: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ประวัติหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง จังหวัดหนองคาย


หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย หนองคาย
หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสีสุกขนาดหน้าตักกว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว ส่วนสูงจากพระชงฆ์เบื้องล่างถึงยอดพระเกศ 4 คืบ 1 นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวง) อำเภอเมืองหนองคาย จ.หนองคาย เป็นพระพุทธรูปที่ชาวหนองคายนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มากและเป็นที่เคารพสักการะยิ่ง

เดิมทีหลวงพ่อพระใสได้ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองเวียงจันทน์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์เป็นกบฎ สมเด็จพระบวรเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์เป็นจอมทัพยกพลมาปราบจึงได้อัญเชิญ พระเสริม พระสุก และ พระใส ลงมาด้วย

เมื่อล่องมาถึงเวินแท่นได้เกิดอัศจรรย์ คือ แท่นของพระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุแรงจัดพัดแพจนเอียงชะเนาะที่ขันพระแท่นติดกับแพไม่สามารถที่จะทนน้ำหนักของพระแท่นไว้ได้ บริเวณนั้นจึงชื่อว่า เวินแท่น แต่นั้นเป็นต้นมา

ครั้นล่องแพต่อมาจนถึงแม่น้ำโขง ตรงปากงึม เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้บังเกิดฝนฟ้าคะนอง พระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ ท้องฟ้าที่วิปริตต่างๆ จึงหายไป บริเวณนั้นจึงได้ชื่อ เวินสุก ด้วยเหตุข้างต้น การอัญเชิญครั้งนี้จึงเหลือแต่พระเสริม และพระใสมาถึงหนองคาย สำหรับพระเสริมนั้นได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใสได้ อัญเชิญไปไว้ยัง วัดหอก่อง หรือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ ณ ปัจจุบัน

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญพระเสริมจากวัดโพธิ์ชัยลงไปยังกรุงเทพฯ ขุนวรธานีจะอัญเชิญพระใสไปพร้อมกับพระเสริมด้วย แต่เกิดปาฏิหารย์ โดยพราหมณ์ผู้อัญเชิญนั้นไม่สามารถขับเกวียนนำพระใสไปได้ แม้จะใช้กำลังคนหรืออ้อนวอนอย่างไรก็ตาม จนในที่สุดเกวียนได้หักลง เมื่อหาเกวียนใหม่มาแทนก็ไม่สามารถเคลื่อนไปได้อีก จึงปรึกษาตกลงกันว่าให้อัญเชิญพระใสมาไว้ที่วัดโพธิ์ชัยเมื่ออธิษฐานดังกล่าวพอเข้าหามเพียงไม่กี่คนก็อัญเชิญพระใสมาได้

หลวงพ่อพระใส เมื่อมาประดิษฐานอยู่ ณ วัดโพธิ์ชัยแล้ว ด้วยความศักดิ์สิทธิ์และอัศจรรย์หลายประการจึงเป็นที่ศรัทธาเคารพนับถือและสักการะบูชาของประชาชน ให้ความสงบร่มเย็นเป็นเสมือนร่มโพธิ์ร่มไทรให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้ยึดเหนี่ยวจิตใจ และด้วยอานุภาพศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่เลื่องลือเล่าต่อกันมาแต่ครั้งอดีตทำให้หลวงพ่อพระใสได้รับสมญาว่า หลวงพ่อเกวียนหัก ตราบเท่าทุกวันนี้