอ รถที่ขายมีอยู่สองรุ่น มีคนร้อง 1 ราย เชฟโรเลต มี 10 ราย จี๊ป รถที่แทบไม่ทำตลาดในไทยแล้ว มีอยู่ 1 ราย อีซูซุ ขายรถกระบะมากที่สุดในไทย มีคนร้อง 19 ราย แลนด์โรเวอร์ รถออฟโรด 1 ราย เมอร์เซเดส-เบนซ์ รถระดับหรูหรา 12 ราย นิสสัน 6 โฟล์ก 2 ราย บีเอ็มดับเบิลยู 6 ราย ฟอร์ด 11 ราย ฮอนด้า 45 ราย เกีย 2 ราย มาสด้า 4 ราย มิตซูบิชิ 7 ราย โตโยต้า ยอดขายมากสุดในไทย มีคนร้อง 68 ราย และวอลโว่ 2 ราย

ปัญหาของรถเหล่านี้เอามาเป็นสถิติไม่ได้ว่าใครมีปัญหามากสุด เพราะยังไม่ได้วิเคราะห์จากประชากรรถ และมองภาพรวมแล้วลูกค้าที่ไปศูนย์ร้องเรียนนั้น ก็ไม่ได้รวมเอารถที่ปัญหาค้างกันอยู่ในศูนย์บริการ หรือใน สคบ. เข้าไปด้วย เพราะว่าแหล่งใหญ่ที่รับเรื่องร้องเรียน ก็คือ สคบ.นั่นเอง เนื่องจากมีกฎหมายบังคับใช้ครอบคลุมมากกว่าในเรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภค

เฉพาะปัญหาที่คอลล์เซ็นเตอร์นั้น เจ้าหน้าที่ได้ทำการแยกแยะรถที่เป็นปัญหาตามระบบการทำงานออกเป็น 4 ส่วนหลัก คือ ปัญหาด้านความปลอดภัย เช่น ระบบเบรกเอบีเอส เข็มขัดนิรภัย ถุงลมนิรภัย รถในช่วงระยะรับประกันมีปัญหา 12 ราย ไม่อยู่ในช่วงรับประกัน 2 ราย

ปัญหาของระบบการขับเคลื่อน เช่น ระบบเกียร์ ยาง ล้อ เครื่องยนต์ ปัญหาเกิดกับรถในช่วงระยะรับประกัน 74 ราย ไม่อยู่ในช่วงรับประกัน 11 ราย

ปัญหาระบบบังคับเลี้ยว เช่น การทรงตัว ศูนย์ล้อ พวงมาลัย ปัญหาที่พบเกิดกับรถในช่วงระยะรับประกัน 25 ราย ไม่อยู่ในช่วงรับประกัน 7 ราย ปัญหาทางด้านอุปกรณ์ประกอบ รถในช่วงระยะรับประกัน 46 ราย ไม่อยู่ในช่วงรับประกัน 7 ราย

ปัญหาอื่นๆ (สี การบริการ) รถในช่วงระยะรับประกัน 10 ราย ไม่อยู่ในช่วงรับประกัน 8 ราย

ปัญหาใหญ่เกิดขึ้นกับระบบขับเคลื่อน ที่มีอยู่ 74 ราย ซึ่งเป็นรถในช่วงระยะรับประกันเสียส่วนใหญ่ มองในแง่ปัญหามันเป็นเรื่องของข้อที่น่าจะหาเหตุอื่นๆ มาอ้างได้ยาก

เพราะระบบเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องเชิงเทคนิค ไม่ได้เอาอารมณ์หรือความรู้สึกมาวัด ว่าพอใจ-ไม่พอใจ พอเห็นอาการชัดเจนก็รู้ว่าผิดปกติหรือไม่ผิด

ยกเว้นแต่ผู้ผลิตจะใจป้ำหรือเปล่า มันไม่ยากที่จะแก้ ส่วนใหญ่ระบบแต่ละชิ้นราคาก็ไม่สูงมาก นอกเสียจากยกกันทั้งเครื่องยนต์ หรือเกียร์

ว่ากันว่า รถยนต์ที่น่าสะสมหรือเก็บไว้เป็นสมบัติที่มีค่า คือรถก่อนปี 2000 เพราะหลังจากปี 2000 มาแล้ว รถยนต์ได้พัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์จนทำให้เสน่ห์ของแมคคานิค มันลดน้อยลง ไม่ใช่ว่าอิเล็กทรอนิกส์ไม่ดี แต่โครงสร้างพื้นฐานที่เกิดจากการนำเอาชิ้นส่วนหลายอย่างมาประกอบกัน รากฐานของกลไกเหล่านี้ ช่างฟิตเดิมๆ ก็พอที่จะจับจูนได้ และงานที่เป็นแมคคานิคนั้น มีความคงทน หรือเสถียรภาพกว่าสิ่งที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ที่กำหนดวันอยู่วันตายด้วยตัวมันเอง

หลายๆ คนบอกว่ารถยนต์ปัจจุบันไฮเทคมากขึ้น ระบบมากมายพึ่งอิเล็กทรอนิกส์ทำการคุมระบบอย่างซับซ้อน และคนที่จะใช้ต้องมีความรู้และเข้าใจมันด้วย

จริงๆ แล้ว รถก็เหมือนกับสินค้าอื่นๆ ขนาดของง่ายๆ ยังต้องอ่านฉลาก แต่รถนั้นเรามักไม่สนใจอ่านกันก่อน เพราะว่าเราเคยชิน คนใช้รถบ้านเรานั้น เรื่องบางอย่างอาศัยความชำนาญได้ผลดีกว่า คือถูก ผิดพลาดเป็นครู แต่มันใช้ไม่ได้บางกรณี ความเชื่อต่างๆ เกี่ยวกับเครื่องยนต์ก็ฝังกันมา หลายคนบอกว่าตัวเองขับรถมา 10ยี่ห้อ 40 ปี ไม่มีปัญหา รู้จักรถดีก็มี ไม่ต้องอ่านฉลากใดๆ ก็ฉลาดแล้ว แต่ผมว่า เอาสักหน่อยก็จะดีนะครับ

ไฮเทคในรถมีแน่ แต่ไฮเทคเหล่านี้ทำมาเพื่อให้ใช้งานง่ายๆ ตัวมันเองถึงจะซับซ้อนอย่างไร พอมาถึงผลสุดท้าย มันง่ายต่อการรับรู้ว่า มันเสียหาย เป็นง่อยหรือเป็นอะไรไป อ่านฉลากรถไม่ได้หมายความว่าเรียนรู้ที่จะไปเป็นช่าง แต่ให้เป็นผู้ใช้รถที่แอดวานซ์ขึ้นมาหน่อยเท่านั้น ก็มีความสุขกับรถไฮเทคได้เป็นอย่างดีแล้ว