จากนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์
คลื่นยักษ์ คลื่นทุน และคลื่นการเมือง
เป็นไปตามความคาดหมาย เมื่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (4 มกราคม 2548) มีคำสั่งให้ ศุภฤกษ์ ตันศรีรัตนวงศ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาปฏิบัติราชการสำนักนายกฯ มีกำหนด 6 เดือน หรือจะเปลี่ยนแปลงคำสั่งก่อนครบกำหนด
นั่นเป็นเหยื่อรายแรก หลังคลื่นสึนามิถล่มชายฝั่งอันดามัน!
และคงมีเหยื่ออีก 2-3 รายตามมา โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ในสำนักงานแผ่นดินไหว ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เพียง 4 คน (รวมทั้งตัวผู้อำนวยการ)
ขณะที่ผู้ประสบภัยธรณีพิบัติ ทั้งที่เสียชีวิตและมีชีวิตอยู่ ยังอยู่ในภาวะสับสนอลหม่าน ถึงพบศพหลายพันศพ แต่ก็ยังพิสูจน์ทราบได้ไม่ง่ายนัก ว่าใครเป็นใคร
ผู้รอดชีวิตอีกนับหมื่น เหมือน 'ตายทั้งเป็น' มีเป็นจำนวนมากที่ไร้ที่อยู่อาศัย ไร้ทรัพย์สิน ไร้ญาติพี่น้อง
ท่ามกลางความสิ้นหวัง หดหู่ ทางด้านนักวิชาการก็ได้เปิดเผยถึงผลการสำรวจความรุนแรงของคลื่นสึนามิ ที่ดำเนินการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่น พร้อมคณะกรมป้องกันภัย กรมทรัพยากรธรณี และกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อประเมินผลความรุนแรงและทิศทางของคลื่น ภายใต้การอำนวยการโดย สมิทธ ธรรมสโรช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดร.เสรี ศุภราทิตย์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหา วิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า ในการสำรวจครั้งนี้ ตนและคณะได้ศึกษาและเก็บข้อมูลในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาหลัก จ.พังงา, เกาะพีพี จ.กระบี่ และ จ.ภูเก็ตทั้งเกาะ โดยได้ข้อสรุปขั้นต้น ดังนี้
อุทยานแห่งชาติเขาหลัก ชายหาดมีลักษณะเป็นทางลาดลงไปในทะเล ทำให้คลื่นยักษ์ที่วิ่งเข้ามาหาฝั่งก่อตัวสูงขึ้นได้โดยง่าย เนื่องจากไม่มีสิ่งกีดขวางที่คอยดูดซับความรุนแรงของคลื่น โดยความสูงที่สำรวจได้เท่ากับ 11.6 เมตร และมีความเร็วของคลื่นสูงถึง 4 เมตรต่อวินาที ถือว่ามีความเร็วสูงมากหากเทียบกับเหตุการณ์น้ำท่วมที่หมู่บ้านน้ำก้อ จ.เพชรบูรณ์
อีกทั้งพื้นที่ของชายหาด มีลักษณะต่ำจึงทำให้คลื่นทะเลซัดลึกเข้าไปในฝั่งเป็นระยะทาง 287 เมตร และพุ่งไปปะทะยังบริเวณเชิงภูเขา จึงทำให้ความรุนแรงของคลื่นลดลง
ส่วนที่เกาะพีพี มีลักษณะเป็นอ่าวโอบล้อมพื้นที่ชายหาดทั้งสองฝั่ง และช่วยลดความรุนแรงของคลื่นลงได้ระดับหนึ่ง แต่กลับทำให้ปริมาณน้ำทะเลในอ่าวทั้งสองด้านเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยบริเวณทางตอนเหนือของเกาะพีพีและหาดโละดาลัม วัดความสูงของน้ำจากระดับน้ำทะเลได้ 5.3 เมตร ขณะที่เกาะพีพีทางตอนใต้และหาดต้นไทร วัดความสูงได้ระดับ 6.5 เมตร และมีความเร็วของคลื่นประมาณ 4 เมตรต่อวินาที
สำหรับพื้นที่ภูเก็ต พบว่า ความรุนแรงของคลื่นที่มากระทบไม่มากนัก เนื่องจากทิศทางคลื่นที่พุ่งมาจากจุดเกิดแผ่นดินไหว ถูกบริเวณส่วนหัวของเกาะสุมาตรา ช่วยเป็นแนวกำแพงลดแรงของคลื่นได้ส่วนหนึ่ง
อีกทั้งมีแนวปะการังธรรมชาติช่วยดูดซับความรุนแรงของคลื่นไว้ ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่า ในบริเวณหาดป่าตอง วัดความสูงของคลื่นได้ 5.88 เมตร หาดกะตะวัดได้ 3.5 เมตร หาดอ่าวฉลองวัดได้ 3.83 เมตร และบริเวณคลองบางไทรวัดได้ 1.35 เมตร
นอกจากนี้ความลาดชันชายหาดของจังหวัดภูเก็ตด้านตะวันตก ที่มีลักษณะลาดชันลึกลงไปในทะเลจึงทำให้คลื่นที่มาปะทะลดความรุนแรงและความสูงลงไป ดร.เสรี สรุปในภาพรวมของจังหวัดภูเก็ต ว่าทางด้านตะวันตกความสูงของคลื่นประมาณ 5-6 เมตร และไล่ลงมาเรื่อยทางตอนใต้ประมาณ 4-5 เมตร ขณะที่ทางด้านตะวันออก ความสูงของคลื่นเพียงแค่ 3-4 เมตรเท่านั้น
ขณะเดียวกัน ดร.เสรี และคณะทำงานเตรียมจัดทำแผนแม่บท เพื่อจัดตั้งระบบเตือนภัยและป้องกันความรุนแรงของคลื่นสึนามิ โดยเสนอต่อ สมิทธ ธรรมสโรช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่
โดยเบื้องต้นได้เสนอให้มีการติดตั้งระบบเก็บข้อมูลคลื่นยักษ์สึนามิในประเทศไทย พร้อมทั้งเชื่อมโยงข้อมูลกับเครื่อข่ายต่างประเทศ ติดตั้งระบบการตรวจสอบคลื่นจากแผ่นดินไหว และสถานีวัดระดับ รวมทั้งตรวจสอบแผ่นดินไหวตามชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกในระยะทุกๆ 100 เมตร และลึกเข้าไปในทะเล 4 เมตร
ซึ่งระบบทั้งหมดนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการวัดมาประมวลผลและทำนายโอกาสเกิดขึ้นของคลื่นยักษ์และสามารถเตือนภัยได้ทันท่วงที
อย่างไรก็ตาม อยากให้รัฐบาลเร่งให้การศึกษาแก่ประชาชนในพื้นที่ ถึงระบบเตือนภัยและป้องกันภัยจากคลื่นยักษ์ แม้จะไม่เกิดบ่อยครั้งนัก แต่ก็เป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยใช้ต้นแบบมาจากประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากมีประสบการณ์ในการป้องกันภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้สนับสนุนโครงการลดพิบัติภัยจากแผ่นดินไหว ระยะที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยโครงการย่อยที่มีนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย เป็นหัวหน้าโครงการ สรุปว่า ระบบเตือนภัยที่เหมาะกับประเทศไทย ควรมีองค์ประกอบ ดังนี้
1.มีระบบ real time monitor ข้อมูลแผ่นดินไหวที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย เราสามารถหา ข้อมูลนี้ได้จากแหล่งต่างๆ เช่น earthquake hazard program ของ US Geological Survey
2.เนื่องจากเจ้าหน้าที่พยากรณ์ที่เข้าเวรในขณะนั้น เป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลและเสนอข้อมูลความเห็นในการตัดสินใจในการเตือนภัย ดังนั้น จำเป็นต้องมี Tsunami propagation data base ที่บอกถึงขนาดความสูงของคลื่นสึนามิ และเวลาที่จะถึงสถานที่ต่างๆ แถบชายฝั่งเสี่ยงภัย ที่เจ้าหน้าที่สามารถนำมาใช้งานได้ภายในเวลาที่รวดเร็ว โดยข้อมูลเหล่านี้ได้มาจากการคำนวณเพื่อจำลองสถานการณ์ของ Tsunami model ไว้ล่วงหน้า
3.จัดทำระบบเครือข่ายสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลเตือนภัยไปตามจุดต่างๆ แถบชายฝั่งที่อาจเกิดภัยพิบัติจากสึนามิหรือภัยพิบัติอย่างอื่นด้วย สำหรับในระบบเครือข่ายสื่อสารนี้ ควรจะมีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายนานาชาติด้วย
ในส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกา มีระบบคล้ายกับที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่ยังมีระบบที่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งระบบ คือ การติดตั้งทุ่นลอย เรียกว่า DART (Deep-ocean Assessment and Reporting of Tsunamis System) ไว้ในทะเลแถบ earthquake active zone เช่น แถบอลาสกา หรือเฝ้าระวังคลื่นสึนามิ และส่งข้อมูล real time ผ่านดาวเทียมเข้าสู่ศูนย์วิเคราะห์และเตือนภัยสึนามิ
ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูล และข้อเสนอจากนักวิชาการ ก็ต้องคอยดูว่า นักการเมืองในรัฐบาล จะขานรับไปดำเนินการแค่ไหน? อย่างไร?
จึงต้องจับตามองว่า คลื่นทุน และคลื่นการเมือง จะพุ่งไปในทิศทางใด หลังคลื่นข่าวสึนามิจางหายไป?
: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง
วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553
คลื่นยักษ์ คลื่นทุน และคลื่นการเมือง
เขียนโดย
Thai Writer
ที่
04:56

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปยัง Xแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest
เรื่องน่าสนใจเกี่ยวเนื่องกัน:
- หักเหลี่ยมมาเฟีย บ่อนข้าใครอย่าแตะ!
- บทเรียนกู้ 5 พันศพ! สู่ศูนย์พิสูจน์ร่างนิรนาม
- น.พ.ประสาน ต่างใจ สรุปเราหนีภัยน้ำท่วมโลกไม่พ้นแน่!
- รื่นรมย์ กับ Pre-Exhibition ของ ธีรยุทธ บุญมี
- ธรรมะของเด็กดื้อ ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์
- BNT ช่วยชาติ!ปลุกตลาดหุ้นคึกคัก
- ทักษิโณมิกส์ คือยี่ห้อทางการเมือง
- 'พระราชอำนาจ' หนังสือดีที่ 'ใคร' บางคนเมิน
- รู้ทันกังฉิน 2005 รู้ทันแบบ 'คนคาบไปป์'
- 'เบิร์ด' ขาขึ้น! โอ้ละหนอ..ต้องขอ 'ตัวช่วย'
ป้ายกำกับ:
บทความพิเศษ