: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

'Book for Gift' 'ขายตรง' ต่อลมหายใจ

รายงานพิเศษ / ภาวินี อินเทพ

'Book for Gift' 'ขายตรง' ต่อลมหายใจ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ 'การตลาด' เป็นเรื่องสำคัญไปเรียบร้อยแล้วสำหรับ 'ธุรกิจหนังสือ' โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคน้ำมันแพงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นสำนักพิมพ์, สายส่ง ไปจนถึงร้านหนังสือ ต้องปรับตัวกันถ้วนหน้า

เมื่อต้นปี 2548 ทนง โชติสรยุทธิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ออกมากระตุ้นเตือนให้ 'สำนักพิมพ์' ปรับตัวไปก่อนล่วงหน้าแล้วเพื่อสู้วิกฤติหนังสือล้นแผง

ล่าสุดนี้ถึงคราวของ 'ร้านหนังสือ' กันบ้างแล้ว และถึงขั้น 'ลงนาม' เซ็นสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรกันเลยทีเดียว อีกทั้งเป็นร้านระดับ 'เครือข่าย' ทั้งนั้น เมื่อ สมาคมผู้จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายแห่งประเทศไทย ได้เปิดตัวโครงการ 'ให้หนังสือเป็นของขวัญ' (Book for Gift) ขึ้น เพื่อให้ร้านหนังสือที่เข้าโครงการได้จัดเตรียมอุปกรณ์ในการห่อหนังสือเป็นของขวัญไว้ให้บริการอย่างเพียงพอ ขณะเดียวกันก็ช่วยเลือกหนังสือให้ลูกค้าด้วย

ถือว่าเป็นการจับมือของร้านหนังสืออย่างเป็นรูปธรรมครั้งใหญ่ที่สุดก็ว่าได้ ทั้งร้านเครือข่ายและร้านหนังสือย่อยแบบสแตนด์อโลน เพราะแค่เปิดโครงการตอนนี้ก็มีร้านเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ 'ทุกเจ้า' แล้ว

ไม่ว่าจะเป็น ร้านนายอินทร์ (อมรินทร์บุ๊คเซนเตอร์), ร้านซีเอ็ด, ร้านบีทูเอส, ร้าน Library Book Shop (นานมีบุ๊คส์), ร้าน Book Smile (ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่นจำกัด), ร้านเส้งโห จ.ภูเก็ต ฯลฯ รวมแล้วประมาณ 300-400 ร้าน

ที่เหลือเป็นร้านหนังสือย่อยอีกประมาณ 500 ร้าน ซึ่งทางสมาคมฯ จะรณรงค์ภายในปีนี้ให้ครบหมดทุกร้านในประเทศด้วยการส่งจดหมายไปเชิญชวน คาดว่าคงจะร่วมโครงการด้วยแน่นอน เพราะถือว่าทางร้านไม่ได้เสียอะไร แถมยัง 'ได้' ประโยชน์อีกต่างหาก

โดยร้านหนังสือที่เข้าร่วมโครงการนั้น ไม่ต้องทำอะไรมากเลย นอกจากพร้อมใจกันติดโลโก้ในจุดที่โดดเด่น-เห็นง่ายแล้ว ก็ต้องจัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดหนังสือให้เป็นของขวัญ โดยจะต้องมีติดร้านไว้ให้บริการลูกค้าตลอดทั้งปี

แต่เรื่องที่จะลด-แลก-แจก-แถม ได้มากขนาดไหนนั้น ขึ้นอยู่กับว่าร้านค้าจะประสานกับสำนักพิมพ์ และสายส่ง เป็นสำคัญ

ซึ่งในเบื้องต้นนี้ทางสมาคมฯ จะเน้นการรณรงค์ให้คนซื้อหนังสือเป็นของขวัญทุกเทศกาลเป็นหลัก แต่การช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรมนั้น คงมีข้อสรุปเร็วๆ นี้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทีมเดินสายแนะนำเคล็ดลับต่างๆ หรือไม่ก็แจกกระดาษห่อของขวัญที่จัดขึ้นเป็นพิเศษ

รูปแบบของขวัญที่แนะนำมีหลายชุดด้วยกัน เช่น ชุดทำบุญ, ชุดสุขภาพ ฯลฯ โดยรวมหนังสือแนวเดียวกันบรรจุในกล่อง, ตะกร้า, กระเช้า, ถุง ตามที่ต้องการ แล้วจัดการห่ออย่างสวยงาม จากหนังสือธรรมดาก็จะกลายเป็นสังฆทานหนังสือนำไปถวายพระ หรือตะกร้าหนังสือนำไปเยี่ยมคนป่วย ได้สบายๆ

อันที่จริงแล้ว แนวคิด 'ขายตรง' เช่นนี้ไม่ถือว่าใหม่เลย มาทีหลัง 'พวงหรีดหนังสือ' ด้วยซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำนักพิมพ์ต่างๆ ก็ได้จัดชุดหนังสือพวกนี้ไว้เป็นชุดๆ เพื่อความสะดวกในการสั่งซื้ออยู่แล้ว

อย่าง 'หมอชาวบ้าน' ก็ชวนสร้างมิติใหม่แห่งการทำบุญด้วยปัญญา ด้วยชุด 'สังฆทานหนังสือ' ซึ่งทางสำนักพิมพ์จัดชุดหนังสือไว้ให้ใน 'ราคาพิเศษ' หลายชุด ทั้งสุขภาพทั่วไป, ชุด 100 เรื่อง 100 โรค ก็มีให้เลือกอย่างจุใจ หรืออย่าง 'มติชน' เอง ก็รณรงค์ให้คนอ่านซื้อหนังสือบริจาคในราคาพิเศษอีกด้วย

หรืออย่างร้านบุ๊คสไมล์เอง ที่วางคอนเซปต์ของตัวเองเป็น 'Big Book Corner-ห้องที่สามของเซเว่น' ก็พยายามจัดหนังสือตามเทศกาลอยู่แล้ว

เพียงแต่คราวนี้ น่าจะพิเศษตรงที่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เข้ามาร่วมโครงการด้วยการจัดพิมพ์กระดาษครอบกล่องพัสดุขึ้นเป็นพิเศษนั่นเอง

และต่อไปคนซื้ออาจจะสะดวกมากขึ้น ถึงขั้นส่งตรงจากร้านถึงคนรับได้เลย โดยคนส่งไม่ต้องไปไปรษณีย์เอง เพราะร้านจะบริการให้เสร็จสรรพ ทั้ง ซื้อ,ห่อ และส่งจากร้านค้าในอัตราพิเศษ ซึ่งข้อเสนอนี้ สุวดี จงสถิตย์วัฒนา ฝากความหวังไว้กับสมาคมฯ ไว้เรียบร้อยแล้ว หากสำเร็จเมื่อใด ก็ย่อมหมายถึงความสำเร็จของโครงการ Book for Gift ไปด้วยนั่นเอง

0 0 0

อย่างไรก็ตาม ธนะชัย สันติชัยกุล นายกสมาคมฯ ปฏิเสธอย่างแข็งขันว่า เหตุที่มีโครงการนี้ไม่ใช่เพราะต้องการ 'กระตุ้น' ภาวะเศรษฐกิจอะไรเลย เพราะสภาพเศรษฐกิจโดยรวมเวลานี้แม้ 'ชะลอตัว' ก็จริงอยู่ แต่สำหรับ 'ธุรกิจหนังสือ' แล้วก็ไม่ได้กระทบจนถึงขั้นน่ากลัวขนาดติดลบ

ดูง่ายๆ จากจำนวนยอดจองบูธงานหนังสือที่จะมีขึ้นในเดือนตุลาคมก็ยังได้รับการตอบรับดีอยู่ เพราะตอนนี้ 'ล้น' แล้ว จึงเชื่อมั่นว่ากำลังซื้อของคนไทยน่าจะดีอยู่ พร้อมกันนี้ คาดว่าธุรกิจหนังสือปี 2548 นี้ จะมีโอกาสเติบโตถึง 15% จากปี 2547 อยู่ที่เกือบ 20% แม้จะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจก็ตาม

ในประเด็นนี้ 3 หญิงเหล็กแห่งวงการร้านหนังสือ 3 แห่ง ทั้ง สุวดี จงสถิตย์วัฒนา เจ้าของร้าน Library Book Shop, อุไรวรรณ กรวิทยาศิลป์ ผู้จัดการศูนย์หนังสือจุฬาฯ และ ศรีวรรณ อ่องเจริญ กรรมการผู้จัดการร้านหนังสือเส้งโห จ.ภูเก็ต ต่างยอมรับตรงกันบนเวทีเสวนาหัวข้อ 'ร้านหนังสืออยู่รอดอย่างไรในยุคน้ำมันแพง' ว่ายอดขายตกจริงๆ แต่ดูเหมือนว่าไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลมากนัก

โดยเฉพาะกรรมการผู้จัดการร้านเส้งโห ร้านหนังสือใหญ่ในคาบเขตอันดามันทั้งภูเก็ตและกระบี่นั้น บอกทันทีว่า

"น้ำมันแพง ไม่กลัว แต่สิ่งที่กลัวคือสึนามิมากกว่า" เพราะเวลามีข่าวสึนามิมาทีหนึ่ง ร้านเงียบไปเลยอย่างน้อยสามวัน ซึ่งฟังดูแล้วเหมือนเรื่องตลกที่หัวเราะไม่ออก

พร้อมทั้งถ่ายทอด 'ทุกข์' ของร้านหนังสือในต่างจังหวัดให้ฟังอีกต่างหาก ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ได้มากับภาวะน้ำมันแพง แต่รุนแรงในความรู้สึกและคับข้องใจมานานแล้วกับสำนักพิมพ์ทั้งใหญ่และเล็ก โดยเฉพาะช่วงที่มีงานสัปดาห์หนังสือและมหกรรมหนังสือที่กรุงเทพฯ ทุกปี

แต่สาเหตุใหญ่ไม่ใช่เรื่อง 'ลดราคา' หากแต่เป็นเรื่องการ 'กั๊ก' หนังสือไว้ขายในงานต่างหาก จนทำให้เธอรู้สึกเหนื่อย (เกินความจำเป็น) มากๆ ในการตามล่าหาหนังสือเล่มนั้นๆ ขณะที่มีการโฆษณากันใหญ่โตโครมๆ แต่ที่ร้านต่างจังหวัดกลับไม่ได้รับสักเล่ม หรือกว่าจะได้รับและขาย กระแสก็เกือบเงียบไปแล้ว ทำให้สูญเสียโอกาสในการขายไปอย่างน่าเสียดาย

กล่าวโดยสรุป ภาพรวมธุรกิจหนังสือปี 'ตกลง' จากปี 2547แน่นอน โดยเฉพาะเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา แต่โดยภาพรวมตัวเลขยังคงโตอยู่ แต่จะเป็นหลักเดียว จากเดิมที่เคยโตถึงสองหลัก

อย่างไรก็ตาม หวังว่า 'ปาฏิหาริย์แฮรี่พอตเตอร์' ซึ่งนานมีจะวางแผงต้นเดือนธันวาคมนี้ จะช่วยกระตุ้นอัตราการเติบโตภาพรวมให้คึกคักได้บ้าง

ส่วนสำนักพิมพ์ เวลานี้ถือว่าสภาพ 'ขวัญกำลังใจ' ดีอยู่ เพราะตัวเลขหนังสือใหม่เฉลี่ยต่อวันในครึ่งปีแรก อยู่ที่ 30.4 เล่มต่อวัน ซึ่งเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยครึ่งปีหลังจะมีอัตราการเติบโต แต่ในอัตราน้อยลง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสามารถของสำนักพิมพ์ว่าจะ 'ซื้อหวย' พิมพ์หนังสือ 'โดน' คนอ่านขนาดไหน

"ตัวเลขนี้เป็นการสะท้อนขวัญและกำลังใจของสำนักพิมพ์ว่ายังคงมีความเชื่อมั่นกับธุรกิจหนังสืออยู่ถึงยังไม่ได้มีการลดกำลังการผลิตหนังสือลง เป็นการสะท้อนแค่ตรงนั้น แต่จะสำเร็จหรือไม่นั้น อีกเรื่องหนึ่ง"

อย่างไรก็ตาม ทนงเชื่อว่า แนวโน้มการซื้อหนังสือในงานมหกรรมหนังสือฯ ยังจะสูงอยู่ เพราะว่าคนที่มาซื้อหนังสือในงานส่วนใหญ่เป็น 'หนอนหนังสือ' ตัวจริงอยู่แล้ว

แต่ 'คนทำหนังสือ' ตัวจริงล่ะ เชื่อมั่นแค่ไหน?!!