: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Bronte ดิจิทัลแอมปลิไฟร์ (เครื่องเสียง / วิจิตร บุญชู)

Bronte ดิจิทัลแอมปลิไฟร์ (เครื่องเสียง / วิจิตร บุญชู)

ผมเชื่อว่านักเล่นเครื่องเสียงยุคนี้ได้ยินชื่อดิจิทัลแอมปลิไฟร์มาบ่อยครั้ง แต่ความหมายของมันก็ไม่ค่อยชัดเจน อีกทั้งระบบวิธีการนั้น จะได้ประโยชน์สักแค่ไหน จำนวนคนเล่น คนทดสอบแล้วนำมาบอกต่อๆ กัน ก็ยังไม่มากพอที่จะเห็นศักยภาพของมันได้ วิธีการใหม่ๆ ที่นำเอาระบบดิจิทัลมาใช้กันก็คือ รับสัญญาณอนาล็อกเข้ามาจัดระเบียบเป็นดิจิทัล และแปลงกลับด้วยระบบสวิตชิ่งเป็นอนาล็อกให้ได้คุณภาพเสียงเที่ยงตรง ซึ่งมีอยู่ไม่กี่ยี่ห้อที่นำเอาวงจรขยายที่เรียกว่า Class T ออกมาใช้งาน หนึ่งในจำนวนนั้นเป็น Sonneteer เครื่องเสียงระดับสูงของวงการ

ในความเข้าใจของเราๆ ท่านๆ จะคุ้นเคยดีกับคำว่า class A และ class AB กันเป็นอย่างดี แต่ทั้ง class A และ class AB นั้น ล้วนมีหลักการทำงานในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับรูปสัญญาณอนาล็อกที่หมายถึงการจัดกระแสไบอัสให้ ทว่า ทุกวันนี้เทคโนโลยีดิจิทัลได้รุกคืบก้าวหน้าไปทุกขณะไม่เว้นแต่กับแวดวงของภาคขยายสัญญาณ และเมื่อก่อนเราคงเคยได้ยินคำว่า class G หรือ class H กันมาบ้างที่นับว่าเป็นปฐมบทต้นแบบของวงจรขยายสัญญาณในระบบดิจิทัล

สำหรับวงจรขยายสัญญาณในระบบดิจิทัลที่ก้าวหน้าที่สุดในปัจจุบัน คงหนีไม่พ้น class T ที่ได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับตั้งแต่ปี 1999 และได้เริ่มมีเครื่องใช้งานให้พบเห็นแล้วทั้งในเครื่องเสียงบ้านและเครื่องเสียงรถยนต์ ด้วยข้อดีเด่นที่มีความเป็นเชิงเส้นสูง (high linearity) ทัดเทียมกับ class AB ควบคู่กับสมรรถนะที่สูง คือให้กำลังขับ (เอาท์พุท) ได้มาก ในขณะที่กินพลังงานต่ำมาก แบบเดียวกับ class D (ประมาณว่าค่า efficiency สูงถึงกว่า 90% เชียวแหละ) แต่ class T จะมี noise และ IM distortion ที่ต่ำกว่า class D ซึ่งทำงานในแบบดิจิทัลเช่นกันอีกด้วย

class T จึงเป็น 'ผู้นำ' ที่รวมเอาข้อดีของทั้ง class AB (ในด้านความเป็นเชิงเส้นสูง) และ class D (ในด้านของสมรรถนะที่สูง) มาไว้เป็นหนึ่งเดียว โดยมีหลักการทำงานในรูปแบบของ Digital Power Processing และเมื่อเป็นดิจิทัลแอมป์ class T ก็ต้องมีหลักการทำงานแบบเดียวกับ class D ซึ่งทำงานในแบบดิจิทัลเช่นกัน แต่ class T จะมีอัตรา switching frequency ที่สูงกว่า class D ในระดับ 1.2-1.5 MHz ซึ่งจะทำให้ได้ค่า linearity หรือความเที่ยงตรงขึ้นไปได้ตลอดช่วงย่านความถี่เสียงที่มนุษย์จะพึงได้ยิน ทำให้ได้มาซึ่งคุณภาพเสียงที่ 'มีชีวิตชีวา' (warm) แตกต่างจากดิจิทัลแอมป์ทั่วไป

Sonneteer ได้สร้าง Bronte Integrated Amplifier ขึ้นมาด้วยหลักการทำงานในภาคขยายแบบ class T อันสมบูรณ์แบบ โดยมีค่าประสิทธิภาพสูงถึง 96% ทำให้ได้กำลังขับสูงถึง 150 วัตต์ต่อแชนนัล ภายใต้ขนาดตัวเครื่องเพียง (สูงxกว้างxลึก) 70x430x280 มม. และมีน้ำหนัก 13 กก.เท่านั้น ทั้งยังปราศจากความร้อนสะสมขณะทำงาน และมีการแผ่อำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าออกไปภายนอกต่ำมากอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ขณะใช้งานร่วมกับเครื่องเล่นซีดี มีคำแนะนำระบุไว้ในคู่มือว่า ควรจะใช้สายดินสั้นๆ เชื่อมโยงด้านหลังระหว่างเครื่องเล่นซีดี และ Bronte Integrated Amplifier เพื่อลดการก่อเกิดสภาพไฟฟ้าสถิตขึ้น อันเนื่องจากการที่ Bronte Integrated Amplifier มีอัตรา switching frequency ในขณะทำงานที่สูงมากๆ นั่นเอง และถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นก็สมควรเลือกเอาซีดีเพลเยอร์ของ Sonneteer มาเข้าคู่กัน น่าจะเป็นการลงตัวที่สุด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าใช้กับซีดีเพลเยอร์อื่นๆ ไม่ได้

อินทีเกรทเตด แอมปลิไฟร์เออร์เครื่องนี้ มีขนาดไม่ใหญ่เลย แต่หากกำลังขับจากระบบดิจิทัลสวิ9ชิ่งนี้ทำให้มันจัดการเกี่ยวการขยายกำลังได้อย่างทรงประสิทธิภาพมากถึง 55 วัตต์ ที่ 8 โอห์ม และ 150 วัตต์ ที่ความต้านทาน 4 โอห์ม และถือเป็นครั้งแรกด้วยที่ผมจะได้ฟังแอมปลิไฟร์เครื่องนี้แบบจริงจัง ซึ่งการทดสอบจะใช้ลำโพงหลัก 2-3 คู่ เป็นเรฟเฟอร์เรนซ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นจริง และศักยภาพของมันมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ในการทดลองฟังเครื่องดิจิทัลแอมปลิไฟร์นั้น ผมย้อนกลับไปหาเรฟเฟอร์เรนซ์ลำโพงมอนิเตอร์อย่าง KEF LS3/5a BBC Monitor Speaker เป็นตัวพิสูจน์น้ำเสียง และได้ลำโพงเสียงเปิด สะอาดใสอย่าง Focus Audio FS 68 มาเป็นตัวตาม เมื่อต้องการพิสูจน์น้ำเสียงแบบอนาล็อกก็จะเพิ่มเทอร์นเทเบิลเข้าไปด้วยได้แก่ Rega Planet 2000 cd Player

เริ่มจับต้องมองมันด้วยสายตาชื่นชมในความเรียบง่าย เพราะเห็นแต่ปุ่มวอลุ่มแค่ปุ่มเดียว ที่เหลือเป็นซีเล็คเตอร์ขนาดเล็ก มีช่องไลน์อินพุททั้งหมด สีแบบเรียบง่าย แต่โครงสร้างแข็งแกร่งมาก ด้านหลังมีขั้วต่อลำโพงแบบโกลด์เพลทเพียงคู่เดียวเป็นชนิดที่น่าจะดีที่สุดด้วย และช่องอินพุทนั้นวางเอาไว้ห่างๆ กันเพื่อความสะดวกในต่อสัญญาณ อันนี้เป็นที่พอใจมากสำหรับคนทดสอบ เพราะถอดสายเข้า-ออกง่ายดายอย่างยิ่ง ลองดูวอลุ่มหมุนขึ้นลง ไม่ฝืดไม่หลวม แต่ผมว่ามันไม่ค่อยลื่นมือเท่าที่ควร ไม่รู้เพราะความไม่เคยชินหรือเปล่า ระบบการสแตนบายด์ การเปิดเครื่องรู้สึกได้ถึงความเรียบง่ายเป็นอย่างยิ่ง

การเบอร์น การเลือกแผ่นสำหรับการทดสอบแอมปลิไฟร์ ปัญหาในการเบอร์นเครื่องที่มักจะสอบถามกันเสมอว่า ควรเบอร์นสักกี่ชั่วโมง ก็ต้องบอกว่า เฉลี่ยทั่วไปแล้ว การเบอร์นเครื่องให้พร้อมทำงานนั้น ระยะเวลาไม่ยาวนานนัก การเปิดฟังสักหนึ่งอาทิตย์ก็เข้าที่ทางแล้ว ไม่เหมือนลำโพงที่เราจะต้องนับชั่วโมงกันจริงจังเป็นร้อยชั่วโมง แอมปลิไฟร์ Bronte เครื่องที่นำมาทดสอบจะเป็นเครื่องที่ใช้งานมาบ้างระยะหนึ่งแล้ว ดังนั้น ก็จะมีความจำเป็นในการเบอร์นน้อยลงไป

ผมสังเกตจากหางเสียงที่ค่อนข้างอิสระไม่เกร็งแข็ง เรียกว่าทุกเสียงออกในแนวทางที่ราบรื่นดี ส่วนแผ่นที่ทดสอบนั้น ก็จะประกอบด้วยแผ่นเกรดออดิโอไฟล์ กับแผ่นคอมเมอร์เชียลผสมกัน การทดสอบจะเน้นไปที่เพลงอันหลากหลาย เพื่อจะได้ค้นหาบุคลิกและความเหมาะสมของเครื่องด้วยว่าเหมาะกับเพลงประเภทใด ซึ่งไม่ได้จำกัดในขณะทดสอบ คือต้องเลือกความหลากหลายมากที่สุด

น้ำเสียงและบุคลิก มันเป็นเสียงที่ได้ความคึกคักกระฉับกระเฉงและมีชีวิตชีวาอย่างมาก เพลงแจ๊สกับแผ่นที่ทดสอบประจำจะให้ความเร้าใจ มากกว่าที่เคย ความชัดเจนของเทนเนอร์แซ็กโซโฟนและเปียโน (Here At Last) ให้ความรู้สึกที่หลุดลอย เหมือนกับว่ามีอิสระมากขึ้น ตรงนี้ถือว่าแอมปลิไฟร์มีเสน่ห์มากทีเดียว ความจริงจังและความเย้ายวนใจจากเพลงร้องหลายแผ่นก็เช่นกัน กลางแหลมสดและมีชีวิตชีวา อาทิ แผ่น Hunter ที่ชินหูมานานแสนนาน ก็จะพบถึงความเป็นอิสระและ หวาน มากขึ้นกับน้ำเสียงนักร้อง (โดยเฉพาะสุภาพสตรี)

จะคล้ายดังว่า เราได้เวทีเสียงและบรรยากาศรายล้อมที่มีความกังวานหวานใส เสียงแบบมีชีวิต เป็นด้วยบุคลิกของแอมปลิไฟร์ ประการหนึ่งกับการสนองตอบที่ฉับไวของแอมป์คลาส T ที่ดึงเอารายละเอียดปลีกย่อยเล็กๆ น้อยๆ มาให้อย่างเต็มที่ บอกได้เลยว่ามากกว่าอินทีเกรทเตดแอมปลิไฟร์ ที่ผมฟังมาหลายเครื่อง