: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ก้าวย่างที่ 8 ของพรรคประชาชนปฏิวัติลาว(Makong Corridor / ทรงฤทธิ์ โพนเงิน )

ก้าวย่างที่ 8 ของพรรคประชาชนปฏิวัติลาว(Makong Corridor / ทรงฤทธิ์ โพนเงิน )
การประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 8 ของสภาแห่งชาติลาวชุดที่ 5 ที่เพิ่งจะสิ้นสุดลงไปเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2005 ที่ผ่านมานั้น ได้มีมติรับรองแผนการเลื่อนกำหนดการจัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่เร็วกว่ากำหนดเดิมถึง 1 ปี โดยได้ให้เหตุผลเพียงว่าเพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพการณ์ทั้งภายในและภายนอก ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วก็ตาม
แต่ถ้าหากพิจารณาจากเงื่อนไขภายในของลาวเองแล้วก็จะทำให้เข้าใจได้ว่าการที่สภาแห่งชาติลาวได้มีมติรับรองแผนการเลื่อนกำหนดการจัดการเลือกตั้งทั่วไปเร็วกว่ากำหนดการเดิมถึง 1 ปีหรือเลื่อนจากกลางปี 2007 มาเป็นภายในกลางปี 2006 นั้น ย่อมมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเลือกดำเนินการในแนวทางดังกล่าวนี้

กล่าวสำหรับเงื่อนไขภายในประการแรกก็คือ สภาแห่งชาติลาวชุดปัจจุบันซึ่งผ่านการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2002 เป็นต้นมานั้น มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 109 ที่นั่ง หากแต่ในช่วง 4 ปีมานี้ จำนวนสมาชิกได้ลดน้อยถอยลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเพราะสมาชิกจำนวนไม่น้อยที่ต้องเจ็บป่วยและเสียชีวิตไปด้วยความชราภาพ อันเป็นสาเหตุทำให้การประชุมครั้งล่าสุดที่ผ่านมานี้ยังคงมีสมาชิกเพียง 89 คนเท่านั้น เข้าร่วมในการประชุมฯ

ส่วนเงื่อนไขประการต่อมา ก็คือ วาระของการอยู่ในตำแหน่งของสมาชิกสภาแห่งชาติลาวชุดที่ 5 จะไปสิ้นสุดลงในปี 2007 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เหลื่อมกับการประชุมใหญ่สมัชชา (Party Congress) ครั้งที่ 8 ของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวที่จะมีขึ้นภายในช่วงต้นปี 2006 นี้ อยู่ถึง 1 ปี

ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับการปฏิบัติแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปี ฉบับที่ 6 ที่จะเริ่มปฏิบัตินับจากปี 2006 เป็นต้นไปจนถึงปี 2010 นั้น ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรองรับมติจากที่ประชุมใหญ่สมัชชาพรรคฯ ครั้งที่ 8 และจะต้องต่อเนื่องด้วยการลงมติรับรองแผนการฯ จากสมาชิกสภาแห่งชาติชุดใหม่อย่างเป็นกระบวนการที่สอดรับกันตามแบบนิยมของประเทศที่มีพรรคเดียวกุมอำนาจทางการเมือง ฉะนั้น จึงทำให้ทางการลาวต้องตัดสินใจเลื่อนกำหนดจัดการเลือกตั้งทั่วไปให้เร็วขึ้นดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขภายในของลาวที่กล่าวมาข้างต้นน่าจะถือเป็นเพียงเหตุผลทางเทคนิคเท่านั้น เนื่องเพราะสิ่งที่น่าจะเป็นสาเหตุที่สำคัญมากกว่าที่ทำให้ทางการลาวต้องตัดสินใจเลื่อนการจัดการเลือกตั้งทั่วไปเร็วขึ้นนี้ น่าจะเนื่องมาจากเงื่อนไขที่เกี่ยวกับโครงสร้างของบุคลากรภายในพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นด้านหลัก

โดยจะเห็นได้อย่างชัดเจนจากการโยกย้ายตำแหน่งรัฐมนตรี-เจ้าแขวง และผู้นำองค์กรสำคัญของพรรคฯ หลายสิบตำแหน่งในช่วง 6 เดือนมานี้ ซึ่งถ้าหากจะว่าไปแล้วก็คือการโยกย้ายตำแหน่งทางการเมืองที่แสดงให้เห็นภาพบางส่วนที่จะเกิดขึ้นหลังจากที่การประชุมใหญ่สมัชชาพรรคฯ ครั้งที่ 8 ในต้นปีหน้าได้สิ้นสุดลงนั่นเอง

กล่าวก็คือ โดยปกติแล้ว ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีและเจ้าแขวงนั้น จะต้องมีรายชื่ออยู่ในคณะกรรมการบริหารงานศูนย์กลางพรรคฯ (Central Committee) หากแต่การแต่งตั้ง-โยกย้ายตำแหน่งทางการเมืองของลาวในช่วง 6 เดือนมานี้ ก็ปรากฏว่ามีผู้ที่เข้ารับตำแหน่งใหม่หลายๆ คนที่ยังไม่ได้อยู่ใน Central Committee ของพรรคฯ เลย

ฉะนั้น การที่พวกเขาเหล่านี้ได้รับตำแหน่งที่สำคัญในทางการเมือง เช่นในกรณีที่ วิไลวัน พมเข ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าแขวงสะหวันนะเขตแทนที่ พล.ต.สีเหลือ บุนค้ำ ซึ่งถูกโยกกลับมาคุมคณะกรรมการโฆษณาอบรมศูนย์กลางพรรคฯ

กรณีที่ ศ.ดร.บ่อแสงคำ วงดาลา ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่แทน พิมมะสอน เลืองคำมา ที่ถูกย้ายกลับไปที่ถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอนในบั้นปลายของชีวิตในฐานะเจ้าแขวงหลวงน้ำทา หลังจากที่อยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มาอย่างยาวนานกว่า 1 ทศวรรษ

ตลอดจนการแต่งตั้งให้ พูเพ็ด คำพูนวง ก้าวจากตำแหน่งรองผู้ว่าการฯ ขึ้นเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติอย่างเต็มตัวแทนที่ผู้ว่าการฯ คนเก่าอย่าง พูมี ทิบพะวอน ซึ่งถือเป็นบุคลากรที่เติบโตมากับสายการจัดตั้งโดยตรงของพรรคฯ นั้น ต่างก็ล้วนแล้วแต่เป็นความเคลื่อนไหวที่น่าจะแสดงให้เห็นถึงการปรับตัวของศูนย์กลางพรรคฯ ที่จะมีขึ้นภายหลังจากการประชุมใหญ่สมัชชาพรรคฯ ครั้งที่ 8 สิ้นสุดลงได้อย่างชัดเจน

นั่นก็คือนักปฏิวัติรุ่นแรกของพรรคฯ ที่ยังมีชีวิตอยู่ในทุกวันนี้จะยังคงควบคุมการนำภายในพรรคฯ และในประเทศชาติต่อไป แต่ในขณะเดียวกันก็จะเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ของพรรคฯ ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้ามามีบทบาทหลังจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปลายปี 1975 แล้วนั้น ได้เข้ามามีบทบาทในสายงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจทางการเมืองและความมั่นคงของพรรคฯ มากขึ้น

โดยกรณีที่น่าจะสะท้อนให้เห็นถึงการที่นักปฏิวัติรุ่นแรกของพรรคฯ จะยังคงอยู่ในตำแหน่งที่ควบคุมการนำสูงสุดภายในพรรคฯ ซึ่งก็คืออำนาจการนำสูงสุดในประเทศลาวต่อไปอีกนั้นก็คือการที่ พล.อ.คำไต สีพันดอน ประธานพรรคประชาชนปฏิวัติลาวในฐานะประธานประเทศลาวได้มอบและประดับเหรียญคำ (ซึ่งถือเป็นเหรียญตราสูงสุดในชาติ) ให้กับ พล.อ.สีสะหวาด แก้วบุนพัน ประธานศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ และพล.ท.สะหมาน วิยะเกด ประธานสภาแห่งชาติลาว เนื่องในโอกาสวันชาติครบรอบ 30 ปี ในวันที่ 2 ธันวาคม 2005 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ โดยสิ่งที่บุคคลสำคัญของพรรคฯ ทั้งสองได้กล่าวเน้นย้ำในโอกาสเดียวกันนี้ก็คือ "...พวกข้าพเจ้าทั้งสองจะยังคงความมุ่งมั่นและประกอบส่วนเข้าในการปฏิบัติแนว ทางเปลี่ยนแปลงใหม่ของพรรคฯ ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง..."

ซึ่งในปัจจุบันนี้ทั้งพล.อ.สีสะหวาด และพล.ท.สะหมาน ต่างก็อยู่ในคณะบุคคลที่ถือว่ามีอำนาจทางการเมืองมากที่สุดในลาว นั่นก็คือ คณะกรรมการกรมการเมืองศูนย์ กลางพรรคฯ ที่มีสมาชิก 11 คน โดยในจำนวนนี้เสียชีวิตไปแล้ว 1 คน คือ พล.ท.โอสะกัน ทำมะเทวา และยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ใดขึ้นมาแทนจนเท่าทุกวันนี้

เพราะฉะนั้นการประชุมใหญ่สมัชชาพรรคฯ ครั้งที่ 8 ซึ่งจะมีขึ้นในต้นปี 2006 นั้นก็มีกรณีเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคลากรที่จะมานั่งอยู่ในคณะกรรมการกรมการเมืองศูนย์ กลางพรรคฯ หรือ Politburo นี้ เป็นอีกกรณีหนึ่งที่น่าจับตาดูต่อไปเป็นอย่างยิ่ง

ทั้งนี้ โดยมีแนวโน้มสูงมากที่จะมีการเปิดโอกาสให้บุคลากรรุ่นใหม่ของพรรคฯ ได้เข้ามามีส่วนมากขึ้น เนื่องเพราะในทุกวันนี้ยังคงเหลือนักปฏิวัติรุ่นแรกของพรรคฯ เพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ และยังคงสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ในคณะนำของพรรคฯ ที่มีอำนาจสูงสุดในประเทศดังกล่าวนี้ได้อย่างเป็นปกติ

นอกจากนี้ ก็ยังมีเงื่อนไขที่สำคัญอย่างยิ่งอีกประการหนึ่งที่จะส่งผลต่อก้าวย่างที่จะเกิดขึ้นหลังจากการประชุมใหญ่สมัชชาพรรคฯ ครั้งที่ 8 ซึ่งไม่อาจที่จะก้าวล่วงไปได้ ซึ่งก็คือความเคลื่อนไหวและการตัดสินใจของพล.อ.คำไต ผู้ซึ่งมีอำนาจสูงสุดในลาวนั้น ว่าจะปล่อยวางตำแหน่งใดหรือไม่ระหว่างการเป็นประธานพรรคฯ และประธานประเทศ

หากแต่โดยสิ่งที่พรรคประชาชนปฏิวัติลาวได้ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติตามการริเริ่มของ ไกสอน พมวิหาน (อดีตผู้นำสูงสุดของลาวผู้ล่วงลับ) นับตั้งแต่ปี 1991 หรือหลังจากการประชุมใหญ่สมัชชาพรรคฯ ครั้งที่ 5 ได้สิ้นสุดลงนั้น ก็คือผู้เป็นประธานพรรคฯ จะควบตำแหน่งประธานประเทศด้วย

แต่ถึงกระนั้น แม้ว่านักปฏิวัติรุ่นแรกของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวจะพยายามที่จะควบคุมอำนาจการนำภายในพรรคฯ และประเทศชาติต่อไปให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ก็ตาม แต่ก็มีอยู่สิ่งหนึ่งนักปฏิวัติรุ่นแรกของพรรคฯ ไม่อาจที่จะปฏิเสธได้ นั่นก็คือ การที่จะต้องสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ของพรรคฯ ที่มีความเข้าใจ และมีความรู้ที่เท่าทันกับโลกในยุคไร้พรมแดนให้มากขึ้น

โดยทั้งนี้และทั้งนั้น ก็มีเป้าหมายที่จะทำให้พรรคประชาชนปฏิวัติลาวสามารถที่จะกุมอำนาจทางการเมืองในลาวเพียงพรรคฯ เดียวให้ได้อย่างมั่นคง และตราบนานเท่านานนั่นเอง!!!