: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

หนุ่มช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเบื่อเมืองกรุง ผันชีวิตมาเป็นเกษตรกรเต็มตัวที่ตำบลเมืองมี

หนองคาย-หนุ่มช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าเบื่อเมืองกรุง ผันชีวิตมาเป็นเกษตรกรเต็มตัวที่บ้านเกิด ทดลองปลูกพืชหลายชนิดไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ไม่ย่อท้อ ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ตัดสินใจปลูกแตงกวา พืชระยะสั้น ทนแล้ง ใช้น้ำน้อย เก็บผลผลิตครั้งแรกจำหน่ายได้ราคาสูง เตรียมขยายพื้นที่ปลูก ด้านภาครัฐเข้าไปให้คำแนะนำการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคพืช เตรียมผลักดันเข้าสู่เกษตรกรแกนนำเกษตรอินทรีย์

นายตะวัน เทพเสน อายุ 40 ปี เกษตรกรปลูกแตงกวา บ้านหนองแจ้ง ตำบลเมืองหมี อำเภอเมืองหนองคาย หันเหชีวิตจากช่างซ่อมโทรทัศน์มาเป็นเกษตรกรเต็มตัว และเลือกปลูกแตงกวา บนพื้นที่บ้านเกิด ทั้งยังมีแนวคิดแบบเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่ยึดระบบตลาดนำการผลิต คือการผลิตสินค้าเกษตรตามความต้องการของตลาด โดยอาศัยการเรียนรู้การปลูกพืชจากผู้มีประสบการณ์ และการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จนรู้ว่าพืชที่ปลูกได้ในช่วงหน้าแล้ง และใช้น้ำน้อยคือ แตงกวา ปลูกครั้งแรกไม่ประสบผลสำเร็จ หันไปปลูกถั่วฝักยาวก็ไม่ประสบผลสำเร็จ หันมาปลูกแตงกวาอีกครั้ง เอาข้อผิดพลาดมาปรับปรุงแก้ไข เริ่มปลูกเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2559 บนเนื้อที่ประมาณ 1.5 ไร่ ระยะเวลาปลูก 35 วัน เริ่มเก็บผลผลิตเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมาเป็นวันแรก โดยเก็บวันเว้นวัน ซึ่งจะสามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 40 วันต่อการปลูก 1 ครั้งซึ่งครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ หลังจากเก็บผลผลิตเสร็จจะนำไปขายเองที่ตลาดสด เพราะได้ราคาสูง ราคากิโลกรัมละ 20-22 บาท จะแพ็คขายถุงละ 10 กก. การเก็บผลแตงกวาครั้งแรก ขายได้ 3,300 บาท เก็บครั้งที่ 2 ขายได้ 8,700 บาท ครั้งที่ 3 ขายได้ 13,000 บาท ซึ่งคาดว่าจะเก็บได้ประมาณ 15-20 ครั้ง ซึ่งระยะเวลาเก็บผลผลิตครั้งนี้ราว 40 วัน คาดว่า ครั้งนี้จะมีรายได้จากการขายแตงกวาไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นบาทถือว่าเป็นการสร้างรายได้ที่ดี ในช่วงสถานการณ์ภัยแล้งเช่นนี้ หลังจากนั้นก็จะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น

นายตะวัน กล่าวเพิ่มเติมว่า ช่วงที่ผ่านมาสภาพอากาศแปรปรวน มีพายุฝน สลับกับอากาศร้อนจัดทำให้ต้นแตงกวา มีอาการของโรคโคนเน่า จึงได้ขอความช่วยเหลือผ่านทางเฟสบุ๊คของสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดหนองคาย จากนั้น นายอำไพ ประเสริฐสังข์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดหนองคาย ได้ลงพื้นที่ทันทีหลังจากที่ได้รับข้อมูลและให้ความช่วยเหลือ แนะนำวิธีป้องกันและรักษาโรคดังกล่าว พร้อมแนะนำการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคที่เกิดบนส่วนของพืชที่อยู่ใต้ดิน เช่น โคนเน่า

นายอำไพ ประเสริฐสังข์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดหนองคายกล่าวเพิ่มเติมว่า การปลูกผักเป็นนโยบายของจังหวัดหนองคาย และนโยบายของรัฐบาลที่ให้แต่ละจังหวัดขับเคลื่อนทำการเกษตรแบบอินทรีย์ สำหรับแปลงของนายตะวันฯทางหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มาพบเนื่องจากนายตะวันได้ใช้สื่อโซเชียลมีเดียเข้าไปในเฟสบุ๊คของสำนักงานฯ โดยแจ้งปัญหาในการปลูกและมีปัญหาต้นเหี่ยวและตายเกิดขึ้นไม่ทราบจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ก็กังวล จึงได้เข้ามาแนะนำให้ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา และได้มอบให้กับนายตะวันใช้ในเบื้องต้น ในครั้งต่อไปจะให้เข้ากลุ่มปลอดสารพิษ การปลูกผักแบบเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดหนองคาย โดยจะได้มีการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนให้นายตะวันเป็นแกนนำปลูกผักปลอดสารพิษสู่เกษตรอินทรีย์ในอนาคต

สำหรับนายตะวัน เป็นเกษตรกรที่มีความพยายาม และอดทนและยังได้บอกว่า การที่จะทำการเกษตรได้ประสบผลสำเร็จต้องมีใจรัก และอดทนต่อปัญหาและอุปสรรค ซึ่งตนเองถือว่า ประสบผลสำเร็จเพียงขั้นแรก ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาต่อ ๆ ไป การทำการเกษตรเป็นนายตนเอง ไม่เป็นลูกจ้างใคร หากทำมากก็ได้เงินมาก พ่อแม่เป็นเกษตรกรยังเลี้ยงลูกได้หลายคน ทำไมเราจะเป็นเกษตรกรไม่ได้.