: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ตามรอย วิฮิเกิล แลนด์ (ยนตรกรรม / ยุทธพงษ์ ภาษี)

ตามรอย วิฮิเกิล แลนด์ (ยนตรกรรม / ยุทธพงษ์ ภาษี)
บนถนนเส้น 331 ซึ่งถือว่าเป็นถนนที่มีรถยนต์ผ่านมากที่สุดในประเทศไทย ที่ผมพูดเช่นนี้ก็เพราะว่าหากเราขับรถไปบนถนนเส้นนี้จะเห็นรถเทรลเลอร์ขนรถยนต์ วิ่งกันเป็นระยะ ปีหนึ่งๆ รถยนต์ส่งออกจากประเทศไทยเป็นแสนๆ คัน ถนนเส้นนี้คือเส้นหลักที่ลำเลียงรถจากโรงงานใหญ่ๆ ออกสู่ตลาดต่างประเทศ

นิคมอุตสาหกรรมอีสต์เทิร์น ซีบอร์ด เป็นจุดใหญ่ ที่มีฐานกระบะของรถในเครือจีเอ็มกับฟอร์ด มอเตอร์ (มาสด้า ฟอร์ด) ถัดไปอีกไม่ถึง 3 นาที ใกล้ๆ เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ นิคมแห่งนี้ถือเป็นมิวนิคแห่งเอเชีย เพราะว่าเป็นที่ตั้งของโรงงานบีเอ็มดับเบิลยู แมนูเฟคเจอริ่ง ประเทศไทย

โรงงานนี้คล้ายกับฟอร์ด คือตั้งอยู่บนที่สูง ปรับมุมเงย ชนิดที่คนนอกไม่สามารถจะมองเข้าไปได้เลยว่าข้างในมีอะไรบ้าง แต่โรงงานบีเอ็มดับเบิลยูดูสงบและเงียบ เพราะว่าอยู่ท้ายนิคม ด้านข้างไม่มีโรงงานแวดล้อม หลุดจากโรงงานออกไปก็มีแต่ถนนสายโล่ง กับที่ดินว่างเปล่าสุดตา ซึ่งเจ้าของนิคม ปรับที่ไว้รอโรงงานใหม่ๆ เข้ามาตั้ง นิคมฯ ที่นี่ถนนสวยมาก กว้างและเรียบ ราวกับสนามแข่งรถ

บีเอ็มดับเบิลยู มาตั้งโรงงานประกอบในเมืองไทยได้นานพอสมควร หลังจากที่มีนโยบายบุกเอเชีย ความพิเศษของโรงงานแห่งนี้คือ ประกอบรถ ซีรีส์ 3 ซีรีส์ 5 ซีรีส์ 7 และเป็นโรงงานแห่งแรกที่ทำการประกอบซีรีส์ 7 นอกประเทศเยอรมนี

สำหรับบีเอ็มดับเบิลยู ถือว่าส่งออกรถยนต์จากโรงงานแห่งนี้น้อย คือมีซีรีส์ 7 ไปอินโดนีเซียเพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่รถที่ประกอบคือซีรีส์ 3 สำหรับขายในประเทศเท่านั้น

จากโรงงานบีเอ็มดับเบิลยู ผมออกจากอมตะซิตี้ในตอนเย็น และอำลามิวนิคแห่งเอเชียอย่างเร่งรีบเพื่อกลับเข้ากรุงเทพฯ แน่นอนก่อนที่จะไปถึงโรงงานในส่วนกลางที่ผมไม่ได้กล่าวถึง เส้นทางขาเข้า สุดทางตรงของ 331 จะผ่านนิคมอุตสาหกรรมที่ใหญ่สุดแห่งหนึ่งคือ เกตเวย์ ซิตี้ อันเป็นที่ตั้งของโรงงานแห่งที่สองของโตโยต้า และโรงงานผลิตรถบรรทุกของอีซูซุ

สำหรับเกตเวย์ ซิตี้ สภาพของนิคมค่อนข้างเก่าและยังดูแลรักษาสภาพต้นไม้ให้สวยไม่ได้เท่ากับ อมตะซิตี้ หลังจากขับรถตรงมาจากอมตะซิตี้ไกลพอสมควร จะพบสามทางแยกเป็นรูปตัววาย ให้เราไปทางซ้าย แล้วจะพบแยกใหญ่ ให้สังเกตป้ายเกตเวย์ เลี้ยวขวาไปตามทางเข้า จากทางเข้าซึ่งไกลพอสมควรและพลุกพล่านไปด้วยรถยนต์น้อยใหญ่ จะเห็นปากทางเข้านิคมฯ ได้ชัด เข้าไปไม่นานจะพบโรงงานโตโยต้า เกตเวย์ ตั้งตระหง่านชัดเจนทางขวามือ

ที่นี่เป็นแหล่งผลิตรถยนต์นั่งทั้งหมดของโตโยต้า ไม่ว่า วิออส, วิช, อัลติส, แคมรี่ ทั้งนี้ เดิมนั้นโตโยต้ามีโรงงานที่สำโรงแห่งเดียว ต่อมาปี 2539 ได้ลงทุนครั้งใหญ่ โดยการเลือกพื้นที่ใน อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา (ห่างจากกรุงเทพฯ 130 กิโลเมตร) เป็นโรงงานขนาดใหญ่ เพื่อผลิตรถและส่งออก ซึ่งได้ย้ายสายการผลิตรถเก๋งมาไว้ที่นี่ทั้งหมด และที่สำโรงคงไว้แต่รถกระบะอย่างเดียว

โรงงานเกตเวย์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขยายกำลังการผลิตจากเดิมที่ทำได้ 110,000 คันต่อปี เป็น 200,000 คันต่อปี โครงการนี้จะแล้วเสร็จภายในปี 2549 ซึ่งโตโยต้าใช้เงินลงทุน 3,000 ล้านบาท (7,000 ล้านเยน) และมีการเพิ่มอัตราการจ้างงานอีกประมาณ 1,500 คน

พูดถึงโตโยต้าแล้ว ก็ขอเล่าให้ฟังถึงเครือข่ายการผลิตของโตโยต้าในไทยเพิ่มเติมเล็กน้อย

โตโยต้านั้นเป็นบริษัทรถยนต์ที่มีความสามารถในการผลิตสูงสุด คือมีโรงงานที่สำโรงเป็นโรงงานแห่งแรก เริ่มมาตั้งแต่ปี 2507 ปัจจุบันมีกำลังการผลิตรวม 250,000 คันต่อปี รถที่ผลิตคือ กระบะ วีโก้ และพีพีวี รุ่นฟอร์จูนเนอร์

และเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2548 ที่ผ่านมา โตโยต้าตัดสินลงทุนเพิ่มในไทยด้วยการกำลังมองพื้นที่ใหม่สำหรับลงโรงงานแห่งที่สาม โดยอยู่ระหว่างการซื้อที่ดิน ซึ่งคงจะเป็นพื้นที่นอกนิคมอุตสาหกรรม ย่านบางปะกง โรงงานแห่งใหม่นี้คาดว่าจะเริ่มผลิตรถกระบะรุ่นไฮลักซ์ ในโครงการไอเอ็มวี ได้ในต้นปีพ.ศ.2550 โดยมีกำลังการผลิตประมาณ 100,000 คันต่อปี ใช้เงินลงทุน 15,000 ล้านบาท (41,000 ล้านเยน) และคาดว่าจะสร้างการจ้างงานได้ 2,000 คน เมื่อมีการผลิตเต็มกำลัง และในปี 2550 บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด จะสามารถผลิตรถยนต์ด้วยกำลังการผลิตสูงสุดที่ 550,000 คันต่อปี สร้างอัตราการจ้างงานให้คนไทยได้ถึง 3,500 คน (รวมถึงบริษัท ไทย ออโต้ เวิร์ค จำกัด (TAW) ผู้ผลิตรถยนต์ รุ่นฟอร์จูนเนอร์ในโครงการ IMV ด้วย)

ครับ เครือข่ายของโตโยต้านั้น ใหญ่โตในเมืองไทย ที่เกตเวย์ก็เต็มไปด้วยบริษัทชิ้นส่วนมากมาย ทั้งญี่ปุ่น ยุโรปและไทย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีส่วนป้อนชิ้นส่วนให้แก่โตโยต้า ซึ่งยังไม่รวมบริษัทที่ทำหน้าที่สนับสนุนต่างๆ เช่น บริษัทจัดส่ง บริษัทขนส่งรถ

ที่เกตเวย์แห่งนี้ ยังมีโรงงานใหญ่ของอีซูซุ ตั้งอยู่ท้ายสุดของนิคม อีซูซุ มอเตอร์ ซื้อที่แห่งนี้ไว้ทำโรงงานประกอบรถบรรทุก บนพื้นที่ขนาดใหญ่ ทำเลสวย จะเห็นตัวอาคารประกอบควบคู่ไปกับลานจอดรถที่ประกอบเสร็จแล้ว ซึ่งมีพื้นที่ขนาดใหญ่ ปัจจุบันใช้จอดรถอีซูซุ ดีแมคซ์ พวงมาลัยซ้ายที่รอส่งออก สต็อกรถบรรทุกขนาดต่างๆ และรถพีพีวี รุ่นมิว-7

โรงงาน อีซูซุ เกตเวย์ ก่อสร้างตัวอาคารเสร็จตั้งแต่ปี 2539 ซึ่งในช่วงนั้นมีเป้าหมายเพื่อผลิตรถบรรทุกขนาดกลางและขนาดใหญ่ปีละ 20,000 คัน แต่พอเศรษฐกิจทรุด ปี 2540 ทุกอย่างก็แช่แข็งไป

พอเวลานี้เศรษฐกิจดี รถขายได้มาก โรงงานของอีซูซุที่เกตเวย์นั้นเดิมจะใช้ทำรถบรรทุก เวลานี้ทางอีซูซุอยู่ระหว่างการทบทวนการใช้พื้นที่ใหม่ เพราะว่า กระบะอีซูซุ ขายดี จนอาจจะต้องทำกระบะที่เกตเวย์ แทนการทำรถบรรทุก

อีซูซุ ยังมีโรงงานดั้งเดิมอยู่ที่พระประแดง ซึ่งผลิตกระบะ

ล่าสุดอีซูซุนั้นมีเป้าหมายจะเพิ่มกำลังการผลิตภายในปี 2550 อีก 76% หรือเป็น 300,000 คันต่อปี โดยในจำนวนนี้เป็นรถเพื่อการส่งออก 50,000 คัน

ครับ เมืองไทยอย่างไรก็เป็นเมืองผลิตรถ ตอนหน้าเราจะไปดูศักยภาพของฮอนด้า และโรงงานต่างๆ ที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่ผมยังไม่ได้กล่าวถึง