: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ซูจี กับ 16 ปีแห่งความหลัง(Makong Corridor / ทรงฤทธิ์ โพนเงิน )

ซูจี กับ 16 ปีแห่งความหลัง(Makong Corridor / ทรงฤทธิ์ โพนเงิน )
ปีใหม่นี้ ออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านในพม่า จะมีอายุย่างเข้าปีที่ 60 ซึ่งถ้าหากเป็นคนทั่วไปก็คงเตรียมตัวเข้าสู่ระยะของการพักผ่อน แต่สำหรับสตรีเหล็กแห่งเมืองรามัญผู้นี้ ก็ยังจะต้องเผชิญกับชะตากรรมที่หนักหนาสาหัสต่อไป โดยนับตั้งแต่วันที่เธอได้ตัดสินใจกระโดดเข้าสู่การเมืองด้วยการประท้วงรัฐบาลทหารพม่าในปี 1988 เป็นต้นมา

โดยการต่อสู้ทางการเมืองมาถึงวันนี้ก็นับเป็นปีที่ 16 แล้ว แต่ก็ยังคงไม่ได้นำพาประเทศพม่าไปถึงไหนเลย เพราะเธอใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่แต่ในบ้านที่อยู่ ภายใต้การจับกุมคุมขังและควบคุมที่เข้มงวดก็ทำให้เธอแทบจะไม่มีโอกาสได้เห็นโลกภายนอกมากนัก

ครั้นเมื่อมีโอกาสได้เดินทางไปต่างเมืองในระยะสั้นๆ บ้างในช่วงก่อนหน้านี้แต่มันก็เป็นช่วงสั้นๆ จริงๆ เพราะมีอันต้องถูกจับกุมคุมขังอีกเช่นเดิม โดยรัฐบาลทหารพม่าได้ทำการกักบริเวณเธอให้อยู่แต่ในบ้านพักมาแล้ว 3 ครั้งรวมระยะเวลาได้ 16 ปีพอดี

ออง ซาน ซูจี เป็นบุคคลที่อยู่ในศูนย์กลางของการเมืองพม่ามาโดยตลอดระยะเวลา 16 ปีที่ผ่านมา แต่ข่าวคราวเกี่ยวกับเธอส่วนใหญ่แล้วเป็นข่าวเกี่ยวกับการจับกุม และการเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลทหารยอมให้เสรีภาพกับเธอ

คนทั่วไปก็อดที่จะประหลาดใจไม่ได้ว่าผู้นำฝ่ายค้าน บุตรสาวนายพลออง ซาน วีรบุรุษแห่งชาติผู้ยิ่งใหญ่ของพม่าใยต้องมาใช้ชีวิตเยี่ยงนี้ และที่น่าสงสัยอย่างยิ่งก็คือในตลอดช่วง 16 ปีมานี้ เธอกินอยู่อย่างไรอีกด้วย

ชีวิตในฐานะสามัญชนของ ออง ซาน ซูจี เต็มไปด้วยอุปสรรคที่หนักหน่วง เพราะต้องใช้ชีวิตอยู่ในบ้านหลังใหญ่ริมทะเลสาบในกรุงย่างกุ้งตามลำพัง นับแต่เธอตัดสินใจทิ้งครอบครัวที่อบอุ่นในอังกฤษมาต่อสู้ทางการเมืองในแผ่นดินเกิดจวบจน ไมเคิล แอริส สามีชาวอังกฤษของเธอได้เสียชีวิตลง เธอเองก็ยังไม่มีโอกาสแม้แต่จะไปร่วมงานศพเพื่อบอกลาเป็นครั้งสุดท้ายอีกด้วย

เนื่องเพราะเธอเกรงว่าหากเดินทางออกนอกประเทศแล้วจะไม่มีโอกาสได้กลับเข้าไปอีก ความเจ็บปวดของมนุษย์คนหนึ่งจะมีอะไรมากกว่านี้อีก แม้ในวันที่คนรักลาลับจากโลกนี้แล้วยังไม่มีโอกาสได้กล่าวคำอำลาต่อหน้าศพ

ออง ซาน ซูจี ยังมีบุตรชาย 2 คนที่อังกฤษ คือ อเล็กซานเดอร์ และ คิม แต่ไม่สู้จะมีโอกาสได้พบกันนัก โดยก่อนที่เธอจะถูกจับขังอยู่ในบ้านครั้งล่าสุดนี้ บุตรชายของเธอได้มีโอกาสเดินทางเข้าไปเยี่ยมครั้งหนึ่ง แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีข่าวปรากฏเลยว่าได้มีการพบกันระหว่างแม่กับลูกอีก

ออง ซาน ซูจี ใช้ชีวิตอยู่ในบ้านริมทะเลสาบกับเยาวชนพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ทั้งหญิงและชายที่มีศรัทธาในตัวเธอ จึงได้ขันอาสามาช่วยงานพรรคฯ และทำหน้าที่เป็นผู้อารักขาความปลอดภัยให้เธอไปด้วย

ออง ซาน ซูจี เคยเปรยกับบรรดาแขกต่างประเทศที่ไปเยี่ยมเธอว่า ถ้าหากเห็นแก่อนาคตของประเทศพม่าจริงๆ แล้วละก็ โปรดได้ช่วยหาทุนการศึกษาให้เด็กๆ ที่อยู่รอบข้างรอบกายเธอได้มีโอกาสไปหาความรู้ใส่ตัวบ้าง

โดยอย่างน้อย ก็หาหนังสือให้พวกเขาได้อ่านบ้างก็ยังดี หากไม่เช่นนั้นแล้วแม้ว่าพรรค NLD จะได้บริหารบ้านเมืองขึ้นมาจริงๆ เยาวชนของพรรค NLD เหล่านี้ก็ไม่รู้ว่าจะเอาความรู้อะไรไปทำงานให้บ้านเมืองได้นั่นเอง

ก่อนหน้านี้ เยาวชนที่ทำหน้าที่ให้การอารักขาออง ซาน ซูจี มีทั้งหมด 13 คน แต่ล่าสุดก็ถูกรัฐบาลทหารพม่าสั่งให้กลับบ้านไป และให้เหลือไว้เพียง 6 คน สำหรับคอยให้การช่วยเหลือเล็กๆน้อยๆ แก่ออง ซาน ซูจี เท่านั้น

เพราะรัฐบาลทหารพม่าเห็นว่าถ้าให้เยาวชนพวกนี้มาอยู่กับออง ซาน ซูจี นานๆ เข้าก็จะกลายเป็นการซ่องสุมทางการเมืองไปโดยปริยาย แต่ในสุดที่ท้ายออง ซาน ซูจี ก็ได้ประท้วงคำสั่งดังกล่าวนี้ด้วยการบอกให้ทุกคนกลับบ้านไปทั้งหมด

บ้านริมทะเลสาบในกรุงย่างกุ้งของออง ซาน ซูจี เป็นบ้านไม้หลังใหญ่ สไตล์ผสมระหว่างแบบอาณานิคมกับแบบพื้นเมืองพม่า มีบริเวณบ้านกว้างขวางพอที่จะใช้เป็นที่จัดการประชุมย่อยๆ ของพรรค NLD ได้สบายๆ

บ้านหลังนี้เป็นมรดกตกทอดมาแต่รุ่นพ่อ โดยทางการพม่ายกให้วีรบุรุษแห่งชาติซึ่งก็เช่นเดียวกันกับคนที่ร่วมต่อสู้กับนายพลออง ซาน ในรุ่นที่เรียกว่า 30 สหายนั้น ต่างก็ได้รับบ้านแบบนี้ด้วยกันทุกคน

แต่มรดกนายพลออง ซาน หลังนี้ก็มีปัญหาอยู่ไม่น้อย เพราะออง ซาน อู ผู้ซึ่งเป็นพี่ชายของ ออง ซาน ซูจี ได้ฟ้องแย่งกรรมสิทธิ์ในบ้านที่มีราคาประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยศาลชั้นต้นพิพากษาให้เขาแพ้คดีเมื่อปี 2001 เพราะเขาอาศัยอยู่ในสหรัฐ จึงไม่มีสิทธิที่จะถือครองอสังหาริมทรัพย์ในพม่านั่นเอง

โดยในทุกวันนี้ คดีความก็ยังคงอยู่ในชั้นศาลอุทธรณ์ และแม้ว่าจะยังคงไม่ทราบชัดว่าศาลจะมีความเห็นไปในทิศทางใดก็ตาม แต่บ้านที่พี่น้องกำลังฟ้องร้องกันอยู่นี้ ควรที่จะเรียกว่า 'คุก' เสียมากกว่า

เพราะนอกจากจะเป็นที่ ออง ซาน ซูจี ต้องถูกกักบริเวณแล้ว เธอยังไม่มีเงินทองที่จะทำนุบำรุงและตกแต่งให้สวยงามสมกับที่เป็นบ้านของวีรบุรุษแห่งชาติอีกด้วย ตรงกันข้าม บ้านหลังนี้กลับดูทรุดโทรมลงทุกวัน ส่วนโทรศัพท์ก็ถูกตัดมานานแล้ว ซึ่งไม่ใช่เพราะว่าไม่ได้ชำระค่าใช้โทรศัพท์ หากแต่เป็นเพราะเธอถูกห้ามติดต่อกับโลกภายนอก

ในทุกวันนี้ ออง ซาน ซูจี สามารถดำรงชีพอยู่ได้ด้วยเบี้ยเลี้ยงที่รัฐบาลทหารพม่าเจียดให้เธอในฐานะเดียวกันกับนักโทษ ส่วนนอกนั้นก็มาจากความช่วยเหลือในฐานะที่เธอเป็นผู้ชนะรางวัลต่างๆ ในระดับสากล อันรวมถึงรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพปี 1991 และอีกส่วนหนึ่งก็มาจากกองทุนสวัสดิการสังคมที่สามีผู้ล่วงลับได้ทิ้งไว้ให้

ออง ซาน ซูจี ตามที่เราเห็นกันในรูปถ่ายนั้นดูยังสาวและสวยมาก ถึงขนาดที่พวกคุณหญิงคุณนายในบางกอกเห็นแล้วต้องอิจฉาในความงามที่แลดูอ่อนเยาว์ของเธอ แต่นั่นก็เป็นภาพถ่ายเมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้วและความจริงในทุกวันนี้ก็คือ ออง ซาน ซูจี ได้อยู่ในวัยเกษียณแล้วนั่นเอง

แน่นอนว่าโรคภัยไข้เจ็บก็ถามหาเป็นเรื่องธรรมดาของสังขารมนุษย์ โดยเธอเพิ่งจะเข้ารับการผ่านตัดเพื่อรักษาโรคภายในของสตรีเมื่อปี 2003 ระหว่างที่ถูกจับกุมคุมขังไว้ในสถานที่ซึ่งไม่ปรากฏหลังจากเกิดเหตุจลาจลในปลายเดือนพฤษภาคม

การผ่านตัดประสบความสำเร็จ แต่เธอก็ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องพบแพทย์ ปกติแล้วแพทย์ประจำตัวของเธอจะต้องไปตรวจร่างกายสัปดาห์ละ 3 ครั้ง แต่เมื่อเร็วๆ นี้ทางรัฐบาลทหารพม่าได้แจ้งว่า แพทย์จะเข้าไปพบเธอสัปดาห์ละครั้ง โดยไม่ให้เหตุผลว่าทำไม

ฉะนั้น การที่รัฐบาลทหารพม่าได้กระทำเช่นนี้ จึงดูเหมือนจะต้องการกลั่นแกล้ง เนื่องเพราะลำพังความเจ็บป่วยทางกายนั้นก็ได้เริ่มปรากฏให้เห็นมากขึ้น ครั้นยังต้องมาถูกจำกัดโอกาสที่จะพบแพทย์ที่ประจำตัวเธอมานานด้วยแล้ว ยังนับเป็นการถูกตัดขาดโอกาสที่เธอมีอยู่เพียงน้อยนิดที่จะพูดคุยสนทนากับแพทย์ ผู้เป็นเสมือนเพื่อนอีกด้วย

ออง ซาน ซูจี ในวัย 60 ปีกำลังเดินทางไปสู่หนทางแห่งความโดดเดี่ยวมากขึ้นทุกขณะ การที่รัฐบาลทหารพม่าสั่งตัดจำนวนคนที่อยู่ล้อมรอบเธอออกไป ก็ดูว่าจะเป็นการขังเดี่ยวเข้าไปทุกที

ทางฝ่ายสากลนั้น ก็ดูเหมือนว่าจะมีผู้คนเหลืออยู่ไม่มากนักที่เรียกร้องอิสรภาพให้เธอ ส่วนประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะรัฐบาลกรุงเทพ (ที่แล้งน้ำใจ) นั้น ก็กำลังมีทีท่าว่าจะไม่สนใจในชะตากรรมของเธออีกต่อไป เพราะสิ่งที่ ทักษิณ ชินวัตร ถึงกับยอมรับในท่าทีที่ว่ารัฐบาลพม่ามีความจำเป็นที่จะต้องกักขังเธอต่อไปนั้น ย่อมเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นท่าทีดังกล่าวของรัฐบาลไทยได้อย่างชัดเจน

การที่ประเทศเพื่อนมิตรของพม่าไม่ไยดีกับประชาธิปไตยในพม่านั้นก็คงจะไม่มี ความสำคัญอะไร เพราะอาจจะมองว่าเป็นเรื่องนามธรรมเกินไป แต่นายกฯ ทักษิณ ซึ่งก็อยู่ในวัยใกล้ๆ กับ ออง ซาน ซูจี นั้น น่าจะลองจินตนาการดูบ้างว่าหากวันหนึ่งตัวเองต้องพลัดพรากจากครอบครัวและถูกตัดขาดจากเพื่อนที่เข้าอกเข้าใจเช่นนี้ จะเป็นอย่างไร

แต่นี่กลับไม่มีใครแม้แต่คนเดียวในทั้ง 9 ผู้นำรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันกับพม่า ที่จะเรียกร้องในฐานะความเป็นมนุษย์ให้กับเธอบ้างเลย!!!