: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แขวงทางหลวงชนบทหนองคาย ร่วมกับ จ.หนองคาย จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการสร้างความเหมาะสมโครงข่ายทางหลวงชนบทสนับสนุนเมืองชายแดน ถนนสร้างใหม่เชื่อมทางหลวงหมายเลข 2 เชื่อมจุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพไทย – ลาว

หนองคาย-แขวงทางหลวงชนบทหนองคาย  ร่วมกับ จ.หนองคาย  จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการสร้างความเหมาะสมโครงข่ายทางหลวงชนบทสนับสนุนเมืองชายแดน  ถนนสร้างใหม่เชื่อมทางหลวงหมายเลข 2 เชื่อมจุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพไทย ลาว
วันที่ 29 ก.ค. 2559  เวลา  09.30 น. ที่ห้องประชุมโรงแรมรอยัลนาคาราหนองคาย นายสุชาติ  นพวรรณ  ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย  เป็นประธานเปิดการประชุม  ทำความเข้าใจ  ปัจฉิมนิเทศ  ประชุมชนผู้มีส่วนได้  ส่วนเสีย  ในเขต อ.เมืองหนองคาย  และ อ.สระใคร  ตามโครงการการโครงการสร้างความเหมาะสมโครงข่ายทางหลวงชนบทสนับสนุนเมืองชายแดน  ถนนสร้างใหม่เชื่อมทางหลวงหมายเลข 2 เชื่อมจุดผ่านแดนสะพานมิตรภาพไทย ลาว
ทั้งนี้กรมทางหลวงชนบท  ได้จัดทำแผนแม่บทพัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทสนับสนุนเมืองชายแดน  เพื่อรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจในพื้นที่ประตูการค้า  บริเวณจุดผ่านแดนระหว่างประเทศไทย  กับประเทศเพื่อนบ้าน  โดยกำหนดพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดน  ประกอบด้วย  จ.หนองคาย  ตาก  ตราด  และ จ.จันทบุรี 
สำหรับการประชุมในครั้งนี้  เพื่อเป็นการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ผู้มีส่วนได้  ส่วนเสีย  เป็นครั้งสุดท้าย  ว่าโครงการดังกล่าวมีผลกระทบทางชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมากน้อยแค่ไหน  มีผลกระทบต่อสิ่งปวดล้อมหรือไม่  ประชาชนส่วนใหญ่  ส่วนน้อย  ได้ผลประโยชน์  หรือเสียประโยชน์อย่างไร  ก่อนจะสรุปผล  และเปิดโครงการศึกษาความเหมาะสมต่อไป.