: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เหตุจลาจลของแรงงานไทยในไต้หวันรับผิดชอบเหนืออื่นใด(บุคคลโลก / นฤมล คนึงสุขเกษม)

เหตุจลาจลของแรงงานไทยในไต้หวันรับผิดชอบเหนืออื่นใด(บุคคลโลก / นฤมล คนึงสุขเกษม)
เหตุจลาจลของแรงงานไทยในไต้หวัน เมื่อวันที่ 21 สิงหาคมนั้น นอกจากจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นสำหรับแรงงานไทยแล้ว ยังส่งผลกระทบที่ไม่คาดฝันตามมา คือการประกาศลาออกจากตำแหน่งของ 'เฉิน ฉู่' รัฐมนตรีแรงงานไต้หวัน
เฉิน ยืนกรานในจุดยืนของตนเอง ปฏิเสธคำขอร้องของนายกรัฐมนตรีแฟรงก์ เซียะห์ ที่ต้องการให้เธออยู่ในตำแหน่งต่อไป เธอระบุว่า ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุจลาจลที่เกิดขึ้นในเมืองเกาสง ทางตอนใต้ของไต้หวัน

เหตุจลาจลดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อแรงงานไทยหลายคนเดินทางกลับมายังที่พักหลังเสร็จงาน แต่ถูกห้ามไม่ให้นำสุราและบุหรี่เข้าไปในที่พัก เรื่องลุกลามจนถึงขั้นที่แรงงานเผารถยนต์ ทั้งยังขว้างปาก้อนหินใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามารักษาความสงบด้วย

"ข้อเท็จจริงที่ว่า แรงงานต่างชาติต้องโดนเอาเปรียบ และเจ็บปวด ส่งผลกระทบต่อคุณค่าด้านสิทธิมนุษยชนของฉันอย่างรุนแรง และยังทำให้ฉันรู้สึกปวดร้าว และไม่สบายใจ ฉันไม่เพียงแต่โทษตัวเองเท่านั้น แต่ต้องการแสดงความรับผิดชอบในเรื่องนี้ด้วย' เฉินกล่าว

นักวิเคราะห์ยังเชื่อว่า การที่นายกรัฐมนตรีเซียะห์ มอบหมายให้ ซู เช็ง เซียง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าไปสอบสวนเหตุรุนแรงดังกล่าว เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้เฉินตัดสินใจลาออก เพราะคิดว่าไม่ได้รับความเชื่อถืออีกแล้ว

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 2 กันยายน เฉินกล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์ เซ็ท ทีวี ว่าเธอพร้อมลาออกจากตำแหน่งด้วยเรื่องที่เกิดขึ้น โดยจะรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการขออภัยต่อสาธารณชน หรือการลาออก

ความวุ่นวายดังกล่าว ยังทำให้เกิดการกล่าวหาเกี่ยวกับการทุจริตมิชอบของข้าราชการ ซึ่งนักการเมืองฝ่ายค้าน กล่าวหาว่า บริษัทจัดหางาน สามารถเอาเปรียบคนงานไทยได้ เพราะได้จ่ายสินบนจำนวนมหาศาลให้กับเจ้าหน้าที่รัฐแล้ว

ไม่เพียงแต่เฉินเท่านั้น ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุจลาจลดังกล่าว โดยหลังจากที่เธอยืนยันถึงการลาออกได้วันเดียว 'เฉิน ฉือม่าย' นายกเทศมนตรีเมืองเกาสง เมืองใหญ่อันดับ 2 ของไต้หวัน ก็ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งเช่นเดียวกัน

นายกเทศมนตรีเมืองเกาสง ให้เหตุผลว่า ไม่พอใจที่มีการกล่าวหาบิดาของเขา ซึ่งเป็นอดีตที่ปรึกษาประธานาธิบดี ได้รับประโยชน์จากการนำเข้าแรงงานไทยไปทำงานก่อสร้างระบบรถไฟใต้ดิน ซึ่งทั้งเขาและบิดาได้ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้

การนำเข้าแรงงานต่างชาติ ถูกมองว่าทำกำไรงาม เนื่องจากแรงงานแต่ละคนจะถูกเรียกเก็บค่านายหน้าคนละ 140,000 ดอลลาร์ไต้หวัน หรือสูงกว่าเงินเดือนเกือบ 8 เดือนของคนงาน ส่วนค่านายหน้าจะถูกนำไปแบ่งกันระหว่างนายหน้าไต้หวันกับนายหน้าต่างชาติ ซึ่งอัยการเมืองเกาสงกำลังสืบสวนเรื่องนี้

ทั้งนี้ การสอบสวนของรัฐบาล ได้ข้อสรุปเมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า บริษัทรับเหมาก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินเกาสง ที่เป็นนายจ้างของแรงงานที่ก่อเหตุจลาจล เป็นผู้รับผิดชอบในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานต่างชาติเหล่านี้ ไม่ได้รับความเคารพ และสภาพการทำงานของพวกเขาก็ไม่ได้รับการคุ้มครอง มีความบกพร่องอย่างร้ายแรงในการจัดการด้านแรงงานของนายจ้าง ซึ่งจะต้องจัดการให้ถูกต้องโดยเร็ว

แต่ขณะเดียวกัน ไต้หวันก็ยืนยันที่จะดำเนินคดีกับแกนนำที่ก่อเหตุจลาจลเช่นกัน แม้ว่าจะได้รับการร้องขอจากตัวแทนฝ่ายไทยที่ไปเยือนไต้หวันก่อนหน้านี้ โดยคนงานไทยได้กลับไปทำงานตามปกติเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังมีการจัดการความเป็นอยู่ของพวกเขาให้ดีขึ้น รวมถึงเรื่องที่พักและอาหาร