: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประธานาธิบดีคนใหม่ของมองโกเลีย(บุคคลโลก / นฤมล คนึงสุขเกษม)

ประธานาธิบดีคนใหม่ของมองโกเลีย(บุคคลโลก / นฤมล คนึงสุขเกษม)
มองโกเลียได้รับการกล่าวขานว่าเป็นดินแดนแห่งความขัดแย้ง และ นายนัมบาริอิน เอกห์บายาร์ อดีตนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งชนะเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันอาทิตย์ (22 พ.ค.) ก็เป็นคนที่มีความขัดแย้งอยู่ในตัวเองไม่น้อย อาทิ เขาต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่กลับนำพรรคอดีตคอมมิวนิสต์ชนะเลือกตั้ง หรือใช้คำสอนศาสนาพุทธดึงดูดเงินต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ

เอกห์บายาร์ วัย 46 ปี เคยเป็นนายกรัฐมนตรีของมองโกเลียในปี 2543-2547 รวมถึงเคยเป็นประธานรัฐสภา อย่างไรก็ตาม เขายืนยันว่าเข้าสู่การเมืองด้วยความลังเลใจ โดยขณะนั้นเขาต่อต้าน พรรคเพื่อการปฏิวัติแห่งประชาชนมองโกเลีย (เอ็มพีอาร์พี) ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ แต่ก็ต้องยอมร่วมพรรคเมื่อปี 2528 หลังได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสมาคมนักเขียนมองโกเลียอย่างเป็นทางการ

"มันเป็นทั้งโชคดีและโชคร้ายที่ได้ร่วมพรรคนี้" เอกห์บายาร์เล่า โดยตอนนั้นเขาเป็นตัวแทนชนชั้นหัวกะทิที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก ขณะที่รัฐบาลจงรักภักดีกับสหภาพโซเวียต

เอกห์บายาร์ศึกษาด้านวรรณกรรมที่กรุงมอสโกระหว่างปี 2518-2523 ก่อนย้ายไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยลีดส์ในอังกฤษ

เมื่อกลับมามองโกเลีย เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้แปลและจัดพิมพ์วรรณกรรมของนักเขียนชื่อก้องโลก ชาร์ลส์ ดิคเค่นส์ เป็นภาษามองโกเลีย นอกจากนั้นเขายังแปลผลงานของ เจมส์ จอยซ์, โธมัส ฮาร์ดี, แคทเธอรีน แมนสฟิลด์ และเอช-จี.เวลล์ส

ในปี 2533 เมื่อประชาชนออกมาชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยตามท้องถนน เอกห์บายาร์ตัดสินใจอยู่กับพรรคต่อไป เพื่อปรับเปลี่ยนพรรคจากข้างใน เนื่องจากเห็นว่า การปฏิรูปพรรคน่าจะดีกว่าการทำลายพรรค อันจะทำให้เกิดความวุ่นวายตามมา

การประท้วงของสาธารณชน ทำให้พรรคเอ็มพีอาร์พียอมปรับตัว และปรับเปลี่ยนตัวเองเป็นพรรคสังคมประชาธิปไตยในเวลาต่อมา เพื่อรักษาอำนาจบริหารประเทศเอาไว้ในมือ โดยการปรับเปลี่ยน รวมถึงเปิดกว้างให้มีการเลือกตั้งอย่างเสรี, มีพรรคการเมืองหลายพรรค และเปิดรับแนวคิดแบบทุนนิยม

พรรคคู่แข่งอย่างพรรคประชาธิปัตย์โจมตีว่า เอ็มพีอาร์พีใช้อิทธิพลครอบงำสถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ของรัฐ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือโน้มน้าวให้สาธารณชนมีทัศนคติสอดคล้องกับพรรค

ไม่ว่าจะถูกโจมตีเช่นใด แต่เอกห์บายาร์ยืนยันว่า ชัยชนะจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีล่าสุด สะท้อนว่า เขานำพรรคมาถูกทางแล้ว คือเป็นพรรคที่มีผู้บริหารมืออาชีพและมีประสบการณ์การเมืองสูง ขณะระหว่างที่พรรคเอ็มพีอาร์พีบริหารประเทศนาน 70 ปี สามารถสร้างเสถียรภาพให้กับประเทศโดยตลอด ซึ่งต่างจากช่วงปี 2539-2543 ที่กลุ่มพันธมิตรต่อต้านคอมมิวนิสต์ตั้งรัฐบาลร่วมกันบริหารประเทศ แต่เกิดเหตุวุ่นวายเป็นระยะ

มองโกเลียใช้ระบบรัฐสภา นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันเป็นคนของพรรคประชาธิปัตย์ แต่ประธานาธิบดีมีอำนาจวีโตกฎหมาย และกำลังมีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ในแง่นโยบายเศรษฐกิจ ขณะที่พรรคคู่แข่งสนับสนุนการแสวงหากำไรจากธุรกิจเหมืองแร่ที่บริหารโดยต่างชาติ แต่เอกห์บายาร์ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว โดยมองว่า การสร้างงานเป็นหนทางเดียวที่จะรับมือปัญหาความยากจนและนำการพัฒนาสู่ประเทศ ซึ่งหมายถึงการสนับสนุนการลงทุนทั้งในประเทศและจากนักลงทุนต่างชาติ

เอกห์บายาร์ได้เชื่อมปัญหาความยากจน, การสร้างงาน, การเมืองกับศาสนาพุทธที่เป็นศาสนาประจำชาติ โดยเขาเล่าว่าเคยแอบศึกษาคำสอนศาสนากับพระทิเบตในช่วงที่คอมมิวนิสต์เรืองอำนาจ

"การช่วยคนยากจนเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของชาวพุทธและนักการเมือง ซึ่งการสร้างงานนั่นเองที่จะช่วยแก้ปัญหาได้"