: หนองปลาปาก : ตำบลกวนวัน : ตำบลในเมือง : ตำบลค่ายบกหวาน : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลพระธาตุบังพวน : ตำบลปะโค : ตำบลโพนสว่าง : ตำบลโพธิ์ชัย : ตำบลเมืองหมี : ตำบลมีชัย : ตำบลเวียงคุก : ตำบลวัดธาตุ : ตำบลสีกาย : ตำบลหาดคำ : ตำบลหนองกอมเกาะ : ตำบลหินโงม : ตำบลกุดบง : ตำบลชุมช้าง : ตำบลจุมพล : ตำบลทุ่งหลวง : ตำบลเซิม : ตำบลนาหนัง : ตำบลบ้านโพธิ์ : ตำบลบ้านผือ : ตำบลวัดหลวง : ตำบลสร้างนางขาว : ตำบลเหล่าต่างคำ : ตำบลกองนาง : ตำบลท่าบ่อ : ตำบลโคกคอน : ตำบลน้ำโมง : ตำบลนาข่า : ตำบลบ้านเดื่อ : ตำบลบ้านถ่อน : ตำบลโพนสา : ตำบลบ้านว่าน : ตำบลหนองนาง : ตำบลนาดี : ตำบลเฝ้าไร่ : ตำบลหนองหลวง : ตำบลวังหลวง : ตำบลอุดมพร : ตำบลบ้านต้อน : ตำบลนาทับไฮ : ตำบลพระบาทนาสิงห์ : ตำบลโพนแพง : ตำบลบ้านหม้อ : ตำบลรัตนวาปี : ตำบลพระพุทธบาท : ตำบลพานพร้าว : ตำบลแก้งไก่ : ตำบลบ้านม่วง : ตำบลนางิ้ว : ตำบลผาตั้ง : ตำบลสังคม : ตำบลโพนทอง : ตำบลด่านศรีสุข : ตำบลโพธิ์ตาก : ตำบลสระใคร : ตำบลบ้านฝาง : ตำบลคอกช้าง

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เจ้าหงิญ ของ บินหลา สันกาลาคีรี คว้า 'ซีไรท์' 'มติชน' เฮ ขาเชียร์ 'ช็อก'!!

รายงานพิเศษ / ภาวินี อินเทพ คัดลอกจาก นิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์
เจ้าหงิญ ของ บินหลา สันกาลาคีรี คว้า 'ซีไรท์' 'มติชน' เฮ ขาเชียร์ 'ช็อก'!!
พลิกโผกันสุดๆ ก็ว่าได้ สำหรับผลซีไรท์ปีนี้ เมื่อคณะกรรมการมีมติตัดสินให้หนังสือรวมเรื่องสั้นเรื่อง 'เจ้าหงิญ' ของ 'บินหลา สันกาลาคีรี' คว้ารางวัลอันทรงเกียรตินี้ไปครอง ด้วยเหตุผลที่ว่าน่าประทับใจเต็มเปี่ยมทั้งในเชิงเนื้อหาและวรรณศิลป์
โดยมีคณะกรรมการตัดสินขึ้นเวทีประกาศผลเพียง 6 คนเท่านั้น ได้แก่ อ.นิตยา มาศะวิสุทธิ์ เป็นประธาน ร่วมด้วย ศ.ดร.กุสุมา รักษมณี, ผศ.ดร.ตรีศิลป์ บุญขจร, ผศ.ดร.ธเนศ เวศร์ภาดา, ไมตรี ลิมปิชาต และ ศ.ดร.นพ.วิทยา นาควัชระ ซึ่งขาดไปเพียงท่านเดียวก็คือ คำสิงห์ ศรีนอก
ผลการตัดสินครั้งนี้ทำให้ขาเชียร์ทั้งหลายเกิดอาการช็อกไปตามๆ กัน อันเนื่องมาจากทุ่มเทแรงเชียร์และคาดหวังเกินขีดจำกัดนั่นเอง ทั้งที่รู้กันดีอยู่ว่า 'อะไรๆ ย่อมเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น' เป็นสัจธรรมอันแน่แท้ที่หลายคนมิอาจปฏิเสธ โดยเฉพาะรางวัลซีไรท์
แต่ก็ยังดีที่อย่างน้อยก็ทายถูกกันข้อหนึ่งที่ว่านักเขียนซีไรท์ปีนี้มาจาก 'สายใต้' แน่นอน!!
0 0 0
แต่ไม่ว่าใครจะช็อกยังไงก็ตาม แต่สำหรับที่สำนักพิมพ์ 'มติชน' โดยเฉพาะ 'หนุ่มเมืองจันท์' ในฐานะผู้จัดการสำนักพิมพ์นั้น กลับไม่แปลกใจใดๆ เลยสำหรับการเข้าวินครั้งนี้ของเจ้าหงิญ เพราะฝีไม้ลายมือการเขียนของนักเขียนร่างใหญ่ใจดีนาม บินหลา สันกาลาคีรี นั้น ถือว่าสุดยอด และเป็น 'นักหนังสือพิมพ์' ที่หลายคนเห็น 'แวว' นักเขียน มานานแล้วด้วย
'คมทั้งภาษาและความคิด'
หนุ่มเมืองจันท์แนะนำสั้นๆ โดยเขาเอง ก็ได้ 'ฟันธง' ล่วงหน้า (อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร) ไว้แล้วเช่นกันถึง 5 ปี ว่า 'งานเขียนของบินหลาเล่มใดเล่มหนึ่งจะได้ซีไรท์...' เมื่อครั้งที่เขียนคำนำหนังสือบิน-ที-ละ-หลา ในปี 2543
"...นี่ไม่ใช่คำชมเชยหรือคำทำนายที่น่าตื่นเต้น แต่เป็นประโยคบอกเล่าธรรมดาเพราะผมเชื่อเช่นนั้นมานานพอสมควรแล้ว"
ที่สำคัญ เป็นคนที่ เสถียร จันทิมาธร เคยทำนายไว้หลายปีแล้วว่า 'คนนี้น่าจะได้ซีไรท์'
"ผมเห็นฝีมือของบินหลาฯ มาตั้งแต่สมัยเป็นหัวหน้าข่าวบันเทิงของข่าวสดแล้ว ในแง่ความเป็นนักเขียนนั้น ฝีมือชัดเจน วันหนึ่งพอออกจากข่าวสดแล้วก็ไปเป็นนักเขียนอาชีพ ก็ได้รางวัลอีก เพราะเขาเป็นคนที่มีฝีมือการใช้ภาษาชั้นครู และเป็นภาษาที่คนรุ่นใหม่จับต้องได้ ที่เป็นเช่นนี้คงเป็นเพราะว่าเขาเคยทำงานอยู่กับไปยาลฯ ก็ได้ จึงทำให้เขามีมุมมองแปลกไปจากคนอื่น ผมว่างานที่สะท้อนความเป็นบินหลาได้เป็นอย่างดี ชัดเจนที่สุด ก็คือ หลังอาน จะมีอารมณ์ขันลึกๆ อยู่ในนั้น ผมว่างานที่สะท้อนอารมณ์ขันลึกๆ แบบเป็นบินหลาได้ดีและชัดเจนที่สุดก็คืองานเขียนที่ชื่อ 'หลังอาน'"
หนุ่มเมืองจันท์ให้ความเห็น พร้อมบอกด้วยว่ากับแนะนำงานที่สะท้อนอารมณ์ขันลึกๆ แบบเป็นบินหลาได้ดีและชัดเจนที่สุดก็คืองานเขียนที่ชื่อ 'หลังอาน' นั่นเอง
ทางด้าน ศุ บุญเลี้ยง เอง ก็ไม่แปลกใจแม้แต่น้อยนิด เพราะนอกจากเชียร์เจ้าหงิญมานานแล้ว ยังเห็นฝีไม้ลายมือนักเขียนรุ่นน้องคนนี้ว่ามีความสามารถรอบด้านมาตั้งแต่ครั้งร่วมงานกันในนิตยสาร 'ไปยาลฯ' แล้ว
"สำหรับเจ้าหงิญเล่มนี้ เขาเขียนแบบมีการวางคอนเสปต์ไว้ก่อน เพราะฉะนั้นก็เลยเป็นงานที่นอกจากมี 'เอกลักษณ์' แล้วก็ยังมี 'เอกภาพ' ด้วย หมายถึงว่าเราอ่านด้วยความรื่นรมย์ แล้วใช้กลวิธีเหมือนเล่านิทาน โดยที่มันเป็นเรื่องสั้นแต่เล่าเหมือนนิทาน เบื้องต้นผมต้องถือว่าเก๋ ที่เขียนเรื่องสั้นเป็นนิทาน 8 เรื่อง แล้วยังสามารถรักษาแนวคิดที่ตัวเองจัดวาง คือ เจ้าหญิงให้มีอยู่ทุกเรื่อง"
ส่วน 'ปราย พันแสง ก็รู้สึกคล้ายๆ กัน ว่า บินหลา หรือ 'พี่ต้อ' ของน้องๆ หลายๆ คนนั้น ควรจะได้ตั้งนานแล้ว
"พี่ต้อเป็นคนที่ตั้งใจกับงานเขียนมากๆ แล้วก็ประณีตกับงานเขียนทุกชิ้น ไม่ว่าจะเขียนข่าวเขียนบท ก็จะประณีตมาก จึงไม่แปลกใจเลย พี่ต้อควรจะได้ตั้งนานแล้วตั้งแต่รวมเรื่องสั้นเรื่อง 'ฉันดื่มดวงอาทิตย์' ด้วยซ้ำ ซึ่งเล่มนั้นก็เหมาะที่จะส่งเรื่องสั้นซีไรท์มากๆ เหมือนกัน"
0 0 0
สำหรับนักเขียนซีไรท์คนใหม่ วัย 40 ปีคนนี้ เป็นลูกปักษ์ใต้เต็มตัว โตและเรียนระดับมัธยมจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จ.สงขลา จากนั้นขึ้นมาเรียนต่อที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ (แต่ไม่มีปริญญา) เป็นรุ่นน้องของ ศุ บุญเลี้ยง หลังจากทำค่ายอาสาพัฒนาร่วมกันแล้ว รุ่นพี่คนนี้จึงได้เห็นฝีไม้ลายมือของรุ่นน้องร่วมภาค-ร่วมคณะมากขึ้น
และที่นั่นเองที่เป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต ทำให้ต่อมาได้เป็นทั้ง หัวหน้ากองบรรณาธิการนิตยสารไปยาลฯ หัวหน้าข่าวหน้าหนึ่งและหัวหน้าโต๊ะข่าวบันเทิงรุ่นบุกเบิก ก่อนจะลาออกจากอาชีพนักข่าวไปเป็นนักเขียนอาชีพเมื่อปี 2537 จนถึงปัจจุบัน
นักอ่านอย่าง เรืองรอง รุ่งรัศมี เอง จึงไม่น่าแปลกใจที่เขาจะมีลีลาภาษาการเขียนที่พริ้งพรายมีจินตนาการแบบศิลปิน ขณะเดียวกันก็คงแน่นแม่นยำด้วยข้อมูลในฐานะนักข่าวเก่า แถมยังออกปากชมด้วยว่า เป็นใช้ภาษาได้งดงามจัดอยู่ในกลุ่มภาษาสละสลวยได้เลย
บินหลาฯ มีความสามารถรอบด้าน เขียนได้หลายแนว ทั้งสารคดี เรื่องสั้น นวนิยาย บทหนัง บทกวี
แม้กระทั่งเกร็ดชีวิตราชินีลูกทุ่งพุ่มพวง ดวงจันทร์ บินหลาก็สามารถปรุงให้ออกเป็นรสนิยาย เรื่อง 'ดวงจันทร์ที่จากไป' ได้อย่างน่าประทับใจ
สำหรับรวมเรื่องสั้น มีเพียง 3 เล่ม ในรอบ 15 ปี แต่เป็นที่ยอมรับทุกเล่ม ได้แก่ ฉันดื่มดวงอาทิตย์ (2533), คิดถึงทุกปี (2541) และเจ้าหงิญ (2543)
โดยเฉพาะ 'คิดถึงทุกปี' นั้น ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทรวมเรื่องสั้นประจำปี 2542 จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ กรมวิชาการ
นอกจากนี้ก็ยังมีงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสารคดีและบทความท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น หลังอาน ( 2540), บิน-ที-ละ-หลา (2543), ดื่มทะเลสาบอาบทะเลทราย (2544), รอยย่ำที่นำเราไป (2545) และ คนรักกับจักรยาน (2547)
ที่สำคัญ งานเขียนหลายชิ้นของบินหลา โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับจักรยานนั้น ปลุกคนให้หนุ่มสาวหลายคนหันเหออกเดินทางมาแล้ว
ส่วนงานนิทานก็เป็นอีกแนวถนัดของบินหลา ก่อนที่เจ้าหงิญจะได้รับรางวัลจากคณะกรรมการ ผลงานอย่าง 'ปลาฉลามฟันหลอ' นั้น ได้รับรางวัลจากผู้ชมไปก่อนหน้านี้แล้ว เพราะเรื่องนี้ถูกนำไปเป็นละครเวทีสำหรับเด็กๆ ด้วย
สำหรับเจ้าหงิญนั้น เป็นงานรวมเรื่องสั้น 8 เรื่องในรอบ 4 ปี ของเขา และเป็นเล่มที่เจ้าตัว ยอมรับว่าเขามีความสุขอย่างยิ่งกับการทำงานเรื่องสั้นชุดนี้ จัดพิมพ์มาแล้วสองครั้ง
และล่าสุดนี้ 'หนุ่มเมืองจันท์' ผู้จัดการสำนักพิมพ์ ได้ขออนุญาตนักเขียนซีไรท์แบบสดๆ ร้อนๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าจะพิมพ์ซ้ำเจ้าหงิญ เป็นครั้งที่ 3 พร้อมด้วยผลงานเล่มอื่นๆ นัยว่าเตรียมเอาใจแฟนหนังสือที่คิดถึงนักเขียนซีไรท์คนนี้เต็มที่
ส่วนจะมีคิวตะลอนทัวร์ล่องใต้ไปกับแฮปปี้บุ๊คเดย์ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้หรือไม่นั้น แฟนหนังสือชาวภาคใต้ต้องคอยติดตามข่าวกันอย่างใกล้ชิด!!