: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

จังหวัดหนองคายได้สนับสนุนงบประมาณ เลี้ยงโคขุนวากิว


จังหวัดหนองคายได้สนับสนุนงบประมาณ ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการเลี้ยงโค จำนวน 2,500,000 บาท ให้สำนักงานจังหวัดหนองคายดำเนินการผลิตลูกโคที่มีสายเลือดโควากิว50 % โดยใช้วิธีผสมเทียมแม่โคของเกษตรกรจำนวน 1000 ตัว โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่เกษตรกรจะต้องปรับปรุงและพัฒนาคอกเลี้ยงโคให้เหมาะกับการขุนเมื่อสิ้นสุดโครงการคาดว่าจะมีจำนวนลูกโควากิวที่เกิดจากแม่โคที่เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 300 ตัว 

การเลี้ยงโคในจังหวัดหนองคายยังเป็นการเลี้ยงแบบทั่วไป ปล่อยหากินตามธรรมชาติ ราคาที่ขายโคก็เป็นราคาปกติต่างจากโคขุนซึ่งมีราคาสูงกว่า จากเหตุผลที่กล่าวมาโคขุนวากิวจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการส่งเสริมให้เกษตรกรประกอบอาชีพการเลี้ยงโคขุนเพื่อผลิตเนื้อโคคุณภาพสูง (premium grade) “หนองคายวากิว” การดำเนินกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการเลี้ยงโค เป้าหมายคือผสมแม่โคด้วยน้ำเชื้อแช่แข็งพ่อโคพันธุ์วากิวเลือด 100 % ด้วยวิธีผสมเทียม 1,000 ตัว เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 400 ราย (เกษตรกทั่วไปที่มีและไม่มีแม่โค)ผลที่คาดว่าจะได้รับ ลูกโควากิวเลือด 50 % ไม่น้อยกว่า 300 ตัว    

จังหวัดหนองคายวางแนวทางการผลิตเนื้อโคขุนคุณภาพสูง“หนองคายวากิว”ออกเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 การผลิตลูกโควากิวสายเลือด 50 % (กลุ่มต้นน้ำ) : ดำเนินการในปีงบประมาณ  2559 ซึ่งกลุ่มต้นน้ำนี้เป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีแม่โคพร้อมผสมโดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์ลูกผสมหรือพันธุ์แท้ หลังผสมจะมีการตรวจท้องโคอีกครั้งลูกโคที่เกิดจะมีสายเลือดโควากิว 50เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรต้องเลี้ยงลูกโคจนอายุ 6 – 8 เดือนและมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 120 กก. จึงค่อยตัดสินใจว่าจะขุนลุกโคต่อหรือขายให้เกษตรกรกลุ่มกลางน้ำเพื่อนำลูกโคไปขุนต่อ หรือ เกษตรกรกลุ่มปลายน้ำเพื่อรวบรวมโคขุน “หนองคายวากิว” โดยกลุ่มจะเป็นผู้รับซื้อและกระจายลูกโคไปยังกลุ่มเกษตรกรกลางน้ำหรือขุนเองต่อไปซึ่งเนื้อโคขุน “หนองคายวากิว”จะออกสู่ตลาดครั้งแรกในปี  พ.ศ.2562  

ส่วนระยะที่ 2 การผลิตโคขุน “หนองคายวากิว”(ปี 2560-2562) หรือกลุ่มกลางน้ำคือกลุ่มเกษตรกรต้นน้ำที่ขุนลูกโคต่อหรือเกษตรกรรายอื่นที่ประสงค์ขุนโค ใช้ระยะเวลาการขุนประมาณ 18 - 20 เดือน   น้ำหนักโคขุนที่ได้จะขึ้นอยู่กับแม่พันธุ์ ถ้าแม่พันธุ์พื้นเมืองน้ำหนักจะอยู่ที่ประมาณ 450 กก.หากเป็นแม่ลูกผสมบาร์หมันหรือยุโรปจะอยู่ที่ประมาณ 600 – 700  กก. เมื่อขุนโคจนครบตามระยะเวลาแล้ว เกษตรกรต้องตัดสินใจว่าจะขายโคแบบทั้งตัว(ราคา=น้ำหนักมีชีวิต xราคาโคขุนตามท้องตลาด ณ เวลานั้น)) หรือขายตามคุณภาพเนื้อโค โดยตัดสินจากระดับไขมันแทรกในเนื้อว่าอยู่ในเกรดใด ซึ่งราคาจะแปรผันตรงตามระดับเกรดไขมันที่ได้ 

ระยะที่ 3 การผลิตเนื้อโคขุน “หนองคายวากิว” สู่ท้องตลาด (ปี2562 เป็นต้นไป)คือกลุ่มปลายน้ำ หมายถึง กลุ่มผู้ประกอบการที่รับซื้อโคขุนเพื่อรวบรวมเข้าโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับการรับรองG.M.P. มีห้องบ่มเนื้อ ตัดแต่งซาก บรรจุภัณฑ์ และขายออกสู่ท้องตลาด  ซึ่งการพัฒนาที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไปกับการผลิตลูกโค คือ การพัฒนาฟาร์มโคให้ได้มาตรฐาน(G.A.P) การพัฒนาโรงฆ่าสัตว์ในพื้นที่ การจัดหาตลาดรองรับโคขุนวากิวและผลิตภัณฑ์  และเพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเลี้ยงโคขุน “หนองคายวากิว” อย่างมั่นคงและยั่งยืน ควรมีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน หรือสหกรณ์โคขุน”หนองคายวากิว”ต่อไป

สำหรับโควากิวเป็นโคเนื้อสายพันธุ์ญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วย Japanese Black, Japanese Brown, Japanese Polled, Japanese Shorthorn จากโคเนื้อทั้งประเทศญี่ปุ่น 85%เป็น Japanese Black ดังนั้นเมื่อพูดถึงวากิวจึงหมายถึง“Japanese Black”  สายพันธุ์ Japanese Black ยังแบ่งออกเป็น พันธุ์ทาจิมะ พันธุ์ชิมาเน และพันธุ์เคดากะ  โคทาจิมะเป็นสายพันธุ์หนึ่งของ Japanese Black ซึ่งผลิตเนื้อมีคุณภาพสูงที่สุดเนื่องจากโคสายพันธุ์ Japanese Black มีคุณภาพซากสูงกว่าสายพันธุ์ Japanese Brown เป็นที่มาของ Kobe beef และMatsusaka beef ถือว่าเป็นโคที่ให้เนื้อมีคุณภาพดีที่สุดในโลกลักษณะเนื้อมีความนุ่มไขมันแทรกเกรดสูงเป็นไขมันชนิดที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ Kobe beef สามารถนามาปรุงอาหารประเภท steak, sukiyaki, shabushabu, sashimi, teppanyakiเป็นต้น