: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ท่องโลกไฮเอ็นด์กับ Accuphase E-212 (เครื่องเสียง / วิจิตร บุญชู)

ท่องโลกไฮเอ็นด์กับ Accuphase E-212 (เครื่องเสียง / วิจิตร บุญชู)
สำหรับเครื่องเสียงไฮเอ็นด์ยี่ห้อนี้ นอกจากจะรู้จักมักคุ้นกับตัวเครื่องหรือผลิตภัณฑ์แล้ว ก็ยังได้มีโอกาสเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเคยเดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานของเขามาสองสามครั้งแล้วด้วย อาจจะพูดได้ว่าผมเข้าใจแนวทางปรัชญาของแอ็คคิวเฟสอย่างลึกซึ้งพอสมควร เครื่องเสียงยี่ห้อเดียวของญี่ปุ่น ที่ฝรั่งยอมรับว่าคือไฮเอ็นด์ระดับสุดยอด มีปรัชญาของผู้ผลิตยืนอยู่บนพื้นฐานของความสมจริงในธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ยอมลงมาเล่นกับตลาดราคาต่ำ และกล้ากล่าวได้ว่า Accuphaseไม่มีปัญหาเรื่องแมทช์กับลำโพงรุ่นใดๆ เลย

ไม่ว่าจะจัดไปเข้ากับลำโพงใด มันสามารถทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างเที่ยงตรงสุดยอด

สเตอริโออินทีเกรทเตดแอมป์รุ่นเล็กที่สุด ซึ่งเพิ่งจะออกวางจำหน่ายในตลาดโลก ได้มีการปรับปรุงคุณภาพและสมรรถนะจากรุ่นเดิม คือ E-211 เพื่อให้มีการทำงานที่ทรงประสิทธิภาพ เสียงที่ดีเยี่ยม และใช้งานได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น เมื่อนับรวมเอาสายพันธุ์ของเครื่องก็จะพบว่า มันมิได้มีความอ่อนด้อยไปกว่ารุ่นใหญ่ของแอคคิวเฟสสักกี่มากน้อย มีการยกระดับชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่สำคัญเช่นทำภาคขยายที่เป็นแบบ Parallel Push-pull Output Stage, การใช้ Current feedback circuit เหมือนเช่นที่ใช้อยู่ในรุ่นใหญ่ๆ, ภาครับสัญญาณขาเข้าเป็นการต่อตรงด้วย Logic-controlled Relays พร้อมวงจร Tone Control เพื่อการปรับแต่ง และแก้ไขลักษณะเสียงทุ้ม-แหลมได้

นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเพิ่มเติม Option-boards เพื่อรองรับกับสัญญาณขาเข้าดิจิทัล หรือสัญญาณอนาล็อกโฟโนคุณภาพสูง ได้อีกต่างหาก

โดยเฉพาะในภาคขยายกำลังนั้น ความแม่นยำในเรื่องของเฟส ได้รับการมุ่งเน้นเป็นอย่างมากเพื่อความแตกต่างจากอินทิเกรตเต็ดแอมป์ 'คู่แข่ง' ในระดับชั้นไฮเอ็นด์เช่นเดียวกัน วิศวกรของ Accuphase จึงเจาะจงเลือกใช้ Current feedback circuit เหมือนดังเช่นที่ใช้อยู่ในเพาเวอร์แอมป์ และอินทิเกรตเต็ดแอมป์รุ่นใหญ่ๆ ของ Accuphase เอง ทำให้ได้มาซึ่งความเสถียรของค่าเฟสดีเยี่ยมกว่า Negative feedback ที่เป็น Voltage feedback circuit แบบเดิมๆ

E-212 ให้รายละเอียดเสียงครบถ้วน ไม่แปรเปลี่ยนสูญหาย เนื่องจากความไม่เสถียรทางค่าเฟส เมื่อรวมกับเกรดอุปกรณ์ที่วิศวกรของ Accuphase คัดสรรเลือกมาใช้ จึงไม่น่าแปลกใจในคุณภาพเสียงที่มีทั้งความราบเรียบ (Smooth) และสมดุลเสียง (Tonal Balance) เป็นอย่างยิ่ง อุปกรณ์ในภาคเอาท์พุทเป็นแบบ High-current Power Transistor ที่ออกแบบใช้งานในด้านออดิโอโดยเฉพาะ ดังนั้น จึงมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถรองรับโหลดค่าความต้านทานต่ำๆ ได้ โดยไม่สูญเสียเสถียรภาพ

ภาคปรี-แอมป์ ได้รับการออกแบบแยกภาคจ่ายไฟ (เพาเวอร์ ซัพพลาย) อิสระ ไม่เกี่ยวข้องกับภาคเพาเวอร์แอมป์ จึงตัดปัญหาการถูกรบกวนระหว่างกัน อันเนื่องจากการดึงกำลังไฟในขณะทำงาน ส่งผลต่อความนิ่งสนิทของอิมเมจและซาวนด์สเตจ

การมีภาคโทน คอนโทรล รวมถึงวงจรลาวนด์เนส ก็เพื่อชดเชยลักษณะการรับฟังของหูมนุษย์ที่มักจะรับฟังความถี่ต่ำได้ไม่ดีเท่ากับความถี่เสียงกลางและสูง เมื่อรับฟังในระดับความดังไม่มากนัก ทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำการปรับแต่งลักษณะการรับฟังเสียงได้อย่างที่ต้องการ และในกรณีที่การบันทึกเสียงในแผ่นซีดีกระทำมาไม่สมบูรณ์ ขาดหรือเกินในช่วงย่านความถี่เสียงใด ก็สามารถทำการแก้ไขและปรับแต่งได้

วิศวกรของ Accuphase ได้บรรจุ 'ทางเลือก' พิเศษเอาไว้ให้ผู้ใช้ E-212 สามารถทำการเลือก Option Boards มาใส่เพิ่มเติมได้ในภายหลัง โดยทาง Accuphase ได้จัดทำ Option Boards เอาไว้ 3 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้

1.DAC-10 (Digital Input Board) สำหรับทำการถอดรหัสข้อมูลดิจิทัล (DAC) ที่สามารถรองรับกับข้อมูลดิจิทัลที่มีอัตราการสุ่มสร้างชุดตัวอย่างข้อมูล (Sampling) ได้ตั้งแต่ 32-96kHz/24bit

2.AD-9 (Analog Disc Input Board) สำหรับผู้ที่ยังชื่นชอบในการเล่นแผ่นเสียง โดยสามารถรองรับได้กับทั้งหัวเข็มแบบ MM และ MC

3.Line-9 (Line Input Board) ทำหน้าที่ดุจดังเป็นช่องรับสัญญาณขาเข้าเพิ่มเติมทำนองเดียวกับ AUX

ข้อมูลทางเทคนิคที่น่าสนใจอย่างยิ่งของแอมปลิไฟร์ Accuphase E-212 ยังมีอีก ดังต่อไปนี้

Parallel Push-pull Output Stage

เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ ที่ใช้ใน E-212 เป็นแบบ Multi-emitter Devices ที่ได้รับการออกแบบให้ใช้งานทางด้านออดิโอโดยตรง ดังนั้น สมรรถนะทางด้านความถี่ตอบสนองจึงครอบคลุมกว้างขวางอย่างเป็นจริงเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ จะได้รับการติดตั้งอยู่บนครีบระบายความร้อน (Heatsink) ขนาดใหญ่เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนสูงสุด ช่วยให้เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ปราศจาก Thermal Effects และด้วยการเลือกใช้อุปกรณ์อย่าง 'สุดขั้ว' ทำให้ E-212 สามารถจ่ายกำลังขับได้สูงถึง 115 วัตต์ที่ 4 โอห์ม, 105 วัตต์ที่ 6 โอห์ม และ 90 วัตต์ที่ 8 โอห์ม ในแต่ละแชนนัล

Current feedback circuit

ในอดีตนั้นการใช้วงจรป้อนกลับหนีไม่พ้นที่จะเป็นแบบ 'ศักย์ลบ' น้อยมากที่จะเลือกใช้เป็นแบบ 'กระแส' เพื่อทำการแก้ไขและป้องกันความคลาดเคลื่อนทางเฟส ก่อให้เกิดประโยชน์ในการรักษารายละเอียดของสัญญาณเสียงที่มักจะมีค่าแรงดันที่ต่ำมากๆ การใช้วงจรศักย์ลบป้อนกลับที่มากเกินไปหรือไม่ถูกต้อง จึงสามารถลดทอนหรือลบล้างรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ นี้ได้ ผู้ผลิตบางรายจึงหลีกเลี่ยงปัญหาด้วยการหันไปใช้วิธีการ 'ไร้ศักย์ลบป้อนกลับ' (Non-negative Feedback)

แต่สำหรับ Accuphase ได้พัฒนาแนวทางการใช้วงจรป้อนกลับแบบกระแสขึ้นมาใช้ ด้วยข้อดีที่จะไม่ไปหักล้างรายละเอียดของสัญญาณเสียงแม้แต่เพียงเล็กน้อย พร้อมด้วยความครบถ้วนสมบูรณ์ทางเฟสอันไม่เบี่ยงเบนไปจากรูปสัญญาณแท้จริง เพื่อความเที่ยงตรงทางคุณภาพเสียง ซึ่งแต่แรกทาง Accuphase ได้เจาะจงใช้วงจรป้อนกลับแบบกระแส หรือ Current feedback circuit นี้เฉพาะในเครื่องแอมปลิไฟร์ในระดับสุดยอดเท่านั้น ทว่า ปัจจุบันถือเป็นโชคดีที่เราสามารถได้รับประโยชน์ของวงจรการทำงานนี้แม้ในเครื่องแอมปลิไฟร์ในระดับรุ่นน้องเล็กอย่าง E-212 นี้

Logic-controlled Relays

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ทางเดินสัญญาณที่สั้นที่สุดนั้น เอื้อประโยชน์ต่อการรักษารายละเอียดของสัญญาณเสียงเป็นอย่างมาก ทั้งยังเป็นการป้องกันการชักนำสัญญาณรบกวนทางคลื่นวิทยุเข้าไปแทรกซ้อนกับสัญญาณต้นฉบับ

การใช้รีเลย์ทำหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณ เป็นที่ยอมรับกันว่า ทำให้ได้มาซึ่งทางเดินสัญญาณที่เสมือน 'ต่อตรง' ลงสู่แผงวงจรกันเลยทีเดียว อุปกรณ์รีเลย์ที่ Accuphase เลือกใช้อยู่ใน E-212 เป็นชนิดพิเศษแบบปิดผนึก หรือ Sealed Relays ที่เป็นประเภทการใช้งานทางด้านโทรคมนาคม ภายในจะมีหน้าสัมผัสที่ผ่านการชุบเคลือบด้วยทองคำ เป็นแบบ Twin Crossbar เพื่อให้มีค่าความต้านทานขณะส่งผ่านสัญญาณบนหน้าสัมผัสที่ต่ำที่สุด ทั้งยังมีความทนทานยาวนานมากด้วย

Tone Control

แม้จะดูว่าเป็นวงจรที่ออกแบบมาเพื่อการปรับแต่งลักษณะเสียง แต่แท้จริงวงจรนี้ทำงานภายใต้ลักษณะของ Active Filters ในช่วงความถี่ต่ำกับช่วงความถี่สูงแล้วจึงส่งผลการทำงานมารวมกัน ดังนั้น เมื่อมิได้ใช้งาน Tone Control เพื่อการปรับแต่ง/แก้ไขลักษณะเสียงทุ้ม-แหลม เราจึงสามารถได้รับรูปสัญญาณเสียงที่ราบเรียบ หรือมีความเป็นแฟลต (Flat) อย่างสมบูรณ์ เพราะวงจรจะต่อตรงทางเดินสัญญาณไม่มีการเกี่ยวข้องกับการปรับแต่งสัญญาณในช่วงความถี่ใดๆ

นอกจากนี้แนวทางการออกแบบในส่วนของภาคจ่ายไฟ ยังถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ เป็นแบบอย่างที่น่าศึกษาด้วย