: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

หลักการสะกดคำในภาษาอังกฤษ (Spelling Rules)

หลักการสะกดคำในภาษาอังกฤษ (Spelling Rules)
1) ข้อสังเกตุหลักการสะกดคำโดยทั่วๆไป (General Remarks)
1.1)กฏการสะกดคำในภาษาอังกฤษเริ่มเป็นรูปแบบมาตราฐานในกลางปี
คริสตศักราชที่ 18 และรูปแบบอเมริกันที่แตกแยกออกมาในต้นคริสตศักราช
ที่ 19 ต่อมาการอ่านออกเสียงได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามกาลเวลา
ทำให้การออกเสียงและการสะกดคำในปัจจุบันนี้มีความหลากหลายมากขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้นเสียงสระกลางของพยางค์ที่ไม่เน้นเสียง จะไม่มีแนวทางเฉพาะ
ในการสะกดคำ ซึ่งโดยปรกติมักจะถูกกำหนดโดยต้นกำเนิดของคำๆนั้น
จึงต้องระมัดระวังในการใช้ คำที่มีพยางค์ที่ไม่เน้นเสียง เช่น de-, di-, en-, in-, -par-

1.2) ตัวอย่างที่ยกขึ้นมากล่าวในหัวข้อนี้จะไม่เน้นรายละเอียดของการสะกดคำที่ยาก
เช่น คู่ของคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกันกัน: affect / effect,
amend / emend, complement / compliment, enquire / inquire, its / it's,
loath / loathe, stationary / stationery

1.3) คำบางคำก็ยากที่จะค้นหาหากไม่รู้หลักการสะกดคำ เช่น diphtheria, dissect,
eczema, fuchsia, guerrilla, minuscule, necessary, ophthalmic, pejorative,
semantics. ในบางครั้งตัวอักษรที่ไม่ออกเสียงจะปรากฎในการผสมคำของคำบางคำ
เช่น gn-, kn-, mn-, pn-, ps-, pt-, rh-และคำเหล่านี้มักลงท้ายด้วยเสียงสระมากกว่า
ตัว e ที่มีการผันรูปไปตามบุรุษและพจน์ที่ไม่ปรกติ

2) เสียง i ก่อน e ( i before e)
2.1) สำหรับคำที่ออกเสียง 'ee' (/i:/) ตามกฎของการอ่านจะใช้ 'i ก่อน e ยกเว้น หลัง c'
ซึ่งเป็นที่เชื่อถือได้ ข้อยกเว้นยังใช้ในกรณีที่
1)seize (และ seise)
2) either and neither (และกับคำว่า heinous, inveigle )
3)คำภาษาละติน เช่น prima facie, species, and superficies
4)คำซึ่งมีรากคำที่ลงท้ายด้วย -e- ตามด้วยคำปัจจัย (suffix) ที่ขึ้นต้นด้วย -i-
เช่น caffeine, casein, codeine, plebeian, protein
กล่าวได้ว่าพยางค์ที่ลงท้ายด้วย -feit ก็ใช้กฏการอ่านเช่นเดียวกัน เช่น in counterfeit,
forfeit, surfeit และ คำว่า mischief ซึ่งอ่านออกเสียงเหมือนกับ chief

2.2) สำหรับคำที่อ่านออกเสียงด้วย 'ay' /e/) หรือ 'i' (//) ที่ออกเสียงยาว โดยทั่วไปจะ
อยู่ในรูป -ei- เช่น beige, heinous, reign, veil, eiderdown, height, kaleidoscope

2.3) คำที่มีเสียงอื่นๆ จะไม่มีกฎการอ่านแต่มักจะพบได้บ่อยและคุ้นตาเช่น foreign
(เหมือนกับ reign), friend, heifer, leisure, Madeira, sieve, sovereign (เหมือนกับ-
foreign), their, view, weir, weird.

3) การใช้พยัญชนะซ้ำ (Doubling consonants)
3.1) เมื่อคำปัจจัย (suffix) ขึ้นต้นด้วยสระ (เข่น -able, -ed, -er, -ing, or -ish) ถูกเพิ่มเข้าไป
ในท้ายคำที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ พยัญชนะนั้นมักจะถูกเขียนซ้ำหากเป็นพยัญชนะเดี่ยว
ที่นำหน้าด้วยสระเดี่ยวที่อยู่ท้ายสุดของพยางค์ที่ลงเสียงหนัก เช่น controllable, dropped,
permitted, bigger, abetter, trekking, beginning, transferring, reddish, forgotten
(หมายเหตุ: หลักการนี้จะไม่ใช้ใน sweated, sweeter, appealing, greenish ซึ่งมีมากกว่า
หนึ่งสระ, planting ซึ่งมีมากกว่าหนึ่งพยัญชนะ และ balloted, happened, preferable,
profiting, rocketing ซึ่งไม่ได้ลงท้ายด้วยเสียงหนัก

3.2) คำที่ลงเสียงหนักในพยางค์ที่สอง ก็สามารถใช้พยัญชนะซ้อนได้ เช่น caravanned,
confabbed, diagrammed, formatted, humbugged, programmed, zigzagged
และ (ในรูปแบบอังกฤษ) kidnapped, worshipped ( ยกเว้น invalided benefited)
คำอื่นๆและกริยายกเว้นที่นอกเหนือจากนี้เช่น brevet, canvas, coif, curvet, ricochet,
target, tittup, และ wainscot

3.3) กริยาที่ลงท้ายด้วยเสียงสระที่ตามด้วย -c โดยทั่วไปจะเปลี่ยนรูปไปตามบุรุษหรือพจน์
(-cked, -cking) เช่น bivouac, mimic, picnic

3.4) กริยาผสมที่เกิดจากการเพิ่มคำอุปสรรคตามด้วยรากคำของกริยานั้น เช่น ในคำว่า
inputting, leapfrogging, outcropped, outfitting อย่างไรก็ตาม 'benefit' ไม่ได้ดึงมา
จาก 'fit' และ รูปของ benefitted และ benefitting จะใช้กันในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน

3.5) ในการใช้ภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ ตัวอักษร l จะถูกใช้ซ้ำหากตามหลังด้วยสระเดี่ยว
โดยไม่ต้องคำนึงถึงการลงน้ำหนักเสียง เช่น labelled, travelling, jeweller แต่จะไม่ใช้ใน
heeled, airmailed, coolish (ซึ่งมีมากกว่าหนึ่งสระ)

3.6) ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน การซ้ำ l จะเกิดขึ้นต่อเมื่อคำนั้นลงท้ายด้วยพยางค์ที่ลง
เสียงหนัก เช่น labeled, traveling, jeweler ซึ่งเป็นแบบอเมริกัน แต่ dispelled, gelled
จะใช้กับทั้งอังกฤษและอเมริกัน (การซ้ำตัว l อาจพบในรูปปัจจุบันกาลในแบบของอเมริกัน
เช่น appall, enthrall ยกเว้นการใช้ l ตัวเดียวใน paralleled, devilish และการซ้ำ l
(ในแบบอังกฤษ): woollen, woolly; note variability of cruel(l)er, cruel(l)est.

3.7) ตัวอักษร s จะไม่ถูกซ้ำก่อนคำปัจจัยที่ลงท้ายด้วย -es และในคำนามที่เป็นพหูพจน์
เช่น focuses, gases, pluses, yeses หรือ ในรูปปัจจุบันกาลของคำกริยา เช่น focuses,
gases อย่างไรก็ตาม รูปของกริยาที่ลงท้ายด้วย -s(s), ed, -s(s)ing นั้นมีความหลากหลาย
และ s จะถูกซ้ำหลังพยางค์ที่ลงเสียงหนักก็ต่อเมื่อพยางค์ นั้นถูกเลือกนำมาใช้ หรือเป็นที่
นิยมในการเขียนมากกว่า เช่น gassing, nonplussed แต่จะไม่ซ้ำใน biased, focused,
focusing

3.8) จะไม่มีการซ้ำพยัญชนะใน h, w, x และ y เช่น hurrahed, guffawed, mower, boxing,
stayed พยัญชนะที่ไม่ออกเสียง ก็ไม่มีการซ้ำตัวอักษรเช่นเดียวกัน เช่น crocheting, precising

4) การตัด e ทีไม่ออกเสียง (Dropping silent e)
4.1) ตัวอักษร e ที่อยู่ท้ายคำและไม่ออกเสียง จะถูกตัดเมื่อตามด้วยคำปัจจัยที่ขึ้นต้นด้วยสระ
เช่น bluish, bravest, continuous, queued, refusal, writing ยกเว้น
ก่อน -ing จะยังคง e ไว้ เช่น dyeing, singeing, swingeing, routeing เพื่อแยกแยะ
คำเหล่านี้ออกจาก dying, singing, swinging, routing อย่างไรก็ตามคำเหล่านี้จะยังคง
e ไว้ ageing, bingeing, blueing, clueing, cueing, twingeing, whingeing, และบาง
ครั้งในคำว่า glu(e)ing, hing(e)ing, ru(e)ing, spong(e)ing, ting(e)ing นอกจากนี้ยังคง
ใช้กับคำที่ลงท้ายด้วย -ee, -oe, -ye เช่น canoeing, eyeing, fleeing, hoeing, shoeing,
tiptoeing หรือมิฉะนั้นตัว e จะถูกตัดใน charging, icing, lunging staging เป็นต้น

4.2) คำที่ลงท้ายด้วย -ce หรือ -ge ตัว e ยังคงเอาไว้เพื่อรักษาเสียงของพยัญชนะ เช่น
advantageous, courageous, knowledgeable, noticeable, manageable,
peaceable.

4.3) ก่อน -able, การตัด e ก่อน -able นั้นคาดการณ์ไม่ได้ และตัวแรกของการอ่านออก
เสียงคำในส่วนหลักของพจนานุกรมควรจะถูกใช้ คำที่ลงท้ายด้วย -ceable และ -geable
สามารถใช้ได้ จากที่ได้กล่าวมาแล้วไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวในการตัด e ตัว e ยังคงใช้ใน
probeable เพื่อแยกจากคำว่า probable การตัดตัว e มักจะพบในภาษาอังกฤษแบบ
อเมริกันมากกว่า

4.4)ก่อน -age, ตัว e มักจะถูกตัด เช่น cleavage, dosage, wastage ยกเว้น acreage,
litreage, metreage, mil(e)age สำหรับ linage และ lineage เป็นคนละคำกัน

4.5)ก่อน -y, ตัว e มักจะถูกตัดเช่น bony, icy, grimy ยกเว้น
(a) หลัง u (gluey);
(b) หลัง g (cottagey, villagey แต่สามารถใช้ใน cag(e)y, stag(e)y);
(c) หลัง c (ยกว้น สามารถใช้ใน dicey หรือจะใช้หรือไม่ก็ได้ใน pric(e)y and spac(e) y
บางครั้งพบใน pacy, spicy แต่จะถูกตัดใน bouncy, chancy, fleecy, lacy เป็นต้น

4.6) นอกจากนี้ e ยังคงไว้ใน holey เพื่อแยกจาก holy และจะถูกซ้ำในกรณีที่ต้องการ
แยก ys เช่น clayey ตัว e ยังสามารถคงไว้หรือใส่เพิ่มเพื่อเพิ่มความชัดเจนให้กับคำที่ไม่
ปรกติ เช่น chocolatey, echoey.

4.7) ปรกติ e ที่ไม่ออกเสียงจะถูกตัดเมื่อ ถูกตามด้วยคำปัจจัยที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ เช่น
useful, homeless, safely, movement, whiteness, lifelike, awesome ยกเว้น argument,
awful, duly, ninth, truly, wholly เมื่อคำปัจจัยเหล่านี้ ถูกเสริมด้วยคำที่ลงท้ายด้วย -dge
ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน ตัว e มีแนวโน้มที่จะถูกตัดออก เช่น acknowledgment,
fledgling และบางครั้งก็สามารถพบได้ในภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ เห็นได้ชัดจากคำว่า
judgment ซึ่งพบเห็นโดยทั่วในข้อความทางด้านกฎหมาย

5) การเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบพหูพจน์ (Forming plurals)
5.1) คำนามปรกติหากเปลี่ยนให้อยู่ในรูปพหูพจน์ จะเติม s หรือถ้าลงท้ายด้วย s,
sh, ss, z, x, ch จะใช้ es เช่น books, boxes, pizzas, queues, arches, stomachs
เครื่องหมาย 's มักไม่นำมา ใช้ในการเปลี่ยนรูปนี้

5.2) คำนามที่ลงท้ายด้วย -y และมีพยัญชนะนำหน้า ( หรือ -guy) ทำให้เป็นพหูพจน์
โดยเปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es (ies) เช่น rubies, soliloquies แต่ไม่ใช้ใน boys,
monkeys ยกเว้น laybys, stand-bys, และชื่อที่ลงท้ายด้วย y (the Kennedys)

5.3) คำนามที่ลงท้ายด้วย -f, -fe (ไม่ใช่ -ff, -ffe) อาจเปลี่ยนเป็นรูปพหูพจน์โดยเติม -ves
เช่น halves, leaves (หรือ hooves, scarves) ในบางครั้งอาจใช้รูปพหูพจน์แบบปรกติ
เช่น beliefs, chiefs ซึ่งควรตรวจสอบจากพจนานุกรมเพื่อความถูกต้อง

5.4) หากเป็นคำนามที่ลงท้ายด้วย -o ให้เปลี่ยนรูปเป็นพหูพจน์โดยการเติม -es เช่น
heroes, potatoes, tomatoes หรือ เติม -s ในคำที่หน้า o เป็นสระ( radios,-videos,
tatoos) คำที่รับมาจากภาษาต่างประเทศ (arpeggios) หรือคำย่อ (kilos) เป็นต้น
คำบางคำที่อยู่นอก เหนือจากกฏเกณฑ์นี้ก็สามารถเติม -s ได้ เช่น autos, photos, solos

5.5) คำนามที่ลงท้ายด้วย -fuls เปลี่ยนเป็นรูปพหูพจน์โดย เติม s (cupfuls) มีแค่ตัว
อักษร z เท่านั้นที่จะถูกซ้ำในการทำเป็นรูปพหูพจน์ เช่น fezzes, quizzes คำนามที่ลง
ท้ายด้วย -man จะถูกเปลี่ยนรูปพหูพจน์เป็น -men เช่น chairmen, postmen,
spokeswomen ยกเว้น caymans, dragomans, talismans, Turcomans

5.6) คำผสม (Compound nouns) คำผสมโดยส่วนใหญ่จะทำให้เป็นรูปพหูพจน์โดย
การเติม s ที่ส่วนสุดท้าย เช่น break-ins, forget-me-nots, major generals, man-hours,
ne'er-do-wells, round-ups, sergeant majors, vice-chancellors ยกเว้น
1)คำนามที่ตามหลังด้วยกลุ่มคำบุพบท เช่น Chancellors of the Exchequer,
2)commanders-in-chief, daughters-in-law, ladies-in-waiting, men-of-war,
rights of way
3)คำนามที่เกี่ยวกับบุคคลและตามด้วยกริยาช่วย เช่น hangers-on, passers-by,
4)runners-up
5)คำนามที่ตามหลังด้วยคำคุณศัพท์ เช่น battles royal, cousins german,
6)heirs presumptive, notaries public, Governors-General (บางครั้งคำบางคำ
ในลักษณะแบบนี้อาจไม่เป็นไปตามกฏเกณฑ์ได้ เช่น Secretary-Generals)
7)คำนามที่เกี่ยวกับบุคคลและประกอบด้วย man, woman อยู่ จะเปลี่ยนเป็น
รูปพหูพจน์ทั้งหมด เช่น women doctors, menservants, gentlemen farmers

5.7) คำภาษาต่างประเทศและคำพหูพจน์ที่มีแบบฉบับการใช้มานานเมื่อนำมาใช้ในภาษา
อังกฤษจะมีการทำเป็นรูปพหูพจน์ตามแบบฉบับของภาษาอังกฤษ แต่คำบางคำที่ไม่ได้
เปลี่ยนรูปแบบจะยังคงรูปแบบพหูพจน์แบบเดิมไว้ เช่น bureaux, cherubim, lire, virtuosi
คำหลายคำที่มีต้นกำเนิดมาจากภาษากรีกและลาตินยังคงรูปแบบพหูพจน์แบบดั้งเดิมไว้
ซึ่งอาจใช้เฉพาะตอนหรือข้อความที่เป็นศัพท์วิชาการ เช่น formulae, indices, stadia, topoi

หมายเหตุ:
โดยทั่วไป ในการสร้างรูปแบบพหูพจน์แบบดั้งเดิม -us จะเปลี่ยนเป็น i (ในบางครั้ง
เป็น -era หรือ -ora); -a เปลี่ยนเป็น -ae; -um และ -on เปลี่ยนเป็น -a; -ex และ ix
เปลี่ยนเป็น -ices; -nx เปลี่ยนเป็น -nges; -is เปลี่ยนเป็น -es หรือ -ides; -os เปลี่ยน
เป็น -oi ทั้งนี้ยังมีคำนามอีกหลายคำที่เปลี่ยนรูปเป็นพหูพจน์ตามแบบฉบับภาษาอังกฤษ
เช่น agendas, censuses, irises, octopuses, omnibuses, phoenixes, thermoses
นอกจากนี้การสร้างรูปแบบพหูพจน์แบบดั้งเดิม จะต้องระมัดระวังคำที่ลงท้ายด้วย
-a เช่น addenda, bacteria, criteria, phenomena, and strata ซึ่งเป็นพหูพจน์อยู่แล้ว
ยกเว้น nebula และ vertebra จะเป็นเอกพจน์ ae และ oe โดยส่วนใหญ่ มักถูกเขียนแทนที่ด้วย e โดยเฉพาะในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน และในคำที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์