: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ผู้เลี้ยงปลานิลหนองคายเตรียมส่งปลาแดดเดียว 3,000 กก.ช่วยสนามหลวง


กลุ่มผู้เลี้ยงปลานิลกระชัง ที่ จ.หนองคาย สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เตรียมทำปลานิลแดดเดียวสมทบอาหารเลี้ยงประชาชนที่เดินทางไปสักการะพระบรมศพ ตั้งเป้าขนไปช่วย 3,000 กิโลกรัม

ที่วัดอุทุมพร ต.บ้านเดื่อ อ.เมืองหนองคาย นายสาธิต คำกองแก้ว ประมงอำเภอท่าบ่อ พร้อมด้วยตัวแทนผู้เลี้ยงปลานิลกระชังในแม่น้ำโขง ได้ประชุมหารือร่วมกับกลุ่มผู้เลี้ยงปลานิลกระชัง หลังผู้เลี้ยงปลานิลรู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานพันธุ์ปลานิลให้กรมประมง และแจกจ่ายต่อให้ประชาชนได้เลี้ยง สร้างอาชีพสร้างรายได้

นายสาธิต กล่าวว่า ทางประมงจังหวัดหนองคาย และตัวแทนผู้เลี้ยงปลานิล อยากจะแสดงออกถึงความจงรักภักดีและแสดงความอาลัย แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในมุมที่ตัวเองทำได้ และเห็นว่าประชาชนไทยจำนวนมากยังคงเดินทางไปเคารพพระบรมศพอย่างต่อเนื่อง จึงอยากช่วยกันทำความดีด้วยการเตรียมนำปลานิลที่เลี้ยงมาทำปลานิลแดดเดียว จากนั้นนำส่งให้สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย นำไปทอดเป็นอาหารแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่บริเวณท้องสนามหลวง

โดยผู้เลี้ยงปลาแต่ละคนได้แจ้งความประสงค์สมทบปลานิล ตั้งแต่ 20-1,000 กิโลกรัม บางคนที่ปลายังเล็กไม่ได้ขนาด ก็นำเงินสดช่วยจัดซื้อปลาของคนอื่น กิโลกรัมละ 65 บาท ซึ่งเบื้องต้นกำหนดไว้ว่าน่าจะได้ปลาประมาณ 3,000 กิโลกรัม และจะทำการส่งมอบผ่าน นายสุชาติ นพวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย หลังจากนั้นจะจัดส่งเข้ากรุงเทพมหานครอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ นอกจากนี้ ประชาชนที่นำปลานิลมาทำเป็นปลาร้าก็จะนำมาทำแจ่วปลาร้าบองส่งไปพร้อมกันด้วย

สำหรับปลานิล เดิมทีเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกา พบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน ยูกันดา และ ทะเลสาบแทนกันยีกา เข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ มกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวาย ในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว

ซึ่งครั้งนั้นได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อ ภายในสวนจิตรลดา ซึ่งผลการทดลองปรากฏว่า ปลานิลที่โปรดเกล้าให้ทดลองเลี้ยงได้เจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้เป็นอย่างดี ต่อมาจึงได้พระราชทานชื่อว่า "ปลานิล" โดยมีที่มาจากชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิม และ พระราชทานพันธุ์ปลาดังกล่าวให้กับกรมประมงจำนวน 10,000 ตัว เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 เพื่อนำไปขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่พสกนิกร และ ปล่อยลงไว้ตามแหล่งน้ำต่างๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม