: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กฎหมายปราบคอร์รัปชัน ฉบับแรกของพรรคฯ ลาว(Makong Corridor / ทรงฤทธิ์ โพนเงิน )

กฎหมายปราบคอร์รัปชัน ฉบับแรกของพรรคฯ ลาว(Makong Corridor / ทรงฤทธิ์ โพนเงิน )
สภาแห่งชาติลาว ได้ลงมติรับรองกฎหมายว่าด้วยการต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างเป็นทางการในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2005 ที่ผ่านมานี้ โดยไม่เพียงจะถือเป็นกฎหมายปราบคอร์รัปชันฉบับแรกของลาวในรอบเกือบ 30 ปี ภายใต้การครองอำนาจสูงสุดทางการเมืองในลาว โดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเท่านั้น

หากแต่สำหรับในสายตาของบรรดากลุ่มผู้นำภายในพรรคฯ ลาวแล้ว ยังได้มองไปถึงการสร้างความมั่นใจของนานาชาติให้มีต่อการบริหารงานภายในของรัฐบาลลาวด้วย ทั้งนี้ ก็เพื่อที่ว่านานาชาติจะได้ให้การช่วยเหลือทางด้านงบประมาณแก่รัฐบาลลาวต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง หรือจนกว่ารัฐบาลลาวจะพึ่งพาตนเองในด้านงบประมาณได้นั่นเอง

โดยสาเหตุที่กล่าวเช่นนี้ก็เป็นเพราะว่านานาชาติที่ได้ให้ความช่วยเหลือทางด้านงบประมาณแก่รัฐบาลลาวมาในตลอดช่วงเกือบ 30 ปีนี้ ต่างก็มีความสงสัยอย่างมากต่อระบบและประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณที่พวกตนได้ให้ความช่วยเหลือแก่ลาว เนื่องจากสิ่งที่ปรากฏขึ้นในโครงการพัฒนาต่างๆ ที่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลลาวไปนั้น ก็คือส่วนใหญ่แล้วจะไม่เป็นไปตามแผนการและเป้าหมายที่วางไว้ตั้งแต่ต้นเลย

ดังกรณีตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดที่ได้เกิดขึ้นในระยะ 10 ปีมานี้ก็คือโครงการพัฒนาเส้นทางสายหลักในเขตนครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งนานาชาติได้เริ่มให้ความช่วยเหลือทางด้านงบประมาณแก่ลาว เมื่อปี 1995 ในโอกาสครบรอบ 20 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครองในลาว โดยได้วางเป้าหมายที่จะดำเนินโครงการฯ ให้เสร็จในปี 2000

หากแต่จากการปฏิบัติในภาคตัวจริงนั้นกลับปรากฏว่าการดำเนินงานได้เกิดการชักช้าเรื่อยมา และเพิ่งจะแล้วเสร็จ (อย่างไม่เรียบร้อย) ในช่วงปลายปี 2004 ที่ผ่านมานี้ ทั้งยังปรากฏด้วยว่างบประมาณที่ได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศนั้นได้มีการใช้จ่ายไปจนหมดแล้ว แต่โครงการฯ ก็ยังไม่แล้วเสร็จจนต้องพึ่งพาความช่วยเหลือและกู้ยืมจากทางการจีนอีกต่างหาก

ครั้นเมื่อนานาชาติได้ดำเนินการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณในโครงการฯ ก็พบว่า ได้มีการว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างถึง 3 ช่วงเป็นอย่างน้อย อันนับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการรั่วไหลของงบประมาณฯ ซึ่งเกิดจากการหัก Commission กันเป็นทอดๆ

ภายใต้สภาพการณ์ดังกล่าวนี้ ได้เป็นผลทำให้นานาชาติต้องกำหนดเงื่อนไขเพื่อประกอบการพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่รัฐบาลลาวมากขึ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการประชุมโต๊ะกลมครั้งที่ 7 (7th Round Table Meeting) ระหว่างรัฐบาลลาวกับนานาชาติในช่วงปลายปี 2000 ที่นครเวียงจันทน์นั้น โดยถึงแม้ว่าหลังจากการประชุมฯ ครั้งนี้ นานาชาติจะตกลงให้ความช่วยเหลือแก่ลาวในมูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 440 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีในช่วงปี 2001-2003 ก็ตาม

แต่จะต้องไม่ลืมว่าเงื่อนไขที่อำนาจในลาวจะต้องปฏิบัติเพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่จะได้รับความช่วยเหลือดังกล่าวนี้ ก็คือการปฏิรูประบบการบริหารงานทั้งทางเศรษฐกิจและทางการเมือง เช่นการกระจายอำนาจในการตัดสินใจจากส่วนกลางไปสู่ส่วนท้องถิ่นมากขึ้นด้วยการจัดตั้งเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ เป็นต้น

ครั้นเมื่อพรรคฯ และรัฐบาลลาว ไม่สามารถที่จะตอบสนองเงื่อนไขดังกล่าวได้นั้น ผลที่เกิดขึ้นติดตามมา ก็คือ นานาชาติไม่ได้ให้คำมั่นสัญญาและตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ลาวเลยในการประชุมโต๊ะกลมครั้งที่ 8 ในช่วงปลายปี 2003 หากแต่การให้การช่วยเหลือแก่รัฐบาลลาวนั้น จะพิจารณาเป็นรายโครงการแบบปีต่อปี

การประชุมโต๊ะกลมระหว่างรัฐบาลลาวกับนานาชาติที่ให้ความช่วยเหลือแก่ลาวดังกล่าวนี้ จะมีขึ้นทุกสามปี โดยครั้งต่อไปซึ่งนับเป็นครั้งที่ 9 นั้นจะมีขึ้นในปลายปี 2006

ด้วยเหตุนี้การที่สภาแห่งชาติลาวได้มีมติรับรองเอากฎหมายว่าด้วยการต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงในครั้งนี้จึงทำให้มองได้ว่าเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อรับการประชุมโต๊ะกลมฯ ที่จะมีขึ้นดังกล่าว โดยหวังว่านานาชาติจะมีความเชื่อมั่นต่อความพยายามในการปฏิรูประบบการบริหารงานภายในของรัฐบาลลาวเพื่อที่ว่าจะทำให้ได้รับความช่วยเหลือจากนานาชาติมากขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งนั่นเอง

ทั้งนี้ ก็เนื่องจากว่าการที่นานาชาติได้หันมาใช้หลักการพิจารณาให้การช่วยเหลือแก่รัฐบาลลาวเป็นรายโครงการแบบปีต่อปีนับตั้งแต่ปลายปี 2003 เป็นต้นมาจนถึงขณะนี้นั้น ไม่เพียงจะทำให้การดำเนินโครงการพัฒนาต่างๆ ต้องขาดความต่อเนื่องเท่านั้น หากแต่ยังทำให้รัฐบาลลาวต้องเผชิญกับสภาวะขาดแคลนงบประมาณอย่างหนักอีกด้วย

ดังจะเห็นได้จากในช่วงเดือนตุลาคม 2004 ถึงเดือนพฤษภาคม 2005 หรือช่วง 7 เดือนของแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมประจำปี 2004-2005 ที่ผ่านมานี้ ทางการรัฐบาลลาวสามารถสร้างรายรับเพื่อสมทบเข้าเป็นงบประมาณรายจ่ายสำหรับโครงการลงทุนเพื่อการพัฒนาในภาครัฐบาลได้เพียง 68.7 พันล้านกีบเท่านั้น

ในขณะที่ตามแผนการฯ ตลอดปีนั้น รัฐบาลลาวได้วางเป้าหมายที่จะสร้างรายรับ เพื่อสมทบเข้างบประมาณสำหรับโครงการลงทุนเพื่อการพัฒนาในภาครัฐบาล ให้ได้คิดเป็นมูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 543 พันล้านกีบของมูลค่างบประมาณสำหรับการนี้ ซึ่งตั้งไว้ทั้งหมดถึง 2,770 พันล้านกีบ

หากแต่การที่รัฐบาลลาวสามารถสมทบเข้างบประมาณฯ ดังกล่าว ได้อย่างจำกัด ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา เมื่อประกอบกับการที่ได้รับความช่วยเหลือในด้านงบประมาณจากนานาชาติสำหรับใช้จ่ายในโครงการลงทุนเพื่อการพัฒนาในภาครัฐ ในช่วงเดียวกันนี้ คิดเป็นมูลค่ารวมเพียง 435 พันล้านกีบเท่านั้นด้วยแล้ว

ยิ่งทำให้รัฐบาลลาวต้องดิ้นรนอย่างมากในอันที่จะทำให้ได้มาซึ่งความช่วยเหลือจากต่างประเทศอย่างเพียงพอตามความต้องการที่ได้ตั้งความหวังไว้ว่าจะต้องได้รับการช่วยเหลือจากนานาชาติในมูลค่าไม่น้อยกว่า 2,227 พันล้านกีบ หรือประมาณ 210 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับใช้จ่ายในโครงการพัฒนาภาครัฐดังกล่าว

ซึ่งการที่จะทำให้นานาชาติมีความเชื่อมั่นต่อระบบการบริหารและการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลลาวในระยะต่อไปนี้ จึงมีเพียงการแสดงให้นานาชาติเห็นว่ารัฐบาลของพวกตนนั้นจะปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันอย่างจริงจังเท่านั้น

โดยกฎหมายว่าด้วยการต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงฉบับแรกของลาวดังกล่าวนี้ ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าพนักงานของรัฐบาลลาวทุกคนทั้งในส่วนกลางและในระดับท้องถิ่น อันรวมถึงบุคคลในครอบครัวของพนักงานด้วยนั้นจะต้องแสดงบัญชีรายรับและรายจ่าย ตลอดจนทรัพย์สินและผลประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินเดือนต่อคณะกรรมการต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงแห่งชาติอย่างไม่มีข้อยกเว้น

ซึ่งถ้าหากพิจารณาจากการกำหนดดังกล่าวก็น่าจะถือเป็นมาตรการที่นานาชาติสามารถที่จะยอมรับได้เนื่องเพราะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่นานาชาติใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบถึงความร่ำรวยอย่างผิดปกติของนักการเมืองและข้าราชการนั่นเอง

แต่ปัญหาสำหรับในกรณีของลาวนั้นมีอยู่ว่า ลาวเป็นประเทศที่ผูกขาดอำนาจในทางการเมือง โดยพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเพียงพรรคเดียว เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะต้องจับตามองต่อไปก็คือที่มาของคณะบุคคลที่จะมารับหน้าที่ในคณะกรรมการต้านการทุจริตคอร์รัปชันแห่งชาติของลาวนั้นจะเป็นอย่างไร

ยิ่งไปกว่านั้นก็คือคณะบุคคลฯ ดังกล่าวนี้จะมีความกล้าหาญชาญชัยที่จะทำการตรวจสอบทรัพย์สินของบรรดาผู้มีอำนาจภายในพรรคประชาชนปฏิวัติลาวหรือไม่!!!