: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โฉมหน้า 48 กรรมการสมานฉันท์

จากนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์

โฉมหน้า 48 กรรมการสมานฉันท์
ตามที่มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี 104/2548 เรื่อง แต่งตั้ง คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) เราจึงขอนำรายละเอียดบางส่วนของคำสั่งมานำเสนอ ดังนี้

โดยที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันได้แก่ จ.ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทั้งทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมาเป็นเวลาช้านาน แต่ 3 จังหวัดดังกล่าวประสบปัญหาความรุนแรงมาโดยตลอด แม้ว่ารัฐบาลทั้งในอดีตและปัจจุบันจะได้พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมุ่งหมายให้เกิดสันติสุขขึ้น แต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่หมดไป

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 นายกรัฐมนตรีจึงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบกันเป็นคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า กอส. และมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า The National Reconciliation Commission : NRC ขึ้น โดยมีองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่ และวิธีดำเนินงานดังต่อไปนี้

ก.องค์ประกอบ ให้มีคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้ 1.นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน 2.นายประเวศ วะสี เป็นรองประธาน

ภาคประชาสังคมในพื้นที่ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

3.พล.อ.ณรงค์ เด่นอุดม อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 4.นายเนตร จันทรัศมี นักธุรกิจห้างไดอาน่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา และ 3 จังหวัด 5.นายบัญชา พงษ์พานิช 6.นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ เลขาธิการสหพันธ์ครูในจังหวัดชายแดนภาคใต้

7.นายปิยะ กิจถาวร อาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 8.น.ส.เพชรดาว โต๊ะมีนา บุตรสาวนายเด่น โต๊ะมีนา ส.ว.ปัตตานี 9.นางมัธยัม สาเม๊าะ มูลนิธิเด็กกำพร้าบานา จ.ปัตตานี 10.นายมูหัมมัด อาดำ โรงเรียนนุรุลอิสลามภูมีวิทยา วัดทุ่งข่อย จ.ปัตตานี

11.นางรัตติยา สาและ มหาวิทยาลัยทักษิณ จ.สงขลา 12.นายวรวิทย์ บารู รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 13.นายแวดือราแม มะมิงจิ 14.นายอนันต์ชัย ไทยประทาน ที่ปรึกษายุวมุสลิมแห่งประเทศไทย

15.นายอิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีวิทยาลัยอิสลามยะลา 16.นายอับดุลเราะแม เจ๊ะแช ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา 17.นายอับดุลเราะห์มาน อับดุลสมัด ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส 18.นายอัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง

ภาคประชาสังคมนอกพื้นที่ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

19.นายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 20.นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ 21.น.ส.นารี เจริญผลพิริยะ 22.นายพิชัย รัตนพล ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธี 23.นายพิภพ ธงไชย มูลนิธิเด็ก

24.นายไพศาล พรหมยงค์ สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย 25.พระพิศาล วิสาโล วัดป่าสุคะโต อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ 26.นายมารค ตามไท ผอ.สถาบันเพื่อการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม 27.นายศรีศักร วัลลิโภดม มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ 28.น.ส.เสาวนีย์ จิตต์หมวด มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 29.นายอัมมาร สยามวาลา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ

ภาคการเมือง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

30.น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา พรรคชาติไทย 31.นายจาตุรนต์ ฉายแสง พรรคไทยรักไทย 32.พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ พรรคไทยรักไทย 33.นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ พรรคประชาธิปัตย์ 34.นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา พรรคไทยรักไทย 35.นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ พรรคประชาธิปัตย์ 36.นายโสภณ สุภาพงษ์ ส.ว.กรุงเทพฯ

ภาคราชการ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

37.นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ อธิบดีกรมคุมประพฤติ 38.นางจิราพร บุนนาค รองเลขาธิการ สมช. 39.นางพรนิภา ลิมปพยอม เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 40.นายวิชัย เทียนถาวร ปลัดกระทรวงสาธารณสุข 41.พล.ท.ไวพจน์ ศรีนวล ผช.เสธ.ทบ.ฝ่ายข่าว 42.นายศิระชัย โชติรัตน์ รอง ผอ.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ 43.พล.ต.ท.สมศักดิ์ แขวงโสภา ผบ.ตชด. 44.พล.อ.สิริชัย ธัญสิริ ผอ.กอ.สสส.จชต. 45.นายสุจริต ปัจฉิมนันท์ อธิบดีกรมการปกครอง

ฝ่ายเลขานุการ เป็นกรรมการและเลขานุการ

46.นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ (เลขาธิคณะรัฐมนตรี) 47.นายโคทม อารียา ประธานมูลนิธิสันติภาพและวัฒนธรรม 48.นายสุริชัย หวันแก้ว ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย

อำนาจหน้าที่ 1.หน้าที่ ให้คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

เสนอแนะนโยบาย มาตรการ กลไก และวิธีการสร้างสมานฉันท์และสันติสุขในสังคมไทย โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการสร้างความยุติธรรม ลดความไม่เข้าใจระหว่างกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลาย ขจัดเงื่อนไข และป้องกันปัญหาความรุนแรง และสร้างความสามัคคีธรรมให้เกิดขึ้นในชาติ

เสนอรายงานของคณะกรรมการต่อนายกรัฐมนตรี รายงานดังกล่าวเมื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีแล้ว ให้เผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ทันที ฯลฯ

2.อำนาจ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ลุล่วงไปด้วยดี ให้คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ มีอำนาจ ดังนี้

แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลเพื่อมอบหมายให้ดำเนินการใด ตามที่คณะกรรมการกำหนด

เชิญข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ของรัฐ และบุคคลมาให้ข้อมูล หรือแสดงความคิดเห็นต่อคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน หรือให้ส่งข้อมูล หรือความเห็นเป็นหนังสือ เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน

เรียกให้หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ส่งเอกสารหรือวัตถุที่เป็นของหรืออยู่ในความครอบครองของหน่วยงานนั้นๆ มาเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน ฯลฯ