: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โครงสร้างกระทรวงใหม่ เพื่อชาติหรือเพื่อการเมือง

ทีมข่าวการเมืองเนชั่นสุดสัปดาห์

โครงสร้างกระทรวงใหม่ เพื่อชาติหรือเพื่อการเมือง
แม้ระบบราชการจะผ่านการยกเครื่องครั้งใหญ่ไปแล้วเมื่อปี 2546 แต่ดูเหมือนว่าหลายๆ เรื่องยังไม่ลงตัวดีนัก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จึงมีดำริที่จะปฏิรูประบบราชการรอบ 2 เพื่อจัดกลุ่มกระทรวงและหน่วยงานใหม่ นัยว่าเพื่อแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนของหน่วยงาน รวมทั้งปรับให้มีบทบาทเชิงรุกมากขึ้น ที่ผ่านมาได้จัดประชุมไปแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดจัดขึ้นในวันที่ 30 กรกฎาคม 2548 แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จ

อย่างไรก็ตาม วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี คาดว่าจะสามารถนำเรื่องการปฏิรูประบบราชการรอบ 2 เข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ภายในเดือนกันยายน-ตุลาคม ออกกฎหมายในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 และเริ่มใช้โครงสร้างกระทรวงใหม่ภายในเดือนเมษายน 2549

สำหรับเหตุผลที่ต้องมีการยกเครื่องระบบราชการอีกครั้งนั้น น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวไว้ในการประชุมครั้งแรก ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ณ หอประชุมชุมพรเขตอุดมศักดิ์ กองทัพเรือ ว่า จากการปฏิรูประบบราชการเมื่อปี 2546 จนถึงปัจจุบัน พบว่าสามารถสนองตอบการทำงานได้เพียงครึ่งเดียว จึงต้องมีการทบทวน และได้ข้อสรุปว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานภาครัฐ ทั้งในเรื่องมิติ โครงสร้าง กระบวนการ วัฒนธรรม การบริหารงานบุคคล และการนำเทคโนโลยีมาใช้

"ผลสรุปของการหารือคือ การปรับปรุงโครงสร้างของกระทรวงใหม่ โดยต้องให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งดูแลการผลิตด้านการเกษตร ปรับบทบาทเป็นกระทรวงเกษตรและอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งดูแลการผลิตด้านอุตสาหกรรม ควรต้องส่งเสริมด้านการสินค้าและพัฒนาไปเป็นกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ด้านภาคบริการที่มีการแข่งขันกันสูง และประเทศไทยมีความเข้มแข็ง ควรจัดกลุ่มธุรกิจด้านนี้ทั้งหมดเพื่อปรับเป็นกระทรวงท่องเที่ยวและการบริการ"

ส่วนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องแบ่งขอบเขตงานให้ชัดเจนกับกระทรวงเกษตรฯ โดยต้องไปดูเรื่องดิน น้ำ ป่า และสิ่งแวดล้อม

สำหรับสาเหตุที่ต้องมีการปรับกลุ่มกระทรวงใหม่นั้น รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะยกระดับประเทศ โดยเฉพาะกระทรวงที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ภาคเกษตรและอาหาร โดยภาคเกษตรจำเป็นต้องมีหน่วยงานดูแลสินค้ารายตัว ทำหน้าที่ตั้งแต่วิจัย ปรับปรุงพันธุ์ สร้างมาตรฐานสินค้า และทำตลาด และว่าสินค้าหลักที่ต้องให้ความสำคัญเร่งด่วนคือ ข้าว ยางพารา อ้อย น้ำตาล ประมง และปศุสัตว์ ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปดูเรื่องการจัดสรรที่ดินป่าไม้ให้ใช้ประโยชน์คุ้มค่า

2) ภาคท่องเที่ยวและธุรกิจบริการ ที่ประชุมจึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งหน่วยงานดูแลเศรษฐกิจรายตัว อาทิ สำนักงานดูแลธุรกิจสปา อาหาร ภาพยนตร์ เพลง ลอจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยวและมาตรฐานของมัคคุเทศก์ 3) ภาคอุตสาหกรรมและการค้า เน้นส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง

ตามโครงสร้างนี้จะปรับลดจำนวนจาก 20 กระทรวง เหลือ 18 กระทรวง แต่มีรัฐมนตรีเท่าเดิม และให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องนำไปศึกษาต่อ โดยนายกฯ ทักษิณ มอบหมายให้ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ดูแลด้านกระทรวงด้านเศรษฐกิจ, พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ ดูแลกระทรวงมั่นคง และวิษณุ เครืองาม ดูแลกระทรวงสังคม โดยให้ไปหารือกับรัฐมนตรีแต่ละกระทรวง หาข้อสรุปทำรายงานเสนอกลับมา เพื่อยกร่างเป็นพระราชบัญญัติ ซึ่งขณะนี้มีการจัดทำร่างเรียบร้อยแล้ว เพียงแต่รอการปรับปรุงบางส่วน

การประชุมครั้งต่อมาจัดขึ้นในวันที่ 9 กรกฎาคม 2548 เรียกว่า 'การประชุมยุทธศาสตร์เพื่อปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการ'

ในการประชุมครั้งนั้น วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี แถลงความคืบหน้าว่า ได้ดำเนินการไปแล้ว 90% โดยยืนยันในตัวเลขเดิม 18 กระทรวง มีการยุบกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นกระทรวงใหม่ชื่อ กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม และมี 2 ทบวงหลัก คือ ทบวงพาณิชย์และทบวงอุตสาหกรรม

ส่วนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะถูกยุบรวมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการสื่อสาร

กระทรวงคมนาคม เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและจัดการขนส่ง ซึ่งมี 2 ทบวงหลัก คือ ทบวงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และทบวงจัดการขนส่ง กระทรวงนี้มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการขนส่งที่เป็นระบบมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดการระบบขนส่งทั้งทางบก น้ำ อากาศ ระบบรางและระบบท่อ เพื่อให้มีความเชื่อมโยงในระบบลอจิสติกส์มากขึ้น รวมทั้งจะโอนงานก่อสร้างจากกระทรวงอื่นมาอยู่ในความดูแล อาทิ กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวงชนบท เพราะต้องการพัฒนาระบบผังเมืองทั้งประเทศให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น

กระทรวงพลังงาน มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเล็กน้อย โดยแยกงานด้านการจัดหาพลังงานและพลังงานทดแทนออกจากกัน

กระทรวงที่เปลี่ยนแปลงระบบการทำงานมากที่สุดคือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม ส่วนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ส่วนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นอีกกระทรวงหนึ่งที่ต้องปรับโครงสร้างขนานใหญ่ ก็จะแบ่งการดูแลสินค้าเกษตรเป็น 2 แบบ คือ สินค้าประเภทอาหาร เช่น ข้าว และสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร เช่น ปาล์ม ยางพารา และจัดตั้งองค์กรพิเศษ (เอสพีวี) ขึ้นมาดูแลสินค้าเกษตรที่เป็นสินค้าหลักของประเทศ ตั้งแต่เริ่มต้นการผลิตจนถึงปลายทาง เช่น ข้าว ยางพารา อ้อย กุ้ง ไก่ ฯลฯ เพื่อให้เกิดการทำงานเชิงรุก

การประชุมครั้งล่าสุดมีขึ้นในวันที่ 30 กรกฎาคม 2548 แต่ก็ยังไม่แล้วเสร็จตามที่รัฐบาลตั้งเป้าไว้

กระนั้นก็ดี ยังคงมีการรายงานความคืบหน้าอยู่เป็นระยะ โดยเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2548 รองนายกฯ วิษณุ กล่าวถึงขั้นตอนต่อไปของการปฏิรูประบบราชการว่ามี 3 ส่วน คือ 1) ปรับโครงสร้างส่วนราชการจาก 20 กระทรวงเหลือ 18 กระทรวง ซึ่งจะมีการนำเสนอ พ.ร.บ. ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม ฉบับใหม่ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีภายใน 1-2 สัปดาห์ จากนั้นจะส่งร่างกฎหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบความถูกต้อง แล้วจึงนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ภายในเดือนกันยายน-ตุลาคม ศกนี้ และคาดว่ากฎหมายจะออกมาประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2549 เพื่อเริ่มใช้โครงสร้างใหม่ในเดือนเมษายน 2549

2) ปรับวัฒนธรรมในการทำงานให้ข้าราชการ 2.5 ล้านคน 'คิดใหม่ ทำใหม่' ซึ่งต้องอาศัยผู้นำบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า 'ซีอีโอ' ซึ่งที่ผ่านมาสามารถทำให้ผู้ว่าฯ เป็นผู้นำซีอีโอแล้ว ก็จะทำให้รองผู้ว่าฯ เป็นซีอีโอต่อไป รวมทั้งทำให้นายอำเภอเป็น 'นายอำเภอซีอีโอ' ภายใน 1-2 ปีนี้

3) ปรับอัตรากำลังคนภาครัฐ แม้ว่ารัฐบาลได้พยายามปรับปรุงมาโดยตลอด มีการนำมาตรการบริหารกำลังพลเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเข้ามาใช้ แต่ก็เกิดปัญหากล่าวคือ มีผู้บังคับบัญชาไปข่มขู่ลูกน้องเพศหญิงให้ยินยอมเป็นเมียน้อย มิเช่นนั้นจะจัดให้อยู่ในกลุ่ม 5 เปอร์เซ็นต์ (ที่ต้องถูกออกจากราชการ) ในที่สุดภาครัฐจึงต้องยกเลิกมาตรการดังกล่าวไป และกำลังหามาตรการใหม่ๆ มาใช้

สงสัยอยู่แต่ว่าพอปรับโครงสร้างกระทรวงใหม่เสร็จในต้นปีหน้า นายกฯ ทักษิณ จะถือเป็นฤกษ์งามยามดีสำหรับ 'ทักษิณ 2/3' หรือเปล่า?