เทคโนโลยีโปรเจ็คเตอร์ผลึกเหลว ที่กำลังจะถูกลืม (เครื่องเสียง / วิจิตร บุญชู)
เทคโนโลยีชนิดนี้ DILA มันอาจจะสูญหายไปถ้าหากทางผู้ผลิตไม่สามารถลดต้นทุนสู้กับโปรเจ็คเตอร์ในท้องตลาด ที่กำลังลดราคาแข่งกันอย่างสุดเหวี่ยงในขณะนี้ คือระหว่าง LCD และ DLP จากความคาดหวังลึกๆ ผมคิดว่าผู้คิดค้นคือ เจวีซี อาจจะต้องหาทางดำเนินการตลาดใหม่ให้เข้มข้นกว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้
ที่จริงเทคโนโลยีทางด้านเครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์นั้น ไม่ใช่มีแค่รูปแบบหลักอยู่ 3 แบบที่คนทั่วไปรู้จัก คือ ระบบสามหลอดซีอาร์ที แบบหลอดเดี่ยวดีแอลพี และหลอดเดี่ยวแอลซีดี เท่านั้น แต่มีความพยายามคิดค้นที่มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้คุณภาพของภาพที่ได้มีความคมชัด ฉายได้ขนาดจอสกรีนใหญ่ และรายละเอียดสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ราคาสวนทางลงมา นี่คือจุดประสงค์หลัก หนึ่งในบรรดาเทคโนโลยีใหม่ที่นำมาใช้ได้จริง นั้นคือ DILA แม้ว่าราคาของมันจะยังอยู่ในระดับสูงก็ตาม
เจวีซี หรือวิคเตอร์ประเทศญี่ปุ่น ทำการค้นคว้าโปรเจ็คเตอร์แบบ D-ILA (DIRECT DRIVE IMAGE LIGHT AMPLIFIER) Projector มานานพอดู และ JVC เป็นผู้ต้นคิดและพัฒนาให้มีศักยภาพในการฉายภาพสูงอย่างน่าทึ่ง เมื่อเริ่มเปิดตัวระบบก็ได้รับการวิพากษ์ในทางบวกเกือบจะทันที จุดเด่นของมันคือเรื่องของความคมชัด และรายละเอียดในอัตราส่วนของคอนทราสต์เรโช ตลอดจนถึงความสามารถในการแยกแยะสี ที่หาโปรเจ็คเตอร์แบบอื่นๆ ทียบเคียงได้ยาก จุดที่เจวีซี ยังถือว่าก้าวข้ามได้ยากคือ เรื่องของราคาเครื่องเท่านั้นเอง เนื่องจากมันเป็นเทคโนโลยีใหม่ ระดับราคาของ D-ILA Projector นั้น จัดว่ายังคงสูง แต่คุณภาพศักยภาพโดยรวม หรือสมรรถนะนั้นมาได้จนสุดกระบวนการของมันแล้ว
หากต้องการคุณภาพเป็นหลัก โปรเจ็คเตอร์ชนิดนี้จะสนองตอบได้ค่อนข้างดีมาก จากการได้ทดลองเทคโนโลยีของ DILA ครั้งหนึ่งเป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำเป็นอย่างยิ่งมันเป็นรุ่น DLA-SX21 ที่ผมจะขอนำมาบอกเล่ากันในลำดับถัดจากนี้ไป
DLA-SX21 เป็น D-ILA Projector ที่มีขนาดกะทัดรัด แต่มีในด้านสมรรถนะนั้นสูงมาก สามารถให้รายละเอียดทางภาพได้มากถึง 4.5 M-pixel ถ่ายทอดรายละเอียดแม้แต่ตัวอักษรขนาดเล็กได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นแล้ว ในเรื่องความแม่นยำของสีภาพแล้วเป็นคุณภาพที่สามารถการันตีได้ว่ามีความเป็นธรรมชาติอย่างยิ่ง
และเนื่องจากระบบ D-ILA มีความคมชัดที่สูงมากขนาดนี้ หากนำเอาแหล่งโปรแกรมมาใช้งานผ่านทางช่อง DVI (ในปัจจุบันพัฒนาเป็น HDMI) ย่อมจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งการดูหนังระบบโฮมเธียเตอร์ และการนำมาใช้งานในระบบพรีเซ็นเตชั่นต่างๆ
ระบบเครื่องสามารถรองรับถึงระดับ True SXGA plus ภายในโปรเจ็คเตอร์ DILA ประกอบด้วยอุปกรณ์ฉายภาพ D-ILA devices ขนาด 0.7 นิ้วที่มีสมรรถนะสูงพร้อมรองรับกับระดับ SXGA+ (1400x1050) หรือเท่ากับ 1,470,000 pixel (1.5 M-pixel) จำนวน 3 ตัวด้วยกัน เพื่อแยกการทำงานรองรับในแต่ละแม่สีของแสง เมื่อรวมทั้งสิ้นแล้วเท่ากับว่าจะได้มาซึ่งรายละเอียดทางภาพที่มีความหนาแน่นของจุดสีมากถึง 4,500,000 pixel (3 x 1.5 M-pixel) กันเลยทีเดียว
นอกจากนั้นแล้ว มีการผนวกด้วยอุปกรณ์พิเศษ New JVC optical engin ในฐานะผู้ต้นคิดและพัฒนาระบบ JVC จึงสามารถเพิ่มเติมอุปกรณ์เสริมการทำงานที่เรียกว่า Polarized Beam Splitter หรือ PBS ขึ้นมาทำงานควบคู่กับอุปกรณ์ฉายภาพ โดยแยกเฉพาะในแต่ละแม่สีโดยตรง เพื่อบังคับลำแสงให้มีทิศทางที่พุ่งตรงไม่กระจัดกระจาย ลดการสะเปะสะปะของลำแสงในช่องทางที่แสงเดินทางผ่าน ทำให้ได้มาซึ่งค่าความส่องสว่างที่มากอย่างเหลือเชื่อถึง 1500ANSI lumens จากอุปกรณ์ฉายภาพ D-ILA devices ขนาดเพียง 0.7 นิ้วนี้
โปรเจ็คเตอร์เครื่องเดียวที่มากมายด้วยระบบการใช้งาน ในเทคนิค Original JVC DIST (Digital Image Scaling Technology)
DIST จะประกอบด้วยระบบการทำงาน 3 ส่วนควบคู่กัน อันได้แก่ IP Conversion, Pixel Density Conversion และ Enhancer Technology โดยที่สัญญาณภาพที่ส่งเข้ามาจะได้รับการปรับปรุงคุณภาพ
'ยกระดับ' จากสัญญาณระบบโทรทัศน์ธรรมดา ไม่ว่าจะเป็น NTSC/PAL/SECAM หรือแม้กระทั่งสัญญาณ DTV format ให้ขึ้นไปเป็นระดับ SXGA+ (และพร้อมรองรับได้ถึงระดับ UXGA จากสัญญาณ RGBHV)
ความถูกต้องแม่นยำของสีสันมีส่วนสำคัญสืบเนื่องมาจากการปรับค่าอุณหภูมิสี (Color Temperature, Gamma และ RGB Gamut) ที่ใช้อ้างอิงในระบบการฉายภาพ ดังนั้น เพื่อความแม่นยำสูงสุดของสีสันในการรับชมจากแต่ละแหล่งสัญญาณ JVC จึงมี Color Profile Mode ให้เลือกถึง 4 โหมด ได้แก่
1. S RGB Mode ค่าการอ้างอิงทางด้านสีสันจะเป็นไปตามมาตรฐาน International s RGB standard ซึ่งจะเหมาะสมกับการรับชมจากแหล่งสัญญาณ HDTV และ Windows-based computer
2. Mac Mode ทั้งค่า Gamma และ Gamut จะเป็นไปตามค่าการอ้างอิงของ Mac computer standard โดยเฉพาะ
3. Adobe Mode ทั้งค่า Gamma และ Gamut จะเป็นไปตามค่าการอ้างอิงของ Adobe applications โดยเฉพาะ จึงเหมาะสมสำหรับการรับชมภาพจาก Photoshop และ Illustrator
4. EBU Mode จะเหมาะสมกับการรับชมในระดับการส่งแพร่ภาพโทรทัศน์มืออาชีพ Broadcast video monitors
เกี่ยวกับระบบ H/V digital keystone correction ของเครื่อง ในบางครั้งเราไม่อาจตั้งวางอุปกรณ์ฉายภาพเอาไว้ให้ตรงในตำแหน่งกึ่งกลางจอภาพได้ การใช้ keystone correction จะสามารถช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นของตำแหน่งตั้งวางทั้งความเอียงทางด้านข้างและระดับความสูง-ต่ำ โดยจะสามารถปรับได้ +/-10 องศา สำหรับแก้ไขทางด้านแนวนอน และปรับได้ +/-30 องศา สำหรับแก้ไขทางด้านแนวดิ่ง
เมื่อต้องรับชมต้นฉบับสัญญาณภาพที่เป็นสัดส่วน 16:9 บนจอภาพที่เป็นสัดส่วน 4:3 จะสามารถทำการเลื่อนระดับของภาพที่ปรากฏบนจอ ขึ้นหรือลงได้ ช่วยให้การรับชมภาพมีความยืดหยุ่นมากขึ้นกว่าธรรมดาในเวลาที่ติดตั้ง DLA-SX21 แขวนจากเพดาน เพราะสามารถปรับภาพให้ต่ำลงมา หรือเขยิบเลื่อนขึ้นบนได้โดยไม่ต้องปรับระดับตัวเครื่องฉาย
คุณสมบัติพิเศษอื่นๆ อาทิ ระบบวงจร DVI-D Plug and Play สามารถการันตีสัญญาณภาพระบบดิจิทัลทุกระบบที่ส่งเข้า (Digital-to-Digital) มาสู่ DLA-SX21จะได้รับการถ่ายทอดออกมาอย่างสมบูรณ์เต็มประสิทธิภาพ ไร้ซึ่งการลดทอนคุณภาพสัญญาณต้นฉบับ และการตอบรับกับค่าสัญญาณภาพที่ละเอียดสูงสุดระดับไฮเดฟินิชั่นทีวี เครื่องรุ่นนี้มีโหมดเลือก HDTV format compatibility ทำให้การรองรับสัญญาณ DTV, HDTV และแม้กระทั่งสัญญาณอนาล็อก ไม่ว่าจะเป็น 720p, 1080i และ 1080p ได้ด้วยประสิทธิภาพ
ระบบ DILA เป็นเครื่องโปรเจ็คเตอร์ที่มีอัตราการคอนทราสเรโชสูงมาก หรือ High Contrast คืออัตราส่วนค่าความคอนทราสต์ สูงถึง 800:1 ทำให้ได้ในความชัดเจนของรายละเอียดภาพรวมถึงความลึกของภาพ อันสมจริงเป็นธรรมชาติ แม้ว่าจะทำการรับชมในสภาพห้องที่มีความสว่างมากกว่าที่ควรจะเป็นก็ตาม
: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง
วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553
เทคโนโลยีโปรเจ็คเตอร์ผลึกเหลว ที่กำลังจะถูกลืม (เครื่องเสียง / วิจิตร บุญชู)
เขียนโดย
Thai Writer
ที่
23:51
ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปยัง Xแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest
เรื่องน่าสนใจเกี่ยวเนื่องกัน:
ป้ายกำกับ:
เครื่องเสียง