: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทเรียนกู้ 5 พันศพ! สู่ศูนย์พิสูจน์ร่างนิรนาม

จากนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์

บทเรียนกู้ 5 พันศพ! สู่ศูนย์พิสูจน์ร่างนิรนาม
หลังเหตุคลื่นสึนามิถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ ณ วันที่ 5 มกราคม กว่า 5 พันศพ และสูญหาย 6 พันกว่าคน

โดยศพทั้งหมดจะถูกส่งมาให้สถาบันนิติเวชตรวจเก็บพิสูจน์ดีเอ็นเอ เพื่อรอญาติของผู้เสียชีวิตมาติดต่อขอรับศพนำไปบำเพ็ญกุศลต่อไป

จึงนับว่าขั้นตอนของการพิสูจน์ศพ เป็นขั้นตอนที่สำคัญ และเป็นภาระหนักของการเก็บกู้ศพทีเดียว

แล้วก็เป็นใครอื่นไปไม่ได้ ที่จะต้องรับภาระอันใหญ่หลวงนี้ นอกเสียจากหน่วยงานด้านนิติเวชนั่นเอง เพราะไม่เพียงทำหน้าที่ด้านชันสูตรศพอย่างเดียวเท่านั้น ยังต้องทำหน้าที่ตั้งแต่ จัดทำรายชื่อผู้เสียชีวิต การส่ง-การเบิกรับศพ การถ่ายรูป โหลดข้อมูล และการติดต่อกับญาติผู้เสียชีวิต ซึ่งแน่นอน ย่อมทำให้เกิดความล่าช้า ไม่ทันใจญาติผู้เสียชีวิตอยู่เหมือนกัน

และนี่เอง ทำให้อาสาสมัครก็อยู่ในสภาวะของความกดดัน ในการแยกข้อมูลการพิสูจน์ศพนิรนาม และค้นหาศพให้กับบรรดาญาติพี่น้องผู้เสียชีวิต เพื่อให้การติดตามหาศพของญาติผู้เสียชีวิตทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ประสบความสำเร็จมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องเพราะในขณะนี้ความหวังของญาติผู้เสียชีวิต ก็มีเพียงเห็นสภาพศพของบุคคลอันเป็นที่รักเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ รองผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ โต้โผใหญ่ กล่าวถึงขั้นตอนการทำงานว่า ขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลของศพและญาติที่มาขอรับ มีความละเอียดเพียงพอ โดยมีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยค้นหาได้ง่ายขึ้น แต่เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น จึงต้องใช้ความเข้มงวดในการกลั่นกรองข้อมูล เบื้องต้นจะให้ญาติที่มาติดต่อบอกรูปพรรณสัณฐานผู้เสียชีวิตก่อน หากพบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่ยังไม่ชัดเจน ก็จะตรวจดีเอ็นเอ เพื่อความถูกต้อง ซึ่งทุกศพจะต้องได้รับการชันสูตร สกัดดีเอ็นเอหาให้เจอว่าใครเป็นญาติใคร

ทั้งนี้ การชันสูตรและตรวจสอบศพผู้เสียชีวิตในพื้นที่จังหวัดพังงาและภูเก็ต มีความยากลำบากมาก เนื่องจากมีศพผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งการเก็บรวบรวมหลักฐานผู้เสียชีวิต จะยังคงดำเนินต่อไป โดยหลังจากการรวบรวมหลักฐานตรวจสอบดีเอ็นเอของผู้เสียชีวิตทั้งหมดเสร็จสิ้น จะนำข้อมูลทั้งหมดไปไว้ที่ศูนย์พิสูจน์บุคคลสูญหาย เพื่อให้กรมสอบสวนคดีพิเศษติดตามหาญาติ โดยญาติของผู้สูญหายสามารถไปติดตามข้อมูลได้ที่ศูนย์พิสูจน์บุคคลสูญหาย ซึ่งจะเก็บข้อมูลไว้ 5 ปี แต่ในระหว่างที่ยังพิสูจน์อยู่ที่จังหวัดพังงา ก็สามารถมาติดต่อได้ที่ศูนย์ตรงข้ามวัดย่านยาว

ขณะเดียวกัน ทางด้าน 'แพทย์นิติเวชไทย' ก็ออกมายืนยันความพร้อมว่า จะสามารถรับตรวจดีเอ็นเอเหยื่อคลื่นยักษ์ในประเทศได้ทั้งหมด ทั้งยังสามารถตรวจให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือนด้วย

ข้อสรุปนี้ได้มาจากการประชุมเพื่อวางแผนตรวจพิสูจน์ศพบุคคลที่ไม่สามารถระบุตัวได้ ซึ่งมี น.พ.ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธาน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ตัวแทนคณบดีคณะแพทยศาสตร์ หัวหน้าภาควิชานิติเวชศาสตร์ ของทุกมหาวิทยาลัยของรัฐ ตัวแทนสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สถาบันนิติเวชวิทยา และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยี รวมทั้งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

น.พ.ศุภชัย กล่าวด้วยว่า การหารือถึงการพิสูจน์บุคคลที่เสียชีวิตจากกรณีคลื่นยักษ์ ได้ทบทวนความสามารถของหน่วยงานตรวจสอบดีเอ็นเอภายในประเทศ สรุปว่า ทุกหน่วยงานมีความพร้อม ทั้งเครื่องมือตรวจสอบที่ทัดเทียมกับต่างประเทศ บุคลากรมีความรู้ความสามารถในระดับสากล จึงจะเสนอไปยังรัฐบาลว่า ทั้งคณะแพทยศาสตร์ และสถาบันนิติเวชต่างๆ พร้อมร่วมมือตรวจสอบดีเอ็นเอของผู้เสียชีวิตทั้งหมดภายในประเทศไทย

ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้วางแนวทางการทำงานพิสูจน์ศพผู้เสียชีวิตในพังงา ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด โดยแบ่งพื้นที่รับผิดชอบออกเป็น 2 ส่วน

คือ ศพพื้นที่วัดบางม่วง อ.ตะกั่วป่า ทั้งหมด มอบให้คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เป็นผู้รับผิดชอบ สำหรับศพที่วัดย่านยาว อ.ตะกั่วป่า และศูนย์อื่นๆ ที่นำศพมาไว้ยังวัดนี้ มอบให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และศูนย์พันธุวิศวกรรมฯ ร่วมกันรับผิดชอบดำเนินการ เนื่องจากที่แห่งนี้มีศพจำนวนมาก

นอกนั้นในส่วนของศพที่จังหวัดอื่นๆ ให้สถาบันนิติเวช สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และภาควิชานิติเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด

"ระยะเวลาการตรวจสอบดีเอ็นเอของศพทั้งหมดนั้น ขณะนี้สามารถตรวจได้ 700 รายต่อวัน แต่ขึ้นอยู่กับว่าผลของดีเอ็นเอมีความชัดเจนเพียงใด อย่างไรก็ตาม ตั้งใจจะทำให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน ซึ่งแล็บในประเทศไทยขณะนี้มีถึง 14 แห่ง ต่างมีศักยภาพเพียงพอ" น.พ.ศุภชัย ประธานคณะทำงานพิสูจน์ศพฯ กล่าว และว่า หากใครยื่นมือเข้าช่วยเหลือการตรวจสอบศพ ก็ยินดี รวมทั้งประเทศจีน

ที่สำคัญ เนื่องจากศพเหยื่อสึนามิ มีอยู่เป็นจำนวนมาก และด้วยข้อจำกัดในการค้นหา ทำให้สภาพศพบางศพไม่อาจพิสูจน์ได้โดยง่าย จนกลายเป็นศพไม่มีญาติไปในที่สุด จึงนำมาซึ่งข้อเสนอตั้ง 'ศูนย์พิสูจน์ศพนิรนาม' โดย พ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ เป็นคนเสนอต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีโดยตรง

นัยว่าเพื่อพิสูจน์ศพไม่มีญาติ ไม่แต่เฉพาะกรณีเหยื่อคลื่นสึนามิเท่านั้น ถือเป็นมาตรการในอนาคตด้วย โดยเมื่อมีศูนย์เกิดขึ้นแล้ว จะมีการประสานกับทางภาครัฐ เพื่อการจัดระเบียบข้อมูลให้มีการเชื่อมโยง เพื่อง่ายแก่การตรวจสอบ ง่ายแก่การติดตามศพ และไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อน

ซึ่งแนวทางนี้ น่าจะเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ต่อระบบนิติเวช ที่จะก่อให้เกิดความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในกรณีที่ต้องพิสูจน์ศพที่มีจำนวนมาก ที่อาจเกิดขึ้นเช่นเดียวกับเหยื่อสึนามินี้อีก

เรื่องนี้นายกรัฐมนตรี ได้รับข้อเสนอของ 'หมอพรทิพย์' ไปพิจารณาแล้ว