: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ฮุน เซนจะตั้งพรรคร่วมกับเจ้ารณฤทธิ์!!!(Makong Corridor / ทรงฤทธิ์ โพนเงิน )

ฮุน เซนจะตั้งพรรคร่วมกับเจ้ารณฤทธิ์!!!(Makong Corridor / ทรงฤทธิ์ โพนเงิน )

ข่าวคราวที่ทั้งชาวเขมรและชาวต่างประเทศในกัมพูชาให้ความสนใจมากสุดในเวลานี้คงไม่มีข่าวใดที่จะเกินไปกว่าข่าวคราวที่ว่า ฮุน เซน และเจ้านโรดม รณฤทธิ์ นั้น กำลังเจรจาเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ร่วมกัน

แน่นอนว่าข่าวคราวดังกล่าวนี้ย่อมไม่ใช่ข่าวลือแต่ประการใด เนื่องเพราะบุคคลแรกที่ได้ออกมาให้การยืนยันว่าฮุน เซน ได้เริ่มการเจรจาร่วมกับ เจ้ารณฤทธิ์ ภายใต้เป้าหมายดังกล่าวข้างต้นนับตั้งแต่ปลายปี 2004 เป็นต้นมา และก็ได้เจรจากันมาแล้วหลายครั้งนั้นก็คือ เขียว กัณหฤทธิ์ ผู้ซึ่งเป็นโฆษกของพรรคประชาชนกัมพูชานั่นเอง

ยิ่งไปกว่านั้นก็คือภายหลังจากที่ เขียว กัณหฤทธิ์ ได้ออกมาเปิดเผยเกี่ยวกับการเจรจาดังกล่าวไม่นานทั้งเจ้ารณฤทธิ์ และ ฮุน เซน ต่างก็ได้ออกมาให้การยืนยันในความ เคลื่อนไหวดังกล่าวของพวกตนอีกต่างหาก

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีประเด็นคำถามที่จะต้องหาคำตอบให้ได้ว่าเป็นเพราะสาเหตุและเงื่อนไข-ปัจจัยอันใด ถึงทำให้ผู้นำคนสำคัญทั้งสองในทางการเมืองของกัมพูชาต้องดิ้นรนที่จะจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้นมาร่วมกัน ทั้งๆ ที่ว่าในปัจจุบันนี้ทางฝ่าย ฮุน เซนเองก็เป็นถึงนายกรัฐมนตรี ส่วนเจ้ารณฤทธิ์นั้น ก็ยังครองตำแหน่งประธานสภาแห่งชาติเป็นสมัยที่ 2 ติดต่อกัน

ถ้าหากพิจารณาจากทางฝ่ายเจ้ารณฤทธิ์ ซึ่งนำพรรคฟุนซินเปกเข้าร่วมชิงชัยในการเลือกตั้งทั่วไปของกัมพูชาทั้ง 3 ครั้งที่ผ่านมานั้น ก็จะเห็นได้ว่าพรรคฟุนซินเปกนั้นมีจำนวนสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาในสภาแห่งชาติลดลงมาโดยตลอด

กล่าวคือการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกในปี 1993 พรรคฟุนซินเปกได้รับการเลือกตั้งเข้ามาถึง 58 ที่นั่งจากจำนวนทั้งหมด 120 ที่นั่ง ขณะที่พรรคประชาชนกัมพูชาได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็นอันดับ 2 ด้วยจำนวน 52 ที่นั่ง ส่วนจำนวนอีก 10 ที่นั่งที่เหลือเป็นของพรรคพุทธศาสนาเสรีประชาธิปไตยของ ซอน ซานน์

ครั้นต่อมา ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 2 ในปี 1998 จำนวนเสียงในสภาแห่งชาติในสังกัดพรรคฟุนซินเปกของ เจ้ารณฤทธิ์ ไม่เพียงจะลดลงมาเหลือเพียง 43 ที่นั่งเท่านั้น หากแต่ 10 เสียงที่เคยเป็นของพรรคพุทธศาสนาเสรีประชาธิปไตยนั้นยังได้ตกไปอยู่ภายใต้พรรคประชาชนกัมพูชาของ ฮุน เซน อีกด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น สำหรับในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อปลายปี 2003 ที่ผ่านมา ไม่เพียงจะทำให้พรรคฟุนซินเปกมีเสียงสนับสนุนในสภาแห่งชาติเหลืออยู่เพียง 26 ที่นั่งจากทั้งหมด 123 ที่นั่งเท่านั้น หากแต่การเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลผสมระหว่างพรรคประ ชาชนกัมพูชากับพรรคฟุนซินเปกยังต้องใช้เวลาถึง 1 ปีกว่าจะสามารถตกลงกันได้

แน่นอนว่าการที่พรรคฟุนซินเปกของเจ้ารณฤทธิ์ ยังคงสามารถอยู่ในรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคประชาชนกัมพูชาของ ฮุน เซน ในทุกวันนี้ได้นั้นย่อมเป็นเพราะว่า 73 เสียงของพรรคประชาชนกัมพูชานั้นไม่ถึง 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภาแห่งชาติทั้งหมด จึงไม่เพียงพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว

ส่วนการที่จะหันไปจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคสัม รังสี ซึ่งมี 24 เสียงในสภาฯนั้นก็ย่อมจะเป็นไปไม่ได้ เพราะในทางการเมืองกัมพูชาแล้วถือว่า ฮุน เซน และ สัม รังสีนั้นคือศัตรูถาวรระหว่างกันนั่นเอง

เพราะฉะนั้น การที่พรรคฟุนซินเปกมีคะแนนเสียงในสภาแห่งชาติลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดที่ เจ้ารณฤทธิ์ จะต้องดิ้นรนเพื่อหาหลักประกันว่าพรรคการเมืองที่อยู่ภายใต้การนำของตนนั้นจะไม่สูญพันธุ์ไปจากการมีอำนาจร่วมในทางการเมืองของกัมพูชาต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเลือกตั้งครั้งต่อไปที่จะมีขึ้นในช่วงปลายปี 2008 (หากไม่มีการรัฐประหารเกิดขึ้นเสียก่อน)

แต่สิ่งที่ถือว่ามีความแปลกประหลาดอย่างยิ่ง ก็คือความเคลื่อนไหวของ ฮุน เซน เพราะถ้าหากพิจารณาจากจำนวนเสียงในสภาแห่งชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นน่าจะนับเป็นความได้เปรียบทางการเมือง ทั้งยังมีโอกาสอย่างมากที่พรรคประชาชนกัมพูชาจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวหลังจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้าอีกด้วย

แน่นอนว่าถ้าหากพิจารณาถึงความต้องการอย่างยิ่งยวดที่ ฮุน เซน ได้แสดงออก อย่างชัดเจนมาโดยตลอด ก็คือการได้ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาตลอดไปตราบจนชีวิตจะหาไม่

ด้วยเหตุนี้ ประเด็นปัญหาจึงอยู่ที่ว่าบรรดาแกนนำและเหล่าสมาชิกพรรคประชา ชนกัมพูชานั้นจะเห็นด้วยกับความต้องการดังกล่าวนี้ของ ฮุน เซน หรือไม่

เพราะจะต้องไม่ลืมว่าการที่ ฮุน เซน ในฐานะรองประธานพรรคประชาชนฯได้ผูกขาดในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของกัมพูชามาอย่างยาวนานกว่า 2 ทศวรรษติดต่อกันนั้น ย่อมจะต้องมีความไม่พอใจเกิดขึ้นภายในพรรคฯอย่างแน่นอน

ทั้งนี้โดยจะต้องไม่ลืมว่าในคณะกรรมการประจำศูนย์กลางพรรคฯที่มีอยู่ 20 คนและกรรมการกลางพรรคฯที่มีอยู่ 153 คนนั้น ก็หาใช่คนในสังกัดของ ฮุน เซน ทั้งหมดทุกคนแต่อย่างใดไม่

หากแต่กระแสความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นภายในพรรคประชาชนกัมพูชาในเวลานี้ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นกระแสหลักภายในพรรคด้วยนั้น ก็คือกระแสการเรียกร้องเพื่อให้มีการพิจารณาว่าใคร?ที่สมควรจะได้ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไป

พรรคประชาชนกัมพูชา ภายใต้การเป็นประธานของ เจีย ซิม ซึ่งในปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานวุฒิสภาของกัมพูชานั้น มีกำหนดการที่จะดำเนินการประชุมใหญ่สมัชชาพรรคฯในช่วงปลายเดือนมกราคม 2005 นี้

โดยความสำคัญของการประชุมใหญ่ที่กำลังจะมีขึ้นดังกล่าว นอกจากจะมีวาระการประชุมเพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการประจำศูนย์กลางพรรคฯ (Standing Committee) และกรรมการกลางพรรคฯ (Central Committee) แล้วแน่นอนว่าย่อมจะมีการพิจารณาในประเด็นที่ว่าใคร?ที่สมควรจะครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปด้วยนั่นเอง

ความเคลื่อนไหวที่ได้เริ่มปรากฏให้เห็นถึงกระแสการเรียกร้องต้องการดังกล่าวนี้ภายในพรรคประชาชนกัมพูชาได้อย่างชัดเจนที่สุดในเวลานี้ ก็คือข่าวคราวที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ทางธุรกิจในครอบครัวของ ฮุน เซน ซึ่งถูกปล่อยออกมาสู่การรับรู้ของวงกว้างมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข่าวคราวที่ระบุว่า บุน รานี ผู้เป็นภรรยาของ ฮุน เซน นั้นคือเจ้าของตัวจริงหรือหุ้นส่วนใหญ่ที่สุดในบริษัท Kampuchea Tela ซึ่งเป็นบริษัทค้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดโดยครองตลาดน้ำมันถึงกว่า 80% ในกัมพูชา

แต่ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือข่าวคราวดังกล่าวนี้ได้ถูกปล่อยออกมาในช่วงที่นานาชาติกำลังประชุมเพื่อพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่กัมพูชาเมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งข้อมูลที่ได้มีการเปิดเผยออกมาในระยะเดียวกันนี้ ก็คือข้อมูลทางเศรษฐกิจที่ระบุว่าการลักลอบค้าน้ำมันทำให้รัฐบาลกัมพูชาสูญเสียรายได้ไปมากกว่า 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐในแต่ละปี

แน่นอนว่าข่าวคราวและข้อมูลดังกล่าวนี้มีเป้าหมายการโจมตีไปที่ ฮุน เซน โดยตรง เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ ฮุน เซน และคนของเขาอย่าง เขียว กัณหฤทธิ์ จะได้ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อตอบโต้กระแสที่เกิดขึ้นภายในพรรคประชาชนกัมพูชา ด้วยข่าว คราวของการเจรจาที่จะจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ร่วมกับ เจ้ารณฤทธิ์ นั่นเอง

ส่วนจะได้ผลเป็นประการใดนั้นย่อมต้องรอดูว่าผลของการประชุมใหญ่สมัชชาพรรคประชาชนกัมพูชาที่จะมีขึ้นในปลายเดือนมกราคมนี้จะออกมาเช่นไร!!!