Absorption Deficiency/ Laboratory Tests
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1. ยืนยันว่ามีความผิดปกติของการดูดซึมอาหาร 1.1 Quantitative fecal fat test: -มีความไวสูง (sensitive) ที่สุด / ยืนยันว่ามีความผิดปกติของการย่อย หรือการดูดซึมอาหาร และใช้เป็นมาตรฐานะสำหรับเปรียบเทียบเมื่อมีการตรวจชนิดใหม่ -ในคนปกติที่รับประทานอาหารไม่มีไขมันเลย/ ตรวจพบไขมัน 1-3 กรัม ต่อ 24 ชั่วโมง ทั้งนี้เป็นไขมันที่มาจากเซลล์ที่หลุดจากเยื่อบุผนังลำไส้ รวมกับที่มาจากแบคทีเรีย -ในคนที่รับประทานอาหารที่มีไขมันประมาณ 60-100 กรัม/วัน (คนอเมริกัน) / ตรวจพบไขมันในอุจจาระ 3-5 กรัม/24 ชั่วโมง ฉะนั้นค่าที่เกิน 6 กรัม/24 ชั่วโมง จึงถือว่าผิดปกติ -ในระหว่างการตรวจผู้ป่วย/ ต้องรับประทานอาหารได้ และอาหารมีไขมันวันละ 80-100 กรัม/วัน โดยเริ่มสองวัน ก่อนเริ่มเก็บอุจจาระ และเก็บอุจจาระเป็นเวลา 72 ชั่วโมง ชั่งน้ำหนักอุจจาระนำอุจจาระไป homogenize แล้วตรวจไขมันด้วยวิธีของ Van de Kamer -ความบกพร่องของการตรวจ/ อาจเกิดได้ ถ้าอาหารที่รับประทานมีไขมันน้อย เช่น อาหารไทยมีผู้รายงานว่ามีไขมันวันละ 15 กรัม/วัน ในการตรวจจำเป็นต้องให้ไขมันเสริม ในการศึกษาคนไทยที่สุขภาพปกติ 35 ราย โดยให้ไขมันเสริมเป็นเนยวันละ 75 กรัม พบไขมันในอุจจาระเท่ากับ 1.37 กรัม -การตรวจด้วยวิธีนี้/ ยุ่งยาก ลำบาก สิ้นเปลือง และเสียเวลาทั้งต่อผู้ป่วย และผู้ตรวจจึงไม่นิยมใช้ทั่วไป มักใช้ในการวิจัยเท่านั้น
1.2 Qualitative Fecal Fat Test: -การตรวจที่ทำได้ง่าย โดยป้ายอุจจาระบนแผ่นสไลด์ เติม glacial acetic acid 2 หยด และ Sudan III stain 2 หยด คนให้เข้ากัน แล้วปิดด้วย cover slip ถือสไลด์ไว้เหนือเปลวไฟตะเกียงแอลกอฮอล์จนเริ่มเดือด ทิ้งไว้ให้เย็นก่อนนำไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ใช้เลนซ์ขนาด high dry (H.D.) ผลการตรวจให้ระบุดังต่อไปนี้ -1+ ถ้าพบ Fat globule ขนาดเล็กกว่าเม็ดเลือดแดง จำนวนไม่เกิน 2-3/H.D. -2+ ถ้าพบ Fat globule ขนาดเท่าเม็ดเลือดแดงจำนวนมากกว่า 2-3 /H.D. -3+ ถ้าพบ Fat globule ขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง จำนวนมากกว่า 2-3/H.D.-การแปลผลเป็นดังนี้ -1+ พบได้ในคนปกติ ซึ่งมีไขมันในอุจจาระไม่เกิน 6 กรัม/วัน ; -2+ อุจจาระมีไขมันมากกว่า 10 กรัม/วัน (moderate steatorrhea); -3+ อุจจาระมีไขมันเกินกว่า 15 กรัม/วัน (severe steatorrhea); การตรวจ Qualitative fecal fat test นี้ -เทียบกับ Quantitative fecal fat test / มีความไว (Sensitivity) ประมาณร้อยละ 92-96; -ความชี้เฉพาะ (Specificity) / ประมาณร้อยละ 96-100 ; -เป็น screening test ได้เป็นอย่างดี /ผู้ป่วยต้องรับประทานอาหารที่มีไขมันมากพอ เช่นเดียวกับการทำ Quantitative fecal fat test จึงจะไม่เกิดผลลบปลอม (false negative);
1.3 Triolein breath test: -ทำได้ง่ายถ้ามี Scintillation counter -วัดรังสีเบตา -วิธีทำ/ งดอาหารข้ามคืน แล้วรับประทาน C-triolein ขนาด 5 ไมโครคูรี ใน Trioctanion 5 กรัม และอาหารไขมันสำเร็จรูป Lipomul 3. มิลลิลิตร -เก็บลมหายใจ/ ที่เวลา 3, 4, 5 และ 6 ชั่วโมง โดยให้ผู้ป่วย เป่าลมหายใจลงในภาชนะที่บรรจุสาร Hyamine ซึ่งจะเก็บ CO ไว้แล้วนำภาชนะไปวัดกัมมันตภาพรังสีคนปกติช่วงที่มีกัมมันตภาพรังสีสูงสุดจะต้องมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 3.4 ของประมาณ ทั้งหมดที่ได้รับเข้าไป -เทียบกับ Quantitative fecal fat test / มีความไวร้อยละ 100 และความชี้เฉพาะร้อยละ 96 แต่ทั้งนี้ต้องไม่รวมคนที่อ้วนกว่าปกติ -คนอ้วน/ มีผลบวกปลอมได้ / มีไขมันมากจึงเก็บ C-triolein ที่ถูกดูดซึมไว้ได้มาก และถูกขับออกมาทางลมหายใจน้อยกว่าที่ควร -สารกัมมันตรังสี/ ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับเด็ก และสตรีอาจตั้งครรภ์หรือ กำลังเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในทางปฏิบัตินิยมใช้ Qualitative fecal fat test เป็นหลัก
1.4 การตรวจเลือดเพื่อหาระดับของสารอาหารบางชนิด: -นิยมตรวจเลือดหาระดับของคาดรทีน โคเลสโตรอล แอลบิวมิน แคลเซียม และ prothrombin time (ต้องอาศัยวิตามินเค) เพราะตรวจได้ง่าย บางแห่งรวมวิตามินเอ แมกนีเซียม และ ธาตุเหล็กด้วย
: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง
วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553
Absorption Deficiency/ Laboratory Tests
เขียนโดย
Thai Writer
ที่
07:59
ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปยัง Xแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest
เรื่องน่าสนใจเกี่ยวเนื่องกัน:
ป้ายกำกับ:
การแพทย์