การใช้ตัวพิมพ์เอน (Italicization)
1) การใช้ตัวพิมพ์เอนจะทำให้คำหรือกลุ่มคำเด่นขึ้นมาจากประโยคหรือบริบทนั้น
โดยเฉพาะการใช้กับรูปแบบดังต่อไปนี้
1.1) ใช้สำหรับชื่อหนังสือและบทละคร, ชื่อการแสดงดนตรีและงานศิลปสำคัญๆ,
ชื่อโคลงแบบยาวและวารสาร รวมถึงชื่อเรือ รถไฟ หรือเครื่องบินที่เป็นส่วนบุคคล
เช่น Jane Eyre, Richard III, The Magic Flute, Michelangelo's David, Paradise Lost,
the Daily Telegraph, the Marie Celeste, HMS Dreadnought.
หมายเหตุ: คำนำหน้า The หรือ A ซึ่งอาจจะเป็นส่วนหนึ่งหรือไม่ก็ได้ในการเขียนชื่อเต็ม
เช่น the Oxford Times, The Times, The Economist, the Messiah by Handel,
A London Symphony หากชื่อเต็มเหล่านั้นไม่ได้ถูกนำมาอ้างอิง The หรือ A
ก็สามารถละไว้ได้ ถ้าชื่อเหล่านั้นเป็นที่รู้จักกันดีหรือถูกใช้ในการอ้างอิงไว้แล้ว
เช่น Darwin's Origin of Species เช่นเดียวกันกับ การผันคำตามบุรุษและพจน์
ต้องถูกพิมพ์ออกมาในรูปแบบของโรมัน : the Marie Celeste's crew, a pile of-
New Yorkers
1.2)สำหรับคำหรือกลุ่มคำในภาษาต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่รับรู้และใช้กันโดยทั่วไป
หากเมื่อคำภาษาต่างประเทศถูกเปลี่ยนไปใช้ในรูปแบบของภาษาอีกประเทศหนึ่ง
ก็จะถูกพิมพ์ออกมาในรูปแบบของโรมัน, คำสำคัญที่นำหน้าข้อความในพจนานุกรม
จะใช้ตัวพิมพ์เอนหรือ แบบโรมันขึ้นอยู่กับความนิยมใช้อย่างสม่ำเสมอในภาษาอังกฤษ
คำบางคำซึ่งปรกติจะถูกพิมพ์ออกมาในรูปแบบโรมันบางครั้งจะใช้ตัวพิมพ์เอนเพื่อ
ความสม่ำเสมอเมื่อคำอื่นที่เกี่ยวข้องถูกนำมาใช้
1.3)สำหรับแยกแยะคำหรือกลุ่มคำจากบริบทรอบ ๆ โดยเฉพาะเพื่อการเน้นหรือเพื่อ
อ้างถึงศัพท์เฉพาะที่กล่าวไว้ในครั้งแรก อักษรตัวเอียงอาจใช้เพื่อแยกแยะการแนะนำ
เข้าสู่บทละคร, ในพจนานุกรมคำศัพท์, แยะแยะเครื่องหมายสำหรับการบอกชนิดของ
คำศัพท์, ป้ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการลงทะเบียนหรือข้อจำกัดในการใช้ รวมถึงตัวอย่าง
ประโยค.
2) ตัวพิมพ์เอนจะไม่ใช้ในส่วนดังต่อไปนี้
2.1)ชื่อของบทหรือตอนในหนังสือ, ชื่อของบทความในวารสาร, ชื่อของโคลงแบบสั้น,
ชื่อรายการโทรทัศน์และวิทยุ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงชื่อที่ระบุอยู่ในเครื่องหมายคำพูด
เช่น an article on 'Oral Tradition' in the Journal of Theology, an episode of-
'Neighbours', 'Sonnet VI' in Selected Poems.
2.2)ชื่อของข้อความความที่เกี่ยวกับสิ่งศักสิทธ์หรือศาสนารวมถึงหัวข้อย่อย
จะไม่ใช้เครื่องหมายคำพูด
เช่น the Koran, Genesis, Epistle to the Romans.
2.3) ชื่อผลงานทางดนตรีที่มีการแยกประเภทหรือรายละเอียดไว้
เช่น Beethoven's Fifth Symphony.
2.4)ชื่อของอาคารหรือแบบของยานยนต์
เช่น the Red Lion, the Colosseum,
a Ford Cortina
2.5)คำย่อแบบสั้นและหน่วยต่างๆในมาตรวัด
เช่น ad hoc, cf., e.g., ibid., i.e.,km, op., pro tem, q.v.
การอ้างอิงถึงชื่อบุคคล (References to People)
1) ตามปรกติชื่อของบุคคลจะถูกพิมพ์ในรูปแบบหรือนามที่บุคคลนั้นเป็นที่รู้จักกันดี
เช่น Arthur C. Clarke (not 'A. C. Clarke'), T. S. Eliot (not 'Thomas S. Eliot'),
R. Vaughan Williams(not 'R. V. Williams') ชื่อต้นจะไม่ใช้รูปแบบตัวย่อ
George not Geo., William not Wm) เว้นแต่ในกรณีที่เป็นการพิมพ์ซ้ำลายเซ็นต์,
การเขียนด้วยลายมือ หรือในรูปแบบทางธุรกิจ
2) คำขึ้นต้นบุคคลจะใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ซึ่งมักจะใช้ตัวย่อเพื่อความสะดวกในการใช้ เช่น
2.1) 'Mr' จะใช้สำหรับเพศชาย, 'Master' เป็นคำสมัยเก่าที่ใช้เรียกเด็กผู้ชาย
2.2) 'Mrs' ใช้นำหน้าผู้หญิงที่แต่งงานแล้วและใช้นามสกุลของสามี
2.3) 'Miss' และ 'Ms' ใช่กับผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน และกับผู้หญิงที่แต่งงานแล้วแต่ยังใช้
นามสกุลเดิมอยู่
2.4) 'Dr' มักใช้กับบุคคลที่จบการศึกษาในระดับด๊อกเตอร์จากมหาวิทยาลัยและกับแพทย์ที่
ไม่ใช้ศัลยแพทย์ ซึ่งจะไม่รวมอยู่ในคำขึ้นต้นข้างบนที่ได้กล่าวไว้แล้วกับการเขียนจดหมาย
ที่ระบุถึงตำแหน่งด๊อกเตอร์ (D.Phil.)
2.5) ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วและมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงจะใช้นามสกุลเดิมของตนเองเป็นหลัก
2.6) 'Esq.' ที่วางอยู่หลังนามสกุลจะใช้กับมืออาชีพแทนการใช้ 'Mr" ได้ (ปัจจุบันไม่จำกัดการ
ใช้แค่ผู้ที่เป็นมืออาชีพหรือผู้ถือครองปริญญาบัตร)
2.7) 'Reverend' ใช้นำหน้าบุคคลที่เป็นผู้นำทางศาสนา และจะไม่ใช้กับนามสกุลเดี่ยวๆ เช่น
the Rev. J. Brown หรือ the Rev. Mr Brown (หากชื่อหรือคำขึ้นต้นไม่เป็นที่รู้จัก)
แต่จะไม่ใช้ 'the Reverend Brown' บางครั้งอาจใช้คำย่อ 'Revd' แทนได้
3) ตามประเพณี ผู้หญิงอาจใช้ชื่อของสามีในงานแต่งงาน โดยใช้ 'Mr'กับ 'Mrs' ตามด้วยชื่อ
สกุลของสามี 'Mr and Mrs John Smith' ภรรยาสามารถใช้ 'Mrs John Smith' ได้อย่างถูกต้อง
แต่จะใช้ชื่อของตัวเอง 'Mrs Mary Smith' เพื่อระบุหากมีการหย่าร้าง อย่างไรก็ตามการ
แยกแยะแบบนี้จะถูกใช้เฉพาะในสถานการณ์ที่เป็นทางการ ผู้หญิงที่หย่าขาดจาดสามี
แล้วจะยังคงใช้ชื่อเดิมของตนหรือชื่อที่ใช้ในการสมรส กับ Mrs, Miss, หรือ Ms ได้ และ
'Mrs Mary Smith' เป็นรูปแบบที่ยอมรับกันในฐานะผู้หญิงที่สมรสแล้ว
4) คำขึ้นต้นชื่อจะไม่ใช้ในการเขียนลายเซ็นต์ แต่สามรถวางไว้หลังวงเล็บได้ เช่น
Robin Smith (Miss), M.T. Brown (Mrs).
5) ชื่อเดิมของบุคคล หรือ ชื่อหรือคำขึ้นต้นที่ใช้เรียกแทนกันได้ จะถูกระบุหากมีความ
จำเป็นหรือเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน เช่น Michael (now Sir Michael) Tippett,
Laurence (later Lord) Olivier, Lord Home of the Hirsel (then Sir Alec Douglas-Home)
ชื่อที่ตั้งขึ้นใหม่เหล่านี้จะใช้ได้ตามจุดประสงค์ของผู้ใช้ และบางครั้งถูกตั้งขึ้นมาอย่าง
ถูกกฎหมาย อย่างไรก็ตามแม้ว่าชื่อเดิมจะถูกระบุไว้ แต่ก็ไม่ควรจะพาดพิงถึงชื่อจริง
ของบุคคลนั้น เช่น Woody Allen (born Allen Stuart Konigsberg), Mohammed-
Ali (formerly Cassius Clay)
6) นามแฝงจะถูกใช้เพื่อจุดประสงค์พิเศษ เช่น เป็นนามปากกา แม้ว่าบุคคลนั้นจะเป็น
ที่รู้จักกันดีอยู่แล้วเช่น George Eliot (นามแฝงคือ Mary Ann, ภายกลังเป็น Marian, Evans)
นามแฝงอาจปรากฏอยู่ในเครื่องหมายคำพูด เช่น 'Lewis Carroll' (Charles L. Dodgson),
ชื่อเล่นที่เขียนเพิ่มเติมขึ้นมา และมักจะเขียนอยู่ในเครื่องหมายคำพูด (Charlie 'Bird' Parker),
หรือชื่อเล่นที่เขียนแทนที่ชื่อจริง(Fats Waller) นามแฝงบางครั้งเป็นชื่อปลอมที่ตั้งใจทำ
ขึ้นมาเพื่อหลอกลวง
: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง
วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553
การใช้ตัวพิมพ์เอน (Italicization)
เขียนโดย
Thai Writer
ที่
08:38
ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปยัง Xแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest
เรื่องน่าสนใจเกี่ยวเนื่องกัน:
ป้ายกำกับ:
หลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ